สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริก
ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์, ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริก
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Production Technologies of Chili
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาระยะปลูกและการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมในการปลูกพริกยอดสนพันธุ์ใหม่ ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ระหว่างปี 2553 - 2554 ไม่พบปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างระยะปลูกกับการใส่ปุ๋ย การปลูกแบบแถวคู่ ระยะปลูก 40 x 50 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถวคู่ 1 เมตร มีความสะดวกต่อการกำจัดวัชพืช และการเก็บเกี่ยวผลผลิตของเกษตรกร และใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตพริก (GAP) ของกรมวิชาการเกษตร โดยใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งละ 50 กิโลกรัม หลังย้ายปลูก และก่อนออกดอก พริกมีความสูงต้น 99.97 เซนติเมตร ให้ผลผลิตสดต่อไร่ และผลผลิตแห้งต่อไร่มากที่สุด 1.58 และ 0.53 ตันต่อไร่ ตามลำดับ มีค่า BCR สูงสุด เท่ากับ 2.47 ซึ่งให้กำไรสูงสุด และเหมาะสมที่สุดในการปลูกพริกยอดสน ศก.119-1-3 ขณะที่การศึกษาระยะปลูกและการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมในการปลูกพริกขี้หนูเลยสายพันธุ์ใหม่ ศก.59-1-2 พบว่าการปลูกพริกขี้หนูเลยระยะปลูก 50x100 เซนติเมตร มีความสูงมากที่สุดคือ 95.18 เซนติเมตร ให้ผลผลิตสด 678.77 กิโลกรัมต่อไร่ และหากใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 รองก้นหลุม จำนวน 25 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 หลังย้ายปลูกประมาณ 30 วัน และใส่ทุก 20 วัน จำนวน 25 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หลังเก็บเกี่ยวครั้งแรก 1 เดือน และให้อีกทุกเดือน ส่งผลให้ต้นพริกมีความสูงมากที่สุดคือ 92.75 และให้ผลผลิตสดสูงที่สุด คือ 748.30 กิโลกรัมต่อไร่ การทดสอบการใช้วิธีการผสมผสานเพื่อป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ในพริก Bactrocera latifrons (Hendel) ในแปลงพริกเหลืองพันธุ์ออเร้นจ์ของเกษตรกร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ในปี 2554 - 2555 พบว่ากรรมวิธีผสมผสาน คือ การเก็บผลที่พบการเข้าทำลายจากแมลงวันผลไม้ออกไปทำลายทุกสัปดาห์ ร่วมกับพ่นด้วยเหยื่อพิษโปรตีน (ผสมสารฆ่าแมลง malathion 57%EC อัตรา 10 มิลลิลิตร กับเหยื่อโปรตีนอินไวท์ อัตรา 200 มิลลิลิตร ในน้ำ5 ลิตร) เริ่มพ่นเหยื่อพิษโปรตีนเมื่อพริกเหลืองอยู่ในระยะติดผล (พริกเหลืองอายุประมาณ 2.5 เดือนหลังย้ายปลูก) โดยพ่นเหยื่อพิษโปรตีนเป็นจุดทุกต้นรอบแปลง และพ่นเป็นแถวต้นละจุด ห่างกันแถวละ 5 เมตร ทุกสัปดาห์ และพ่นด้วยน้ำมันปิโตรเลียม SK 99 83.9 % EC อัตรา 60 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ทุกสัปดาห์ ช่วยลดการเข้าทำลายจากแมลงวันไม้ชนิด B. latifrons ได้ดีกว่ากรรมวิธีของเกษตรกร จากการนำสารออกฤทธิ์จากเห็ดเรืองแสง Neonothopanus nambi ไปใช้ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม พบว่าทุกอัตราการใช้ก้อนเชื้อเห็ดเรืองแสง สามารถควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมได้ดี โดยเฉพาะที่อัตรา 10 กรัมต่อกระถาง สามารถควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมได้ดีที่สุด ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การเกิดรากปมเพียง 12.40 เปอร์เซ็นต์ ดีกว่าการใช้ไส้เดือนฝอยรากปมเพียงอย่างเดียว หรือการใช้สารเคมี carbofuran? ทำให้ประหยัดและปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริก
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย โครงการวิจัยและพัฒนาส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์พริกอินทรีย์ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการอบลดความชื้นสำหรับทำพริกแห้ง โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพริก เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตห้อมในพื้นที่จังหวัดแพร่ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตองุ่น

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก