สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตผักพื้นบ้านเพื่อการค้าของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการผลิตผักพื้นบ้านเชิงการค้าในภาคใต้
จำนงค์ เพชรอนันต์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตผักพื้นบ้านเพื่อการค้าของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการผลิตผักพื้นบ้านเชิงการค้าในภาคใต้
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จำนงค์ เพชรอนันต์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: จตุรงค์ พรหมวิจิต
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตผักพื้นบ้านเพื่อการค้าของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการผลิตผักพื้นบ้านเชิงการค้าในภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของเกษตรกร ในโครงการ สภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตผักพื้นบ้านเพื่อการค้า และปัญหา/ข้อเสนอแนะจากเกษตรกร ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจจากเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการผลิตผักพื้นบ้านเชิงการค้า ที่ดำเนินการในพื้นที่ของจังหวัดในเขตภาคใต้ คือ ระนอง ตรัง และนครศรีธรรมราช ระหว่างปีงบประมาณ 2546 - 2547 เก็บรวมรวมข้อมูลจากเกษตรกรดังกล่าวทุกราย โดยใช้แบบสอบถามซึ่งสามารถเก็บกลับคืนและมีความถูกต้อง จำนวน 114 ราย นำข้อมูลมาจัดการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS โดยใช้ค่าสถิติทางด้านการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผันและสถิติทดสอบไคสแคว์ ประมวลผลการวิเคราะห์สรุป ได้ดังนี้ เกษตรกรในโครงการส่งเสริมการผลิตผักพื้นบ้านเชิงการค้า มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4.5 คน ที่สามารถทำงานเป็นแรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 2.4 คน ในครอบครัวมีที่ดินถือครองเฉลี่ย 19.4 ไร่ มีรายได้ในครอบครัวรวมทั้งสิ้นเฉลี่ย 82,510 บาทต่อปี เกษตรกรได้ปลูกผักพื้นบ้านมาแล้วโดยเฉลี่ย 6.1 ปี สภาพพื้นที่ที่ใช้ปลูกส่วนมากเป็นสวนผสม มีขนาดการผลิตผักพื้นบ้านเพื่อการค้าเฉลี่ยครอบครัวละ 3.7 ไร่ ชนิดผักพื้นบ้านที่ปลูกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ผักเหลียง ผักหวาน ชะอม บัวบก ข่าและตะไคร้ โดยผลผลิตที่ได้รับจะจำหน่ายแก่ตลาดประจำ สำหรับการใช้เทคโนโลยีผลิตผักพื้นบ้านเพื่อการค้า เกษตรกรส่วนมากได้พันธุ์มาจากขยายพันธุ์เอง นำมาปลูกร่วมกับไม้ผลไม้ยืนต้น บำรุงรักษาโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี โดยส่วนมากไม่มีการดำเนินการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากไม่มีปัญหาศัตรูพืชระบาด ในการปลูกผักพื้นบ้านเพื่อการค้ามีปัจจัยที่มีผลต่อขนาดการผลิตผักพื้นบ้านเพื่อการค้า คือ ขนาดเนื้อที่ถือครอง รายได้ในครอบครัว ประสบการณ์ปลูกผักพื้นบ้านและตลาดรองรับผลผลิต ส่วนปัจจัยที่ไม่มีผลต่อขนาดการผลิต คือ ขนาดครอบครัว แรงงานในครอบครัว ชนิดผักพื้นบ้าน โอกาสทำงานอื่น ๆ การเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตและการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยขนาดการผลิตผักพื้นบ้านมีผลต่อการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิต แต่ไม่มีผลต่อการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ผลจากการศึกษาวิจัยมีข้อเสนอแนะนำสำหรับการส่งเสริมการผลิตผักพื้นบ้านเพื่อการค้าคือ เน้นการใช้เทคโนโลยีผลิตพืชปลอดภัยจากสารพิษทางด้านการใช้ปุ๋ยและการป้องกันกำจัดศัตรูพืช พัฒนาเกษตรกรให้สามารถดำเนินการผลิตผักพื้นบ้านเพื่อการค้าในรูปแบบกลุ่ม และควรมีการจัดการตลาดควบคู่ไปกับการส่งเสริมด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตผักพื้นบ้านเพื่อการค้าของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการผลิตผักพื้นบ้านเชิงการค้าในภาคใต้
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นการผลิตผักพื้นบ้าน : กรณีปลูกผักแขยงของเกษตรกรในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี การผลิตวุ้นจากน้ำผักพื้นบ้าน ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตมังคุดให้ได้คุณภาพของเกษตรกรในภาคใต้ สภาพการผลิตและการตลาดผักของเกษตรกรในจังหวัดสตูล ปี 2548 การผลิตและการตลาดผักสดเพื่อการค้า อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา การผลิตใบตองเพื่อการค้า ตำบลคลองกระจง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของเกษตรกรในการรับบริการปัจจัยการผลิตเพื่อพัฒนาการผลิตหม่อนไหมในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทยประจำปี 2550 การยอมรับการใช้มุ้งตาข่ายในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผักของเกษตรกรในโครงการปลูกผักปลอดสารพิษตกค้างในภาคใต้ ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในภาคใต้

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก