สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยและพัฒนาการผลิตไข่ไหมอีรี่จำนวนมากเพื่อเกษตรกร
ภัทรกร ภูริชินวุฒิ, อนุชิต หาญนุรักษ์, รัตนาวดี โยธารักษ์, สมหญิง ชูประยูร, พรพิณี บุญบันดาล, วิศิษฐ์ ไฝจันทร์, ดิเรก สังข์ศร, สฤษดิพร ชูประยูร, ศิวิลัย สิริมังครารัตน์, สุบรรณ โสภา, กอบชาญ พุกกะเวส - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: การวิจัยและพัฒนาการผลิตไข่ไหมอีรี่จำนวนมากเพื่อเกษตรกร
ชื่อเรื่อง (EN): Research and development of efficiency Eri egg mass production for farmer
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การผลิตไข่ไหมอีรี่ในปัจจุบันมีปัญหาไข่ไหมอีรี่ฟักออกไม่พร้อมกัน ส่งผลให้เกิดความยุ่งยากในการบริหารจัดการ จึงศึกษาผลของสภาวะต่างๆ ที่มีความเหมาะสมในการฟักออกของไข่ไหมอีรี่โดยมุ่งการศึกษาเพื่อให้ไข่ไหมอีรี่มีร้อยละการฟักออกสูงสุดและพร้อมกันในวันเดียวกันเพื่อให้การจัดการสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการทดลองพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการฟักออกได้แก่ แสง อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และผลของน้ำปูนคลอรีน มีผลต่อการกระตุ้นการฟักออกของไข่ไหมอีรี่ แสงที่ได้จากการปิดและเปิดไฟโดยการคลุมและเปิดถุงดำ เป็นการกระตุ้นการพัฒนาตัวอ่อนของไหมอีรี่และกระตุ้นการฟักออกของไข่ไหม โดยสภาวะที่ดีที่สุดในการส่งผลต่อร้อยละการฟักออกสูงสุดได้แก่ การจุ่มน้ำปูนคลอรีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.65 เป็นเวลานาน 4 นาที ร่วมกับการปิดไฟนาน 3 วัน นับจากไข่ไหมอีรี่ที่อายุ 7 วัน ในสภาวะห้องกกที่มีการควบคุมอุณหภูมิ (25 องศาเซลเซียส) และความชื้นสัมพัทธ์ (ร้อยละ 80-85) อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่มีห้องกกไข่ไหมดังกล่าวสามารถใช้วิธีกกในสภาพธรรมชาติได้ซึ่งไข่ไหมจะทยอยฟักออกใน 2-3 วัน ทั้งนี้ต้องมีการจัดการในการเลี้ยงควบคู่กันไป
บทคัดย่อ (EN): The effects of parameters on the highest percentage with of the same time of Eri-eggs hatching were investigated. The main objective of this studying was to improve the effect of Eri-eggs hatching management. The results demonstrated that light, temperature, relative humidity and chlorine solution effected on stimulation of hatching rate. The phase of darkness and light exposure (with and without black fabric wrapping) stimulated the development of the larvae and hatching rate. The parameters provided maximum hatching percentage were soaking the Eri-eggs with 0.65% chlorine solution for 4 minutes combined with 3 days darkness phase (7 days after the first egg was laid) in hatching room (25 oC, 80-85% relative humidity). However, in the case of non-hatching room, it can be used the natural incubation. The Eri-eggs may hatch in 2-3 days with the further management of Eri silkworm rearing.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยและพัฒนาการผลิตไข่ไหมอีรี่จำนวนมากเพื่อเกษตรกร
กรมหม่อนไหม
30 กันยายน 2559
กรมหม่อนไหม
การผลิตไข่ไหมป่าอีรี่และการเลี้ยงไหมป่าอีรี่ในภาคเกษตรกร การผลิตและการแปรรูปไหมอีรี่เป็นอาหารเพื่อจำหน่าย การพัฒนาการผลิตและการแปรรูปเส้นไหมอีรี่เพื่อสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในการผลิตไข่ไหม สภาพการผลิตและคุณภาพเส้นไหมพื้นบ้านของเกษตรกร การศึกษาเกี่ยวกับการวิวัฒนาการของตัวอ่อนในไข่ไหม การสำรวจปริมาณใบหม่อนที่ให้กับพันธุ์ไหม ซึ่งใช้ผลิตไข่ไหมในศูนย์วิจัยและอบรมไหมนครราชสีมา การศึกษาการให้หม่อนและจำนวนครั้งที่เลี้ยงต่างกันต่อจำนวนไข่ไหมที่วางต่อแม่ วิจัยและพัฒนาภูมิปัญญาการสาวไหมอีรี่ร่วมกับเครื่องสาวไหมขนาดเล็ก การสำรวจปริมาณใบหม่อนที่ใช้ในการเลี้ยงไหมเพื่อผลิตไข่ในศูนย์วิจัยและอบรมไหมนครราชสีมา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก