สืบค้นงานวิจัย
การปรับตัวอุตสาหกรรมชาไทยเพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)
ทัศนีย์ ลักษณะ, ประนาถ พิพิธกุล, ทัศนีย์ ลักษณะ, ประนาถ พิพิธกุล - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การปรับตัวอุตสาหกรรมชาไทยเพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการปรับตัวของอุตสาหกรรมชาไทยเพื่อแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาโครงสร้างและตำแหน่งอุตสาหกรรมชาไทยในตลาดอาเซียน ศึกษาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมชาไทยในตลาดอาเซียน รวมทั้งเสนอแนวทางการแข่งขันและการปรับตัวของอุตสาหกรรมชาไทย ผลการศึกษา พบว่า โครงสร้างของอุตสาหกรรมชาไทยมีปัจจัยที่มีอิทธิพลในการแข่งขันสูงที่สุด ได้แก่ ผู้ซื้อสินค้าหรือลูกค้า รองลงมาคือ ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือผู้ขาย (Supplier) สำหรับคู่แข่งทางธุรกิจ มีอิทธิพลต่อการแข่งขันน้อย สินค้าทดแทนและ ผู้เข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ แทบไม่มีอิทธิพลต่อการแข่งขันในอุตสาหกรรมชา นอกจากนี้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทั้งด้านโอกาส อุปสรรค จุดแข็ง และ จุดอ่อนสรุปได้ว่า อุตสาหกรรมชาของไทยอยู่ในช่วงที่มีจุดแข็งและโอกาส ซึ่งสามารถใช้กลยุทธ์การขยายตัวของอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งสู่การเป็นสินค้าดาวเด่น สำหรับปัจจุบันนี้สถานภาพของอุตสาหกรรมชาไทย อยู่ในช่วงที่ยังมีปัญหา แต่มีความน่าสนใจอยู่เนื่องจากอัตราการขยายตัวการส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับในอาเซียน ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดชาน้อย ถึงแม้ว่าอัตราการขยายตัวของขีดความสามารถในการแข่งขันมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น แต่ขีดความสามารถการแข่งขันยังอยู่ในระดับต่ำ หรือไม่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ ข้อเสนอแนะ อุตสาหกรรมชาของไทยมีทั้งจุดแข็งและโอกาส แต่ยังมีปัญหาในโครงสร้างอุตสาหกรรมเนื่องจากขาดอำนาจต่อรองทั้งลูกค้าและผู้ขาย ปัจจัยการผลิต ดังนั้นอุตสาหกรรมชาของไทย ควรมีการพัฒนาศักยภาพการผลิต โดยการเพิ่มการผลิตชาพันธุ์ดี และชาอินทรีย์ เพื่อสนองความต้องการทั้งใน และต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการขยายการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าชา เนื่องจากประเทศไทยมีความได้เปรียบในเรื่องเทคโนโลยีการผลิตมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียน ตลอดจนควรผลิตบรรจุภัณฑ์ใช้เองโดยใช้เอกลักษณ์ความเป็นไทย เพื่อประชาสัมพันธ์ชาไทยให้ต่างประเทศรู้จักมากยิ่งๆ ขึ้นไปนอกจากนี้ในด้านการตลาด ผู้ผลิตชาต้องมีการรวมกลุ่มกันขายสินค้าโดยตั้งราคาเดียวกัน เพื่อลดอำนาจการต่อรองของลูกค้าซึ่งกดราคาสินค้าชา สำหรับการซื้อปัจจัยการผลิตด้านเทคโนโลยีการผลิตที่มีราคาแพงจากต่างประเทศ ผู้ผลิตชาควรรวมกลุ่มกันซื้อเพื่อต่อรองราคาและได้รับส่วนลด หรือได้รับเครดิตในการซื้อเครื่องจักรในการแปรรูป นอกจากนี้สถานภาพของอุตสาหกรรมชาของไทยซึ่งยังมีส่วนแบ่งการตลาดน้อย จึงส่งผลให้ไทยยังมีปัญหาในอุตสาหกรรม เช่น ทำรายได้ไม่มากนัก ธุรกิจมีกำไรน้อย ดังนั้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและการปรับตัวของอุตสาหกรรมชาไทยเพื่อแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งพัฒนาศักยภาพชาไทย ทั้งด้านการผลิต การแปรรูป การตลาด และแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนภาครัฐควรให้การสนับสนุนการผลิตชาพันธุ์ดี การเพิ่มการผลิตชาอินทรีย์ ตลอดจนให้ความสะดวกในเรื่องกฎเกณฑ์การส่งออก เพื่อให้ชาไทยสามารถส่งออกได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดชาในประเทศอาเซียนในการแข่งขันต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับตัวอุตสาหกรรมชาไทยเพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
30 กันยายน 2554
อุตสาหกรรมอาหารไทย ปลอดภัยเชื่อถือได้ การวิจัยเชิงนโยบายเพื่อการประหยัดพลังงานและคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับประเทศไทยและภาคอุตสาหกรรม โครงการศึกษาสถานภาพการใช้เทคโนโลยีแก็สซิฟิเคชันสำหรับ ผลิตความร้อนและไฟฟ้าในระดับอุตสาหกรรม ชุมชน หรือ วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดเล็กของประเทศไทย การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางพาราไทย การสร้างขีดความสามารถในงานวิจัยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมกุ้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การศึกษาเศรษฐกิจสินค้าเกษตรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กรณีศึกษา : สินค้าข้าว ของ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา (7 ต.ค. 2557) การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมของสหกรณ์การเกษตร เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในพื้นที่แนวชายแดน ไทย - ลาว ระบบอุตสาหกรรมสัมพันธ์ไทยเพื่อประชาธิปไตยอุตสาหกรรม ความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมยางพาราไทย การบริการอุสาหกรรมกับ AEC

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก