สืบค้นงานวิจัย
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับปลานิลในบ่อพลาสติกแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับปลานิลในบ่อพลาสติกแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ชื่อเรื่อง (EN): A mixed culture of hybrid walking catfish (Clarias macrocephalus x C. gariepinus) / Nile tilapia in plastic pond of applying the sufficiency economy for sustainable development
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Khajornkiat Srinuansom
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: บัญญัติ มนเทียรอาสน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Bunyat Monthen-Art
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง โดยการทดลองที่ 1 (ปีที่ 1) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมของปลาดุกบิ๊กอุยและปลานิลในระบบการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับปลานิลในบ่อพลาสติกแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยนำลูกปลาดุกบิ๊กอุยที่มีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 3 - 4 กรัม มาเลี้ยงในบ่อพลาสติกขนาด 2 x 3 x 0.8 เมตร จำนวน 12 บ่อ (4 ทรีตเมนต์ๆ ละ 3 ซ้ำ) คือ ทรีตเมนต์ที่ 1, 2, 3 และ 4 เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยที่ระดับความหนาแน่น 30, 25, 20 และ 15 ตัว/ตารางเมตร ตามลำดับ และในทรีตเมนต์ที่ 2, 3 และ 4 ทำการปล่อยลูกปลานิลแปลงเพศ ที่มีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 30 กรัม เลี้ยงร่วมกับปลาดุกบิ๊กอุย ที่ระดับความหนาแน่น 3, 4 และ 5 ตัว/ตารางเมตร ตามลำดับ ทำการเลี้ยงปลาเป็นระยะเวลา 4 เดือน โดยสุ่มตรวจวัดประสิทธิภาพ การเติบโตของปลาดุกบิ๊กอุยและปลานิล ทุก 1 เดือน พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยคุณภาพน้ำและ เก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนพืชทุก 2 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับ เลี้ยงปลานิลที่ระดับความหนาแน่น 15:5 ตัว/ตารางเมตร (หรืออัตราส่วน 3:1) มีความเหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับปลานิลในบ่อพลาสติกแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยปลาดุกบิ๊กอุย มีประสิทธิภาพการเติบโตเพิ่มขึ้นและปัจจัยคุณภาพน้ำที่สะท้อนถึงปริมาณธาตุอาหารมีปริมาณลดลง เมื่ออัตราการปล่อยปลาดุกบิ๊กอุยน้อยลงและอัตราการปล่อยปลานิลมากขึ้น หลังจากนั้นทำการทดลองที่ 2 (ปีที่ 2) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลดอัตราการให้อาหารเม็ดสำเร็จรูป โดยปล่อยลูกปลาดุกบิ๊กอุยที่มีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 9 – 10 กรัม ที่ระดับความหนาแน่น 15 ตัว/ตารางเมตร เลี้ยงร่วมกับลูกปลานิลแปลงเพศที่มีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 25 – 30 กรัม ที่ระดับความหนาแน่น 5 ตัว/ตารางเมตร ในบ่อพลาสติกขนาด 2 x 3 x 0.8 เมตร จำนวน 12 บ่อ ให้ปลาดุกบิ๊กอุยกินอาหารเม็ดสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำโปรตีน 30% ในอัตราส่วนที่แตกต่างกันไปในแต่ละทรีตเมนต์ (4 ทรีตเมนต์ๆ ละ 3 ซ้ำ) คือ ทรีตเมนต์ที่ 1, 2 และ 3 มีการสร้างอาหารธรรมชาติและให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปปริมาณ 5, 4 และ 3% ของน้ำหนักตัวปลา/วัน ตามลำดับ ส่วนทรีตเมนต์ที่ 4 ไม่มีการสร้างอาหารธรรมชาติ และให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปปริมาณ 4% ของน้ำหนักตัวปลา/วัน ทำการเลี้ยงปลาเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยสุ่มตรวจวัดประสิทธิภาพการเติบโตของปลาดุกบิ๊กอุยและปลานิล ทุก 1 เดือน พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยคุณภาพน้ำและเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนพืชทุก 2 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่ามีความเป็นไปได้ในการลดอัตราการให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปแก่ปลาดุกบิ๊กอุยจากปริมาณ 5% ของน้ำหนักตัวปลา/วัน ลดลงเหลือ 4% ของน้ำหนักตัวปลา/วัน โดยปลาดุกบิ๊กอุยยังคงมีประสิทธิภาพการเติบที่ดีไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) อีกทั้งยังมีผลต่อการลดลงของปัจจัยคุณภาพน้ำที่สะท้อนถึงปริมาณธาตุอาหารในบ่อพลาสติกให้มีค่าเหมาะสมต่อการเติบโตของปลาดุกบิ๊กอุยและปลานิล ดังนั้นโดยสรุปเมื่อพิจารณาผลการศึกษาทั้งหมดจึงสามารถสรุปได้ว่าการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับเลี้ยงปลานิลที่ระดับความหนาแน่น 15:5 ตัว/ตารางเมตร (หรืออัตราส่วน 3:1) มีความเหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับปลานิลในบ่อพลาสติกแบบเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถลดอัตราการให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปแก่ปลาดุกบิ๊กอุย เหลือ 4% ของน้ำหนักตัวปลา/วัน ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นด้านการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้สนใจใช้เป็นแนวทางที่จะพัฒนาและขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติกแบบเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): This research was divided into 2 experiments: The objectives of the first experiments (year 1) were to investigate the appropriate stocking ratio of hybrid walking catfish (Clarias macrocephalus x Clarias gariepinus) to Nile tilapia (Oreochromis niloticus) cultured in plastic ponds and the effects of stocking ratio on the growth performance of both hybrid walking catfish and Nile tilapia, water quality and species composition of phytoplankton. Hybrid catfish fry with average initial weight of 3-4 g and Nile tilapia fry weighing an average of 30 g were used in this study. The experiment was divided into four treatments. Twelve plastic ponds were stocked with hybrid walking catfish at 30, 25, 20 and 15 fish/m2 and with Nile tilapia at 0, 3, 4 and 5 fish/m2 for T1, T2, T3 and T4, respectively. This study was conducted for four months. Fish growth performance was evaluated every month, whilst the analyses of water quality factors and species composition of phytoplankton were determined every 2 weeks. Results showed that hybrid walking catfish-Nile tilapia combination at 15:5 fish/m2 or 3:1 stocking ratio in plastic pond was found to be the most appropriate. Moreover, the mixed culture of hybrid walking catfish and Nile tilapia had resulted to a more improved growth performance than the control (hybrid walking catfish monoculture). The objectives of the first experiments (year 2) were to to investigate the possibility of reducing the rate of commercial feed. Hybrid catfish fry with average initial weight of 9-10 g and Nile tilapia fry weighing an average of 25 - 30 g were used in this study. Twelve plastic ponds were stocked with hybrid walking catfish-Nile tilapia combination at 15:5 fish/m2.The experiment was divided into four treatments; T1 – T3 were natural food establishment + commercial feed at 5, 4 and 3% of body weight, respectively. T4 was non natural food establishment + commercial feed at 4% of body weight. This study was conducted for three months. Fish growth performance was evaluated every month, whilst the analyses of water quality factors and species composition of phytoplankton were determined every 2 weeks. Results showed that able to reduce the rate of commercial feed was 4% of body weight. The experiment showed the technical feasibility and practicality of growing mixed culture of hybrid walking catfish and Nile tilapia in plastic ponds especially at the appropriate stocking ratio of 3:1 and able to reduce the rate of commercial feed was 4% of body weight. The information obtained from this study can be used as basis for the development of guidelines in the culture of hybrid walking catfish and Nile tilapia in plastic ponds adhering to the principles of sufficiency economy for sustainable development and creating added value and impact to food security.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-54-068.4/55-054.3
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 200,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2557/khajornkiat_srinuansom_2556/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2555
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับปลานิลในบ่อพลาสติกแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การเพาะเลี้ยงปลาบู่ทรายในกระชังร่วมกับปลานิลในบ่อดิน แบบเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เปรียบเทียบปริมาณสารกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย(Clariasmacrocephalus X Clariasgariepinus )ที่เลี้ยงในระบบชีววิถีทั้งที่ใช้และไม่ใช้ปลานิล( Oreochromisniloticus )เลี้ยงร่วมเพื่อมาตรฐานอาหารปลอดภัย การพัฒนากระบวนการผลิตปลานิลในกระชังในบ่อเลี้ยงปลาบึกเพื่อเสริมรายได้ ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตปลากับกำลังผลิตเบื้องต้นของแหล่งน้ำในบ่อเลี้ยงปลา การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในกระชังร่วมกับปลาหมอเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความปลอดภัยด้านอาหาร ผลการเสริมฝุ่นผงน้ำส้มในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลานิล และปลาดุกลูกผสม การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในกระชังร่วมกับปลาหมอเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความปลอดภัยด้านอาหาร โรคติดเชื้อในปลานิลและปลาดุกเพาะเลี้ยงในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดและมหาสารคาม การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดินที่ความหนาแน่นต่างกัน การเลี้ยงปลานิลเพศผู้ 3 สายพันธุ์ในบ่อดิน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก