สืบค้นงานวิจัย
การสำรวจเชื้อแบคทีเรียสร้างสารต้านเชื้อราก่อโรคพืชเศรษฐกิจ ณ เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
ประสาท โพธิ์นิ่มแดง - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การสำรวจเชื้อแบคทีเรียสร้างสารต้านเชื้อราก่อโรคพืชเศรษฐกิจ ณ เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่อง (EN): Screening of bacteria producing biological active metabolites for the control of economical plant pathogenic fungi at Sirinthorn Dam Ubolratchthanee Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประสาท โพธิ์นิ่มแดง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Prasart Phonimdaeng
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การสำรวจและคัดแยกเชื้อแบคทีเรียท่ามกลางความหลากหลายทางชีวภาพภายในเขตพื้นที่ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยมุ่งหวังการคัดแยกเฉพาะเชื้อแบคทีเรียที่มีศักยภาพในการใช้แป้งข้าวจ้าวเป็นแหล่งคาร์บอนหลักในการเจริญ และมีความสามารถในการสร้างสารออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราก่อโรคพืชเศรษฐกิจ เชื้อรา Fusarium oxyspourm f.sp.lycopersici (Fol) ด้วยการทดสอบผ่านเทคนิค dual culture technique และ well diffusion technique เชื้อแบทีเรียที่คัดแยกได้จะถูกนำมาทดสอบในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว rice starch broth และอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดแข็ง rice starch agar พร้อมกับใช้ส่วนใสจากอาหารเหลวในการศึกษาเปอร์เซ็นการยับยั้งการเจริญของเชื้อราก่อโรคด้วยวิธี well diffusion technique เชื้อแบคเรียภายใต้การศึกษาจะถูกนำไปใช้บำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตขนมจีนชุมชน ด้วยการใช้ค่า Chemical Oxygen Demand (COD) เป็นปัจจัยบ่งชี้ศักยภาพในการนำบำบัดน้ำเสีย สำหรับการบ่งชื่อสกุลของเชื้อแบคทีเรียภายใต้การศึกษาจะใช้วิธีทางอณูพันธุกรรมด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่การและการหาลำดับเบสของยีน 16S rDNA มาช่วยสนับสนุนเทียบเคียงเปอร์เซ็นความเหมือนในระดับสกุล ผลการศึกษาแสดงผลการคัดแยกเชื้อแบคทีเรียที่เจริญในอาหารที่มีแป้งข้าวจ้าวเป็นหลักและสามารถผลิตสารออกฤทธิ์ต้านเชื้อราก่อโรคพืช เมื่อเทียบค่าจากจำนวนรวมของแบคทีเรียที่คัดเลือกตลอดทั้ง 4 ช่วงเวลาของการสำรวจได้ทั้งหมด 6 ไอโซเลท คือ Isolate 09, Isolate 72, BR5209-6, BR5490-8, SR5326-4 และ SR5486-8 ต่อค่าเฉลี่ยของจำนวนเชื้อแบคทีเรียทีเรียทั้งหมดจำนวน 2.5 x 108 CFU/g คิดเป็นร้อยละ 0.0000024 ของแบคทีเรียที่พบในกลุ่มประชากรแบคทีเรียทั้งหมด ผลของการทดสอบความสามารถของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 6 ไอโซเลทในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ Fol เห็นได้จากการคำนวณหาค่า Percentage Fungal Inhibition (PFI) ได้ค่าเท่ากับ 54, 60, 62, 54, 17 และ 16 ตามลำดับ เมื่อนำแบคทีเรียไอโซเลท BR5209-6 ไปเพาะเลี้ยงเพื่อหาเวลาที่เหมาะสมสำหรับการสร้างสารออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อราก่อโรค พบว่าใช้เวลาเพาะเลี้ยงนาน 72 ชั่วโมง วิเคราะห์ได้ค่า percentage fungal inhibition เท่ากับ 61% เมื่อใช้แบคทีเรีย isolate BR5209-6 เพื่อการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตขนมจีนโดยไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ ปรากฏว่าสามารถลดค่า COD ได้ถึง 68 เปอร์เซ็น ผลการศึกษาคุณสมบัติทางสัณฐานวิทยาร่วมกับการจำแนกแบคทีเรียทางอณูวิทยา (Molecular Characterization) ด้วยกระบวนการ PCR amplification ของ 16S rDNA sequence พบว่าผลการเทียบเคียงลำดับเบสของยีน 16S rDNA ของแบคทีเรีย isolate BR5209-6 เมื่อเทียบเคียงความเหมือนคิดได้เป็น 98.5% บ่งชี้ว่าเป็นแบคทีเรียที่ถูกจัดอยู่ในสกุล genus Panibacillus sp.
บทคัดย่อ (EN): Surveying and isolating of bacterial strain amidst rich biological diversity within The Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative of her Royal Highest Princess Maha Chakri Sirindhorn, Sirindhorn Dam, Ubonratchathani Province. Main objectives are to isolate bacterial strains with ability to utilize rice starch as sole carbon source for growth and only those could produce bioactive substance able to suppress growth of Fusarium oxyspourm f.sp.lycopersidi (Fol) which is a potentially harmful economical plant diseases. The screening for bioactive substance is by dual culture technique coupled with well diffusion technique. The isolated bacterial strain under study with be cultured in rice starch broth and rice starch agar for the use in testing to find the fungal inhibition percentage by well diffusion technique. Isolated bacterial strain also being subjected to wastewater treatment ability as measured by reduction in Chemical Oxygen Demand (COD) values. Identification of isolated under study is by comparing percentage similarity in base sequence analysis of 16S rDNA via PCR amplification and DNA sequencing for genus placement. After careful study, results showed to have secured 6 bacterial isolates namely Isolate 09, Isolate 72, BR5209-6, BR5490-8, SR5326-4 and SR5486-8 respectively out of total average bacterial population of 2.5 x 108 CFU/g which is equal to only 0.0000024%. When subjected 6 bacterial isolates for growth suppression of Fol upon calculation of Percentage Fungal Inhibition (PFI) showed values of 54, 60, 62, 54,17 and 16 respectively. Taking isolate BR5209-6 for time course culturing and examined for inhibiting activity reveal best value for PFI at 61% with culturing time of 72 hours. Wastewater treatment using bacterial isolate BR5209-6 on wastewater from local community Chinese noodle production plant showed 68% reduction of COD from original starchy waste concentration. Identification using percentage similarity comparison of 98.5% tentatively placed bacterial isolate BR5209-6 under the genus Paenibacillus sp.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2554
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การสำรวจเชื้อแบคทีเรียสร้างสารต้านเชื้อราก่อโรคพืชเศรษฐกิจ ณ เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2554
การใช้เชื้อ Ectomycorrhiza ในการเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจเขตภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรบางชนิดในการยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อ Xanthomonas campestris การรวบรวมข้อมูลโรคพืชและเชื้อราสาเหตุชนิดต่างๆด้วยระบบดิจิตอล การพัฒนาเพื่อใช้กากของสัตว์น้ำจำพวกมีเปลือกในการควบคุมเชื้อราก่อโรคพืชทางชีวภาพ การศึกษาเชื้อราก่อโรคในไข่และตัวอ่อนปลาบึก การคัดแยกและเพาะเลี้ยงแบคทีเรียในน้ำเสียจากโรงงานผลิตแป้งขนมจีนในระดับอุตสาหกรรมชุมชน เพื่อการผลิตสารออกฤทธิ์ต้านเชื้อราก่อโรคพืชเศรษฐกิจ โครงการย่อยที่ 1 การทดสอบฤทธิ์ของพืชสมุนไพรเพื่อต้านเชื้อราที่ก่อโรคในข้าวสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบน้ำสกัดสมุนไพรกำจัดเชื้อราเพื่อการผลิตข้าวอินทรีย์ในกลุ่มเกษตรกรรายย่อยของอำเภอปะคำ จังหวัดบุรี การผลิตสารต้านอนุมูลอิสระของเชื้อรา Monascus purpureus TISTR 3080 จากปลายข้าว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก