สืบค้นงานวิจัย
การบริหารจัดการนาแปลงใหญ่ เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว จังหวัดชัยนาท
นริศรา จำรูญวงษ์ - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: การบริหารจัดการนาแปลงใหญ่ เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว จังหวัดชัยนาท
ชื่อเรื่อง (EN): Management for Large Scale to reduce the Cost of Rice Production, Chainat Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นริศรา จำรูญวงษ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาวิธีการบริหารจัดการนาแปลงใหญ่ เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ในพื้นที่นาชลประทาน เขตจัดรูปที่ดิน ต. แพรกศรีราชา อ. สรรคบุรี จ. ชัยนาท พื้นที่ 1,000 ไร่ เพื่อออกแบบกระบวนการผลิตข้าวในรูปแบบแปลงใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ ต้นทุนการผลิตต่ำ ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการ วิธีการดำเนินงานเริ่มจากการประชุมชี้แจงเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ การจัดทำเวทีชุมชนเพื่อกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการนาแปลงใหญ่ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และสังคมวิถีชีวิตการทำนาภาคกลาง การเลือกผู้จัดการนาแปลงใหญ่และรองผู้จัดการ 2 คน ตามการแบ่งพื้นที่การผลิตเป็น 2 แปลงๆ ละ 500 ไร่ ตามระบบการส่งน้ำ ฝั่งซ้าย และฝั่งขวาของคลองชลประทาน เริ่มงานผลิตในฤดูฝน ปี 2559 และ ฤดูแล้ง ปี 2560 ทำการเก็บข้อมูลต้นทุนการผลิตของเกษตรกรก่อนและหลังการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการ เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของดินนาและกำหนดสูตรปุ๋ยเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นข้าว ประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนการเพาะปลูก กำหนดวันปลูกที่สอดคล้องกับการปล่อยน้ำชลประทาน ตามลำดับพื้นที่ได้รับน้ำชลประทานก่อน-หลัง ให้แล้วเสร็จใน ช่วง 10 – 15 วัน วิธีการปลูกข้าวแยกตามประเภทความต้องการจำหน่ายผลผลิตเป็นข้าวเปลือกใช้เครื่องโรยข้าว เป็นเมล็ดพันธุ์ใช้รถดำนา จัดการน้ำในแปลงนาแบบเปียกสลับแห้ง ดูแลรักษาแปลงนาตามระบบการเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับข้าว (Good Agriculture Practices, GAP : ข้าว) ลดการใช้ปัจจัยการผลิตที่เกินความจำเป็น กำหนดวันเก็บเกี่ยว และร่วมกันจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลหลังการจำหน่ายผลผลิต พบว่า ต้นทุนการทำนาแบบแปลงใหญ่ โดยเฉลี่ยต่ำกว่าต้นทุนการทำนาก่อนเข้าร่วมโครงการฯ โดยการเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตข้าว ปี 2558 และ ปี 2559 ต้นทุนลดลง 500 – 700 บาท ต่อไร่ หรือ คิดเป็นร้อยละ 10 -12 โดยต้นทุนการทำนาหยอดและนาหว่าน น้ำตมค่อนข้างใกล้เคียงกัน แต่การทำนาหยอดมีต้นทุนรวมต่อไร่ถูกที่สุด ในขณะที่นาดำมีต้นทุนสูงกว่าประมาณ 600 บาทต่อไร่ แต่เมื่อดูที่ผลผลิตข้าวจากนาดำจะสูงกว่านาหยอดและนาหว่าน และราคาผลผลิตข้าวจากนาดำ จำหน่ายได้เป็นเมล็ดพันธุ์ ราคาสูงกว่าจำหน่ายผลผลิตเป็นข้าวเปลือกจากนาหยอดและ นาหว่านเป็นจำนวนเงินที่แตกต่างเฉลี่ย 3.44 บาท/กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรที่ทำนาดำได้ผลตอบแทนสุทธิที่สูงกว่า
บทคัดย่อ (EN): Study on how to manage large scale to reduce the cost of rice production. This study is carried on the field of irrigated land reform area, 1,000 rai of Pard-Sriracha, Sankhaburi, Chainat Province, to design the large scale rice production to be effective, low production cost, good quality and demanded. The implementation started from a meeting with farmers participating in the project, the community forum was set up to format a model for the large scale management that suitable for this area and society. The selection of a manager and 2 deputy managers according to the production area divided into two plots of 500 rai, according to the irrigation system on the left and right side of the irrigation canal. Production work starts in the rainy season of 2016 and drought season of 2017. Production cost data are collected before and after the management model. Soil samples were analyzed for soil fertility and fertilizer formulas were prepared for nutrient uptake. Farmer meetings for crop planning, set up the planting dates corresponding to irrigation water discharge, during the cultivation to complete within 10 -15 days. Growing method was differed by product distribution, using drum seeder and direct seedling methods for grain production and using transplanting machine for seed production. Water Management by wet and dry method, maintaining by Good Agricultural Practices for rice ( GAP : Rice), reduce the use of over-essential inputs. Then harvest date was setting up and considering post harvest management. When analyzing the data after the sale of the product, it was found that the cost of production by large scale is lower than the cost of farming. By comparing the cost of production in 2015 and 2016, the cost is reduced by 500-700 baht per rai or 10-12 percent. The cost of using drum seeder and direct seedling were quite similar. However, using drum seeder, the lowest cost per rai was obtained. At the same time, using transplanting machine production cost was higher than that of 600 baht per rai. Although, the yield of using transplanting machine was higher than using drum seeder and direct seedling. Yield from transplanting field were available as seed. The price is higher than that of paddy from dropping and sowing field. The average difference was 3.44 baht / kg. The net income of farmers was higher.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การบริหารจัดการนาแปลงใหญ่ เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว จังหวัดชัยนาท
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
30 กันยายน 2558
การบริหารจัดการนาแปลงใหญ่เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว จังหวัดสุรินทร์ การบริหารจัดการนาแปลงใหญ่เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวในจังหวัดมหาสารคาม การใช้เทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าวของชุมชนต้นแบบเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าอาเซียน (AFTA) แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การลดต้นทุนการผลิตข้าว จังหวัดนครนายก การแข่งขันการลดต้นทุนการผลิตข้าวในนาชลประทานเขตกรุงเทพมหานคร การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว จังหวัดชัยนาท

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก