สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวไม้ดอกโครงการหลวง
เพชรดา อยู่สุข, นิตยา โนคำ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวไม้ดอกโครงการหลวง
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Postharvest Management of the Royal Project Cut Flowers
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลการทำเขตกรรมและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวดอกกุหลาบสายพันธุ์ใหม่ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา ดอกไฮเดรนเยียของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย ดอกเยอบีราของสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ดอกอัลสโตรมีเรียของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ และดอกดองดึงของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว พบว่า ดอกไม้แต่ละชนิดมีการเขตกรรมและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกัน เริ่มต้นตั้งแต่วิธีการเตรียมดิน การเพาะปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว รวมถึงวิธีการขนส่งไปสู่ตลาด การสำรวจการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวและอายุการปักแจกันของดอก 5 ชนิด คือ กุหลาบสายพันธุ์ใหม่ ดอกไฮเดรนเยีย ดอกเยอบีรา ดอกอัลสโตรมีเรีย และดอกดองดึง ที่เกิดขึ้นในระหว่างการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเริ่มต้นตั้งแต่แปลงปลูกของเกษตรกรจนถึงร้านค้าโครงการหลวงเชียงใหม่ โดยศึกษาเปรียบเทียบการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวที่เกิดขึ้นและอายุการปักแจกันระหว่างก่อนและหลังการปรับปรุงกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวดอกไม้แต่ละชนิด ผลการสำรวจพบว่า หลังการปรับปรุงกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวดอกไม้แต่ละชนิดมีการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวลดลงและดอกไม้แต่ละชนิดมีอายุการปักแจกันนานขึ้น ซึ่งดอกกุหลาบพันธุ์ Prince Dream (จิตรา) พันธุ์ Prince Love (ดารา) พันธุ์ Coral Beauty และพันธุ์ Magenta Pink ก่อนการปรับปรุงกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมีอายุการปักแจกัน 6.73, 6.73, 7.53 และ 7.40 วัน ตามลำดับ ส่วนหลังการปรับปรุงกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและขนส่งดอกกุหลาบแบบเปียกโดยแช่ก้านดอกใน Citric acid pH 3 มีอายุการปักแจกัน 11.67, 8.93, 10.80 และ 9.80 วัน ตามลำดับ และแช่ก้านดอกใน AgNO3 150 mg/liter + 8-HQS 400 mg/liter + Citric acid 30 mg/liter + Sucrose 10 % ทำให้ดอกกุหลาบมีอายุการปักแจกัน 14.33, 9.93, 10.93 และ 11.60 วัน ตามลำดับ ดอกไฮเดรนเยียที่ได้รับการปรับปรุงกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวโดยการเสียบก้านดอกในหลอดพลาสติกที่บรรจุสารเคมีตั้งแต่ในแปลงปลูกของเกษตรกรจนถึงร้านค้าโครงการหลวงเชียงใหม่ ทำให้ดอกไฮเดรนเยียสีขาวที่เสียบก้านดอกใน Sodium hypochlorite 100 mg/liter แล้วปักแจกันในสารละลายชนิดเดียวกันมีอายุการปักแจกันนาน 8 วัน ซึ่งไม่แตกต่างกับอายุการปักแจกันของดอกไฮเดรนเยียที่เสียบก้านดอกใน 8-HQS 200 mg/liter + Sucrose 1 % แล้วปักแจกันในสารละลายชนิดเดียวกันที่มีอายุการปักแจกัน 7.22 วัน ส่วนดอกไฮเดรนเยียที่เสียบก้านดอกใน 8-HQS 200 mg/liter + Sucrose 1 % แล้วปักแจกันใน Sodium hypochlorite 100 mg/liter มีอายุการปักแจกัน 6.56 วัน ในขณะที่ดอกไฮเดรนเยียก่อนได้รับการปรับปรุงกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมีอายุการปักแจกันเพียง 3.89 วัน และดอกไฮเดรนเยียสีฟ้าที่เสียบก้านดอกใน Sodium hypochlorite 100 mg/liter แล้วปักแจกันในสารละลายชนิดเดียวกัน และดอกไฮเดรนเยียที่เสียบก้านดอกใน 8-HQS 200 mg/liter + Sucrose 1 % แล้วปักแจกันในสารละลายชนิดเดียวกันมีอายุการปักแจกันนานเท่ากัน คือ 8.56 วัน ในขณะที่ดอกไฮเดรนเยียที่เสียบก้านดอกใน 8-HQS 200 mg/liter + Sucrose 1 % แล้วนำมาปักแจกันใน Sodium hypochlorite 100 mg/liter มีอายุการปักแจกัน 7 วัน ส่วนดอกไฮเดรนเยียสีฟ้าก่อนได้รับการปรับปรุงกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมีอายุการปักแจกันเพียง 3.78 วัน หลังการปรับปรุงกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวดอกเยอบีราพันธุ์ Supra (สีชมพูเข้มไส้ทอง) พันธุ์ Carambole (สีแดงไส้ทอง) และพันธุ์ Blackjack (สีแดงเข้ม) มีอายุการปักแจกันนาน 21.05, 16.55 และ 13.00 วัน ตามลำดับ ส่วนก่อนการปรับปรุงกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวดอกเยอบีรามีอายุการปักแจกันนาน 17.05, 12.80 และ 10.00 วัน ตามลำดับ ดอกอัลสโตรมีเรียพันธุ์ Everest (สีขาว) พันธุ์ Bellevue (สีม่วง) พันธุ์ Mango (สีเหลือง) และพันธุ์ Saffier (สีชมพู) ก่อนการปรับปรุงกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว มีอายุการปักแจกันนาน 7.20, 3.73, 3.47 และ 5.40 วัน ตามลำดับ ในขณะที่ดอกอัลสโตรมีเรียหลังการปรับปรุงกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและ Pulsing ด้วย 8-HQS 250 mg/liter + Sucrose 2 % + GA3 200 mg/liter มีอายุการปักแจกันนาน 12.80, 10.60, 9.13 และ 10.07 วัน ตามลำดับ และดอกอัลสโตรมีเรียที่ Pulsing ด้วย 8-HQS 250 mg/liter + Sucrose 2 % + BA 50 mg/liter มีอายุการปักแจกันนาน 9.20, 7.33, 7.67 และ 9.27 วัน ตามลำดับ ส่วนดอกดองดึงชนิด Rothschildiana ก่อนการปรับปรุงกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมีอายุการปักแจกัน 4.00 วัน และหลังการปรับปรุงกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและ Pulsing ด้วย 8-HQS 250 mg/liter + Sucrose 5 % และ 8-HQS 250 mg/liter + Sucrose 20 % มีอายุการปักแจกันนาน 6.67 และ 6.56 วัน ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Following surveys and data collection from cultivation and postharvest handling of new breeding rose flowers at Tung Rao Royal Project Development Center, hydrangeas at Kae Noi Royal Project Development Center, gerberas at Inthanon Royal Agricultural Station, alstroemerias at Mae Tho Royal Project Development Center and gloriosa at Nong Khieo Royal Project Development Center. It was found that cultivation and postharvest handling process, starting from soil preparation, planting, cultivation, harvesting, postharvest handling as well as modes of transport to market channels are all different for each individual type of flower. Surveys of postharvest losses as well as the vase life before and after improving postharvest handling of these five cut flowers including new breeding roses, hydrangeas, gerbera, alstroemeria and gloriosa were conducted. The surveys started on farms through the arrival of the plants at the Chiang Mai Royal Project shop. With the improved postharvest handling, individual type of these flowers incurred decreasing losses, while extending their vase life. Before the postharvest handling improvement, the Prince Dream (Jitra), Prince of Love (Dara), Coral Beauty and Magenta pink rose had the vase life of 6.73, 6.73, 7.53 and 7.40 days, respectively. With the improved process and by placing flower stems in a solution of citric acid with pH of 3 during transport, the vase life was extended to 11.67, 8.93, 10.80 and 9.80 days, respectively. Putting these flowers’ stems in the solution of AgNO3 150 mg/liter + 8-HQS 400 mg/liter + Citric acid 30 mg/liter + Sucrose 10 % extended the vase life of these rose flowers to 14.33, 9.93, 10.93 and 11.60 days, respectively. The improved postharvest handling and transport of hydrangeas by putting flowers’ stems in plastic tubes containing sodium hypochlorite 100 mg/liter from farm followed by placing them in a vase with the same chemical at the arrival at Chiang Mai Royal Project shop could maintain the vase life of white hydrangeas for 8 days, which was not different from its vase life of 7.22 days when putting these flowers’ stems in the 8-HQS 200 mg/liter + Sucrose 1 % from farm and holding them in a vase with same mixture. The vase life of the flower was slightly shortened to 6.56 days when they were in 8-HQS 200 mg/liter + Sucrose 1 % from farm followed by the sodium hypochlorite 100 mg/liter in vase. While before the improvement of postharvest handling hydrangea had vase life of only 3.89 days. The blue hydrangeas’ vase life is at 8.56 days with the developed process by putting them in the sodium hypochlorite from farm and holding in the same solution which is similar to its vase life when using 8-HQS 200 mg/liter + Sucrose 1 % both on farm and vase solution. Its vase life was slightly shorter at 7 days when placing them in the sodium hypochlorite 100 mg/liter from farm and 8-HQS 200 mg/liter + Sucrose 1 % for holding, while the vase life without the improved process was only 3.78 days. Supra (pink with gold color inside), Carambole (red with gold color inside) and Blackjack (dark red color) gerbera had a prolonged vase life of 21.05, 16.55 and 13 days, respectively with the improved postharvest handling, while its’ vase life was 17.05, 12.80 and 10.00 days, respectively without the change in process. Before improving the postharvest handling process, Everest (white), Bellevue (purple), Mango (yellow) and Saffier (pink) alstroemeria had a vase life of 7.20, 3.73, 3.47 and 5.40 days, respectively. With the improved process and pulsing with the solution of 8-HQS 250 mg/liter + Sucrose 2 % + GA3 200 mg/liter, its vase life was significantly prolonged to 12.80, 10.60, 9.13 and 10.07 days, respectively. The alstroemeria being treated with 8-HQS 250 mg/liter + Sucrose 2 % + BA 50 mg/liter had extended vase life of 9.20, 7.33, 7.67 and 9.27 days, respectively. The gloriosa in the species of Rothschildiana had its vase life of only 4 days with the normal postharvest handling process. However, with the improved technique by pulsing with the solution of 8-HQS 250 mg/liter + Sucrose 5 % and 8-HQS 250 mg/liter + Sucrose 20 %, the vase life was extended to 6.67 and 6.56 days, respectively
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวไม้ดอกโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2559
การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 โครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักอินทรีย์ของโครงการหลวง โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องลำเลียงผลสับปะรด ทดสอบเทคโนโลยีโครงการหลวงในการผลิตไม้ดอกในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง 2558A17001003 การวิจัยและพัฒนาว่านแสงอาทิตย์เพื่อผลิตเป็นไม้ดอกการค้า การยอมรับวิธีการปลูกพืชภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ของเกษตรกร ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โครงการวิจัยและพัฒนาไม้ดอกวงศ์ขิงข่า ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดไม้ดอกที่เป็นทางเลือก โครงการย่อยที่ 2 : การศึกษาวิธีเพิ่มปริมาณหัวพันธุ์ปทุมมา การพัฒนาด้านการจัดการโรงสีข้าวชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก