สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาการจัดการองค์ความรู้ด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
จำเนียร บุญมาก - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการจัดการองค์ความรู้ด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
ชื่อเรื่อง (EN): The Development of Knowledge Management of Organic Agriculture Business for Sustainable Strength of Community Entrepreneurs
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จำเนียร บุญมาก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jamnian Bunmark
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นศึกษาถึง 1) การประเมินผลและการติดตามผลการดำเนินงานธุรกิจเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ 2) การสร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือธุรกิจเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ และ 3) การพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการประชุมกลุ่มย่อย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์มีความรู้ความเข้าใจในทุกด้าน คือ ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านการบัญชี และด้านการเงิน อยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต เกษตรอินทรีย์ต้องการความช่วยเหลือทางด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านการจัดการ ด้าน การบัญชีและการเงิน ส่วนการประเมินผลเครื่องมือทางการเงินของกลุ่ม ทำการประเมินดังนี้ 1) การประเมินแบบฟอร์มการวางแผนกำไร 2) การประเมินแบบฟอร์มการบันทึกเงินสดรับ-จ่าย 3) ประเมินแบบฟอร์มงบกำไรขาดทุน พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เข้าใจการบันทึกบัญชี และ ไม่สามารถพยากรณ์ยอดขายและต้นทุนการผลิตได้ กลุ่มเกษตรอินทรีย์เข้าร่วมกิจกรรมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือธุรกิจเกษตรอินทรีย์ มีทั้งหมด 10 กลุ่ม โดยการเข้าร่วมเครือข่ายเกิดจากมีแนวคิดหรือความต้องการที่คล้ายกัน คือ ต้องการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากการทำการเกษตรเคมี ซึ่งเครือข่ายที่สร้างขึ้นมีการกำหนดโครงสร้างและหน้าที่ของคณะกรรมการที่ชัดเจน สำหรับ การพัฒนาเครือข่าย จะใช้วิธีการประชุมกลุ่มย่อย และการศึกษาดูงานระหว่างกันภายในเครือข่าย ซึ่งก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ระหว่างสมาชิกด้วยกันภายในกลุ่ม ระหว่างกลุ่มด้วยกันภายในเครือข่าย เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันของเครือข่าย เกิด การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน และมีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน รวมทั้งได้มีการจัดทำเว็บไซต์ของเครือข่าย ทำให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านเกษตรอินทรีย์และด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่เข้าร่วมเครือข่าย ต่อกลุ่มเกษตรอินทรีย์อื่นๆ และต่อผู้ที่สนใจทั่วไปอีกด้วย ส่วนการพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มผู้ผลิต เกษตรอินทรีย์ พบว่า กลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์มีรูปแบบการจัดการธุรกิจเกษตรอินทรีย์ที่หลากหลาย ซึ่งความรู้ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ในเรื่องของการจัดการ การผลิต การตลาด การเงินและบัญชี ได้นำมาจัดทำเป็นต้นแบบของระบบการจัดการองค์ความรู้ของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ โดยนำองค์ความรู้มาแสดงในรูปแบบของ Web Application โดยใช้ภาษาโปรแกรมพีเอชพีและระบบฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล มาพัฒนา ใช้ชื่อเว็บไซต์ว่า”ชุมชนคนเกษตรอินทรีย์” ภายใต้ www.maejoorganic.com
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะบริหารธุรกิจ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-52-015
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
เอกสารแนบ: http://researchex.rae.mju.ac.th/research60/library/ab/MJU1-52-015.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาการจัดการองค์ความรู้ด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2552
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนยั่งยืน การพัฒนารูปแบบการจัดการการตลาดของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวในจังหวัดสกลนคร การพัฒนาระบบบัญชีการเงินและระบบบัญชีเพื่อการบริหารของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ศักยภาพการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับความได้เปรียบทางการแข่งขันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดชุมพร พัฒนาระบบบัญชีการเงินและระบบบัญชีเพื่อการบริหารของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อความเข็มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประเภทการผลิตปัจจัยการผลิต ในจังหวัดพิษณุโลกเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้นทุนการปลูกพืชสมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรเชียงเพ็ง การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกลุ่มจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรสู่วิสาหกิจชุมชน การพัฒนาการมีส่วนร่วมของสตรีในการเสริมสร้างผลิตภัณฑ์พื้นบ้านเพื่อตอบสนองการท่องเที่ยงในชุมชน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก