สืบค้นงานวิจัย
การปลูกข้าวโพดส่วนเกินเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์
เฉลิมพล แซมเพชร - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การปลูกข้าวโพดส่วนเกินเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์
ชื่อเรื่อง (EN): Herbage from Excess Maize Plants
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เฉลิมพล แซมเพชร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chalermpone Sampet
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาทดลองดำเนินการที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block มี 4 ซ้ำ ในแต่ละซ้ำมีวันที่ทำการตัดแถวเกินออกที่อายุ 17 วัน 24 วันและ 31 วัน (หลังงอก) เป็นกรรมวิธี นอกจากนี้ในแต่ละซ้ำ นี้ยังมีแปลงที่ไม่มีการตัดแถวเกินออกเพื่อเป็นแปลงเปรียบเทียบ (Check) และแปลงที่ปลูกด้วยระยะปลูกปกติคือ 25x75 ซม. ดังนั้นแปลงที่มีแถวเกินจึงมีระยะปลูกเริ่มต้น 25x37.5 ซม. จากผลการทดลองพบว่า การตัดแถวเกินออกภายใน 24 วัน ไม่มีกระทบต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของต้นหลัก แต่การตัดที่ 31 วัน มีผลทำให้ผลผลิตลดลงประมาณ 26% จากแปลงที่ไม่มีการปลูกแถวเกิน ซึ่งให้ผลผลิต 5.26 ตัน/เฮคแตร์ ส่วนแปลง Check ให้ผลผลิตลดลง 47% การตัดแถวเกินที่ 17 วัน ให้ผลผลิตส่วนที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ 1075 กก./เฮคแตร์ และมีไนโตรเจนเฉลี่ย 3.58% ในขณะที่การตัดที่ 31 วัน ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 2,400 กก./เฮกแตร์ แต่ไนโตรเจนลดลงเหลือ 2.90% ข้อมูลดัชนีพื้นที่ใบและเปอร์เซนต์การรับแสงในระหว่างการเจริญของพืชได้บันทึกไว้ในรายงานนี้
บทคัดย่อ (EN): Abstract is in the attached file.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2540
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2540
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247403/169236
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองอาหารสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปลูกข้าวโพดส่วนเกินเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์
กองอาหารสัตว์
2540
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมปศุสัตว์
ศึกษาวิธีปลูกข้าวโพดฝักสดหลังการปลูกข้าวและผลตอบแทน การปลูกถั่วอาหารสัตว์ 5 ชนิดหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเขตจังหวัดสระแก้ว อาหารสัตว์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนไทย ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด ทิศทางในการพัฒนาข้าวโพด การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดเมล็ดพันธุ์ และการปลูกพืชที่หลากหลาย บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน การใช้ข้าวโพดบดทั้งฝักเป็นอาหารเป็ดเทศ ความสัมพันธุ์ของแมลงศัตรูข้าวโพดและแอฟลาท็อกซิน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก