สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้
สุภาภรณ์ สาชาติ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้
ชื่อเรื่อง (EN): Varietal Improvement in Orchids
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุภาภรณ์ สาชาติ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: 1. โครงการวิจัยปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยในส่วนภูมิภาค หน่วยงานส่วนกลางและสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ถึงเดือนกันยายน 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ได้พันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพดี สำหรับใช้ในการผลิตกล้วยไม้พันธุ์การค้าและกล้วยไม้ไทยที่มีศักยภาพในแต่ละท้องถิ่น พร้อมเทคโนโลยีการขยายพันธุ์กล้วยไม้พันธุ์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพในเชิงพาณิชย์ และเทคโนโลยีการผลิตดอกกล้วยไม้พันธุ์ใหม่เพื่อการส่งออก จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นพันธุ์การค้า ได้แก่ หวาย แวนดา แคทลียา และออนซิเดียมและกลุ่มกล้วยไม้ไทยในท้องถิ่นต่างๆ เพื่อพัฒนาเป็นสินค้าออกใหม่ได้แก่รองเท้านารี สปาโทกลอททิส แกรมมาโตฟิลลัม ซิมบิเดียม เอื้องพร้าว ม้าวิ่ง นางอั้ว ลิ้นมังกร และว่านอึ่ง พร้อมกับวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการขยายพันธุ์และการผลิต ซึ่งผลผลิตของโครงการนี้ คือ ในกล้วยไม้พันธุ์การค้า กล้วยไม้สกุลหวาย การวิจัยและพัฒนาพันธุ์สามารถคัดเลือกลูกผสม 3 ชุด ได้ 83 เบอร์ และปลูกทดสอบได้ 10 เบอร์ และการปรับปรุงพันธุ์โดยการยืดอายุการบานของดอกกล้วยไม้สกุลหวายโดยการถ่ายยีนควบคุมการสร้างก๊าซเอทิลีน ได้protocorm กล้วยไม้ที่ได้รับการถ่ายยีนตามเป้าหมายด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการขยายพันธุ์ จากการศึกษาประสิทธิภาพการขยายพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์ใหม่ จึงได้วิธีการขยายพันธุ์โดยระบบ TIB พร้อมสูตรอาหารชักนำให้เกิด protocoms และสูตรอาหารเพื่อชักนำให้เกิดต้นอ่อน(plantlet) สำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตกับกล้วยไม้ ศึกษาผลของการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ต่อคุณภาพช่อดอก ได้แก่ NAA 50มก./ลิตร ,ซาลิไซเลท 5มก./ลิตรสารคล้ายบราสซิน 0.01 มก./ลิตร และสารโมโนไนโตรฟินอล 2.7 มก./ลิตร ซึ่งได้ผลทางบวกด้านความยาวช่อ และขนาดดอกของหวายตัดดอก เอียสกุล และพันธุ์บอม 17 แดง โดยพันธุ์ที่แตกต่างกันมีผลต่อชนิดของสารแตกต่างกัน การพัฒนาระบบการให้น้ำและการจัดการธาตุอาหาร เพื่อเพิ่มคุณภาพและอายุการใช้งานของกล้วยไม้พันธุ์ใหม่ พบว่า สูตรปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับกล้วยไม้การค้า คือ ปุ๋ยที่มีสัดส่วนของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมเท่ากับ 4:2:5 ซึ่งสามารถผสมปุ๋ยใช้เองได้โดยเตรียมจากแม่ปุ๋ย 15-0-0, 46-0-0, 12-60-0 และ 13-0-46 หรือ 0-0-60 รวมกับจุลธาตุสำเร็จรูปหรือจุลธาตุผสมเอง ปุ๋ยสูตรนี้ใช้ได้กับกล้วยไม้หลายสกุล และใช้ได้กับกล้วยไม้ทุกระยะการเจริญเติบโตตั้งแต่ต้นเล็กไปจนถึงระยะออกดอก เพียงแต่ปรับความเข้มข้นให้เหมาะสมกับกล้วยไม้แต่ละชนิด ด้านอารักขาพืช การจัดการโรคเกสรดำในกล้วยไม้สกุลหวายโดยสารเคมี การป้องกันกำจัดโรคเกสรดำของกล้วยไม้สกุลหวาย โดยพ่นสาร azoxystrobin + difenoconazole 32.5 % W/V/SC อัตรา 10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร การทดสอบการจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ได้สารยืดอายุการใช้งานที่เหมาะสม โดยสารยืดอายุการใช้งานในระหว่างการขนส่ง/การปักแจกันที่ได้ผลดี คือ สารการค้า (Andro), 8HQS 200 ppm + AgNO3 10 ppm + น้ำตาล 2 % + BA 5 ppm, ซาลิไซลิค 50 ppm + น้ำตาล 2 % , 8HQS 200 ppm + Al2 (SO4)3 10 ppm + น้ำตาล 2 % + BA 5 ppm , สารการค้า B เปรียบเทียบกับน้ำเปล่า พบว่าพวกที่ปักแจกันในสารยืดอายุมีแนวโน้มอายุปักแจกันนานกว่าการไม่ใช้ 1-3 วัน ทั้งนี้สารที่ได้ผลดี คือ 8HQS 200 ppm + AgNO3 10 ppm + น้ำตาล 2 % + BA 5 ppm รองลงมา คือ ซาลิไซลิค 50 ppm + น้ำตาล 2 % ในพันธุ์ขาว 5 เอ็น และ 8HQS 200 ppm + Al2 (SO4)3 10 ppm + น้ำตาล 2 % + BA 5 ppm และพันธุ์บอม 17 แดง และเอียสกุล ได้ผลในทำนองเดียวกันกับพันธุ์ขาวสนาน และขาว 5 เอ็น และการใช้วัสดุห่อหุ้มผลผลิต และไคโตซานเพื่อรักษาคุณภาพกล้วยไม้ตัดดอกเพื่อการขนส่งทางไกล ด้านอารักขาพืช การจัดการเพลี้ยไฟแมลงศัตรูกล้วยไม้และการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟโดยใช้สารฆ่าแมลง พบว่า เพลี้ยไฟฝ้าย Thrips palmi KaMy เป็นชนิดที่เป็นศัตรูสำคัญของกล้วยไม้ ป้องกันกำจัดโดยใช้ Imidacloprid อัตรา 10มล./น้ำ 20 ลิตร หรือ carbosulfan อัตรา80 มล./น้ำ20ลิตร หรือ cypermethrin/phosaloan อัตรา 120 มล./น้ำ 20 ลิตร กล้วยไม้สกุลแวนด้า การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ สามารถคัดเลือกพันธุ์แวนดาลูกผสมที่เหมาะสำหรับผลิตเป็นไม้กระถางได้ 14 สายพันธุ์ ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการขยายพันธุ์ จากการศึกษาประสิทธิภาพการขยายพันธุ์กล้วยไม้ลูกผสมและกล้วยไม้ป่าประเภทแวนดาโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้สูตรอาหารเริ่มต้น เลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนตาข้าง MMS ที่เติม BA 1 มก./ลิตร NAA 0.1 มก./ลิตร น้ำตาลทราย 10 ก./ลิตร pH 5.4 เพิ่มปริมาณโปรโตคอร์ม ในสูตรอาหารเดิม ชักนำให้เกิดต้น สูตร MMS ที่ไม่เติมฮอร์โมนแต่เพิ่มน้ำตาลทรายเป็น 20 ก./ลิตร ชักนำให้เกิดต้นและรากสมบูรณ์ อาหารสูตร MMS ที่เติมน้ำมะพร้าว 50 มล./ลิตร กล้วยหอมบด 100 ก./ลิตร มันฝรั่ง 50 ก./ลิตร ผงถ่าน 2 ก./ลิตร และน้ำตาลทราย 20 ก./ลิตร และการศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ประเภทแวนด้าระบบ TIB ได้สูตรอาหาร MMSI ซึ่งสามารถกระตุ้นให้ยอดอ่อนและใบอ่อนของแวนดาสร้างกลุ่มเนื้อเยื่อได้ภายใน 40-45 วันและ 120 วัน และเมื่อนำกลุ่มเนื้อเยื่อที่ได้มาเลี้ยงในระบบ TIB โดยเลี้ยงใน MMS2 โดยใช้เนื้อเยื่อเริ่มแรกปริมาณ 30 กรัม สามารถกระตุ้นและเพิ่มปริมาณเนื้อเยื่อรวมกับต้นอ่อนเล็กๆเป็น 320 กรัม ภายใน 2-3 เดือน แล้วนำไปแบ่งเลี้ยงต่อใน MMS3 โดยเก็บเกี่ยวต้นกล้าอีก 2 ครั้ง แล้วนำมาคำนวณค่าประมาณการการขยายพันธุ์ในระบบ TIB ได้ประมาณ 7,750 ต้น จากเนื้อเยื่อเริ่มแรก 30 กรัม ต้นกล้าที่ได้มีลักษณะสมบูรณ์ แข็งแรงและไม่ฉ่ำน้ำ สำหรับการเลี้ยงในอาหารกึ่งแข็งจากเริ่มเลี้ยงพร้อมอนุบาลได้ 46 เปอร์เซ็นต์ เมื่อสุ่มต้นกล้ามาเลี้ยงเพื่อทดสอบ เปอร์เซ็นต์รอดเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่า ต้นกล้าที่ได้จากการเลี้ยงในทั้ง 2 ระบบ มีเปอร์เซ็นต์รอด 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตกับกล้วยไม้ การจัดการธาตุอาหารกล้วยไม้สกุลแวนดา พบว่าปุ๋ยสัดส่วน 4:2:5 เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ในทุกระยะการเจริญเติบโต สูตรปุ๋ยคือ 20-10-25 การผสมปุ๋ยเพื่อใช้เอง โดยใช้แม่ปุ๋ย 15-0-0,46-0-0,12-60-0,13-0-46 หรือ 0-0-60 เปรียบเทียบกับปุ๋ยเกร็ด พบว่ามีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันดีกว่าการให้ปุ๋ยสูตรเสมอ การลดสัดส่วนของปุ๋ยฟอสฟอรัสลงจะลดต้นทุนการพ่นปุ๋ยได้40% การผสมปุ๋ยใช้เอง ทำให้มีการเพิ่มธาตุแคลเซี่ยม ให้กับกล้วยไม้ซึ่งปุ๋ยสูตรเสมอไม่มี และยังสามารถรวมกับจุลธาตุสำเร็จรูปหรือจุลธาตุผสมเองได้ การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อเพิ่มคุณภาพและอายุการใช้งานของกล้วยไม้พันธุ์ใหม่ พบว่าการใช้ปุ๋ย สัดส่วน 4:2:5 ความเข้มข้น 3000 พีพีเอม ฉีดพ่นต้นกล้วยไม้แวนดาเป็นประจำทุกสัปดาห์ และมีการฉีดพ่นจุลธาตุร่วมด้วยในบางครั้ง จะช่วยให้กล้วยไม้แวนดามีการเจริญเติบโต โดยวัดจากความสูงของต้น และจำนวนคู่ใบเพิ่มขึ้น โดยทั่วไป เมื่อต้นแวนดามีจำนวนคู่ใบ ประมาณ 10 คู่เป็นต้นไป จะเริ่มแทงดอกประมาณคู่ที่ 8-9 พบว่าการฉีดพ่นอาหารเสริมเช่น บี-วัน เป็นประจำทุก 2 สัปดาห์จะช่วยให้ช่อดอกที่แทงออกมามีการเจริญเติบโตต่อไปได้ดี แต่การฉีดพ่นปุ๋ยอย่างเดียวช่อดอกที่แทงบางส่วนจะฝ่อและแห้ง การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตจะไปจะทำให้ต้นเจริญเติบโตช้า และออกดอกช้าลงเช่นเดียวกัน การฉีดพ่นอาหารเสริม AB เป็นประจำทุก 2 สัปดาห์ กับมอคคารา คาลิโซ ในระยะให้ผลผลิต จะช่วยให้ช่อดอกมีการเจริญเติบโต ก้านช่อยาว จำนวนดอกเพิ่มขึ้นดอกมีขนาดใหญ่ได้มาตรฐาน เมื่อเทียบกับการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต การทดสอบการจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว พบว่าแวนดาที่ตัดดอกส่วนใหญ่เป็นลูกผสม3-4 ชั้นจากพันธุ์พ่อแม่ เช่น แวนดาแซนเดอเรียนา,แวนดาฟ้ามุ่ย,แวนดา ไตรคัลเลอร์, พันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับการตัดดอกจะต้องมีคุณลักษณะที่ดี เช่น การเรียงตัวของช่อดอก ขนาดดอก ก้านชูดอก อายุการปักแจกัน พันธุ์ที่ต่างประเทศต้องการเป็นสีบลูเข้ม พบว่าการเก็บเกี่ยวโดยใช้มีดคมสะอาด การใช้หลอดน้ำสำหรับเสียบก้าน จะช่วยยืดอายุการใช้งานของแวนดาได้นานพอๆ การใช้น้ำยายืดอายุสูตร150HQS+1.5S+20Al แวนดาบางพันธุ์มีอายุการปักแจกันนาน10 วันขึ้นไปเหมาะสมกับการใช้ตัดดอกเพื่อการส่งออก ด้านอารักขาพืช การทดสอบปฏิกิริยากล้วยไม้ลูกผสมแวนดาพันธุ์การค้าต่อโรคเน่าดำที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ P. palmivora พบว่ากล้วยไม้ลูกผสมแวนดามีความทนทานต่อโรคเน่าดำที่เกิดจากเชื้อ สาเหตุ Phytophthora palmivora (Butl.)แตกต่างกัน V.Christine low ทนทานต่อโรคเน่าดำดีกว่า V.Chakrit Gold , V. Charles Good fellow,V.Pink light blue และ V.สพล พันธุ์ที่ไม่ทนทานต่อโรคเลย เช่น V.Pakchong Delight, V. AScada Princess Mikasa Pink, V.นกกระทา ,V.Robert Black Magic, V.Perreiraara Crownfox Agate x Mishima Lime และ Perreiraara Crownfox Agate x V. tesselata alba กล้วยไม้พันธุ์การค้าสกุลอื่น การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ สามารถคัดเลือกได้แคทลียาที่ให้ดอกสม่ำเสมอทุกปี สีสวย และปลูกเลี้ยงง่าย ให้ดอกดี ดังนี้ ดอกสีเหลือง : เบอร์ 1931 (Sc. Fairyland ‘Royal Jewel’) เบอร์ 2565 (Pot.Morning cal ‘Pinocchio’) เบอร์ 2450 (Blc. Husky Boy ‘Romeo’) ดอกสีชมพู สีม่วง : เบอร์ 1997 (Slc. Love Castle ‘Happiness’) เบอร์ 2457 (Slc. Best Friend ‘Cathy’) ดอกสีส้ม : เบอร์ 1808 (Slc.Love Excellence ‘Kumiko’) ดอกสีแดง : เบอร์ 1785 (Slc.Matthew’s Gem ‘Akane’) พร้อมทั้งการผลิตเพื่อเป็นไม้กระถาง 1 ชุดเทคโนโลยี สำหรับสกลุลออนซิเดียมได้ทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตกับกล้วยไม้ ศึกษาการจัดการปุ๋ยสำหรับกล้วยไม้สกุลออนซิเดียม ปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับกล้วยไม้สกุลออนซิเดียม คือ NPK สัดส่วน 4:2:5 ทุกระยะการเจริญเติบโต อัตราความเข้มข้น 500 – 3000 ppm ขึ้นอยู่กับอายุต้น ให้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในกล้วยไม้ไทยที่มีศักยภาพ ได้แก่ กล้วยไม้รองเท้านารี การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ได้เปรียบเทียบ ผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีที่มีถิ่นกำเนิดในแต่ละภาคของประเทศไทย ซึ่งสามารถคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีได้มากกว่า 13 ชนิด และมีแหล่งพันธุกรรมของกรมวิชาการเกษตร 4-5 สถานที่ และได้ลูกผสมกล้วยไม้รองเท้านารีที่มีลักษณะดีตามเกณฑ์มากกว่า 9 ต้น รวมทั้งได้พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีคัดเลือกที่สามารถนำมาขยายพันธุ์เพื่อผลิตเป็นไม้กระถางและใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในการสร้างลูกผสมใหม่มากกว่า 62 สายต้น ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการขยายพันธุ์ ได้ศึกษาการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อการผลิตต้นพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองปราจีน พบว่า การใช้ไซโตไคนิน 400 ppm ร่วมกับจิบเบอริลลิน 400 ppm ในระยะเตรียมสร้างตาดอก ช่วยให้เกิดหน่อ 3-4 หน่อต่อต้น และการพัฒนาเทคโนโลยีการขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อ ได้เทคนิคการเพาะเมล็ดกับรองเท้านารีอินทนนท์ อินทนนท์ลาว ฝาหอยและดอยตุง พบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำให้เมล็ดงอกดีที่สุด คือ สูตรจิตราพรรณII ? สูตร โดยรองเท้านารีอินทนนท์ลาวงอกได้ดีที่สุด รองลงมาคือ ฝาหอย อินทนนท์และดอยตุง ตามลำดับ สูตอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตเป็นต้นและรากที่สมบูรณ์ คือ อาหารสูตรดัดแปลงซึ่งประกอบด้วย ? macronutrients ของ vw และ ? micronutrients ของ MS ที่เติมน้ำมะพร้าว 75 มล./ล. เนื้อมะเขือเทศสดบด 50 ก./ล. เห็ดหูหนูบดละเอียด 12.5 ก./ล. และกล้วยหอมบด 25 ก./ล. มีผลทำให้ต้นเนื้อเยื่อรองเท้านารีอินทนนท์ อินทนนท์ลาวและฝาหอยมีน้ำหนักสด จำนวนรากและความยาวมากที่สุด สำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตกับกล้วยไม้รองเท้านารี ได้ศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีในแต่ละแหล่งปลูกของประเทศไทย โดยเน้นการใช้วัสดุปลูกที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ หาง่าย ราคาถูกและเหมาะสมกับชนิดของกล้วยไม้ ซึ่งสามารถแนะนำได้ดังนี้ รองเท้านารีเหลืองปราจีน ให้ใช้วัสดุปลูกอิฐทุบ:โฟมหัก: ถ่าน:หินเกร็ด อัตรา 1:0.5:1:1 โดยปริมาตร รองเท้านารีอินทนนท์และอินทนนท์ลาว ให้ใช้วัสดุปลูก กะลากาแฟ:ถ่านกะลามะคาเดเมีย:หินเกร็ด อัตรา 2:1:1 โดยปริมาตร รองเท้านารีเหลืองเลย ให้ใช้วัสดุปลูก ซังข้าวโพด:ถ่านกะลามะคาเดเมีย:หินเกร็ด อัตรา 1:1:1 โดยปริมาตร รองเท้านารีฝาหอย ให้ใช้วัสดุปลูกทรายหยาบและขุยมะพร้าว อัตรา 1: 1 โดยปริมาตร และรองเท้านารีเหลืองกระบี่ ให้ใช้วัสดุรองก้นกระถางด้วยอิฐทุบ หรือหินเกร็ด และวัสดุปลูกควรเป็นดินก้ามปูผสมมูลไก่ อัตรา 3:1 โดยปริมาตร ด้านการจัดการปุ๋ยได้ศึกษากับรองเท้านารีเหลืองกระบี่ แนะนำให้ใส่ปุ๋ยละลายช้าสูตร 14-14-14 อัตรา 10 ก./กระถาง ทุก 3 เดือนจะทำให้ต้นรองเท้านารีแตกกอดี ส่วนรองเท้านารีเหลืองปราจีน แนะนำให้ใส่ปุ๋ยเกร็ดในอัตราส่วน 1:1:1, 3:2:4 และ 5:7:9 ความเข้มข้น 750 ppm ทุก 2 สัปดาห์ จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ แตกกอดี จึงจะส่งผลต่อการออกดอก สำหรับการชักนำให้รองเท้านารีออกดอกนั้น พบว่า การพ่นสารพาโคลบิวทราโซล 100 ppm สามารถชักนำให้กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองปราจีนออกดอก 51.65% กล้วยไม้ซิมบิเดียมและเอื้องพร้าว การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ สามารถคัดเลือกได้พ่อแม่พันธุ์ซิมบิเดียมและเอื้องพร้าว เพื่อใช้ผสมพันธุ์ในโครงการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ (ปี 2554-2558)ได้ลูกผสมกล้วยไม้รองเท้านารีที่มีลักษณะดีตามเกณฑ์ > 9 ต้น ได้ต้นลูกผสมซิมบิเดียมสายพันธุ์บริสุทธิ์ เพื่อใช้ทดสอบพันธุ์ในโครงการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ (ปี 2554-2558) ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการขยายพันธุ์กล้วยไม้สกุลซิมบิเดียมและเอื้องพร้าว โดยศึกษาอายุฝักและอายุการเก็บรักษาฝักที่เหมาะสมในการเพาะเมล็ดในสภาพปลอดเชื้อได้เทคนิคในการเพาะเลี้ยงเมล็ดอ่อนของกล้วยไม้สกุลซิมบิเดียมโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ดังนี้ ฝักที่ใช้ต้องมีอายุฝัก 8-12 เดือนหลังจากออกดอก สามารถเก็บรักษาได้นาน 7-14 วันในตู้เย็น และสูตรอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเมล็ดอ่อนของกล้วยไม้สกุลซิมบิเดียม 3 สูตร ได้แก่ 1 อาหารแข็ง modified Vaccine and Went 2 อาหารเหลวสูตร MS+Vit Gamborg และอาหารแข็ง Vaccine and Went และ 3 อาหารเหลวสูตร Vaccine and Went โดยใช้เทคนิค Bioreactor และอาหารแข็งสูตร Vaccine and Went ส่วนเทคนิคในการเพาะเลี้ยงเมล็ดอ่อนของกล้วยไม้สกุลเอื้องพร้าวโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ดังนี้ ฝักที่ใช้ต้องมีอายุฝัก 105 วัน หลังจากออกดอก สูตรอาหารที่เหมาะสมคือ อาหารแข็งสูตร modified Vaccine and Went สำหรับวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตดอกกล้วยไม้สกุลซิมบิเดียมและเอื้องพร้าวคุณภาพดีเพื่อการส่งออก ได้ศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลซิมบิเดียม พบว่า วัสดุปลูกที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงต้นกล้วยไม้สกุลซิมบีเดียม ได้แก่ มะพร้าวสับ รองลงมาคือ เปลือกสน และควรใส่ปุ๋ยละลายช้า ร่วมกับการใช้ปุ๋ยคอกในการรองพื้นกระถาง และศึกษาการพรางแสงระดับต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการปลูกกล้วยไม้สกุลซิมบิเดียมเชิงการค้า พบว่าเอื้องพร้าว สามารถปลูกเลี้ยงได้ในโรงเรือนพรางแสง 50% ใต้หลังคาพลาสติก ต้นอายุ 1 ปีก็สามารถให้ดอกได้ แต่ความสมบูรณ์ของช่อดอกมีมากขึ้นในต้นที่มีอายุมาก โดยมีก้านช่อดอกยาวและแข็งแรง ดอกมีความสวยงาม จำนวน 11-22 ดอกต่อช่อ อายุการบานของดอกนาน ประมาณ 4-5 เดือน (พฤศจิกายน-มีนาคม) สามารถปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้กระถาง และไม้ตัดดอกได้ การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก อีกทั้งยังสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี ได้แก่ การเพาะเมล็ด การแยกกอ และการชำก้านช่อดอก สำหรับการศึกษาอายุการตัดดอกและสูตรที่เหมาะสมในการยืดอายุการเก็บรักษาของกล้วยไม้สกุลซิมบิเดียม พบว่า อายุการตัดดอกและสูตรที่เหมาะสมในการยืดอายุการเก็บรักษาของกล้วยไม้สกุลซิมบิเดียม พันธุ์ไข่มุก คือ สามารถใช้ดอกตูมใหญ่ ดอกบาน 1 ดอก ดอกบาน 2 ดอก ดอกบาน 3 ดอก ในสารละลาย น้ำตาลซูโครส 10%+ HQC 400 มก./ล ทำให้เก็บรักษาซิมบิเดียมพันธุ์ไข่มุกได้นาน 21 วัน ในสภาพอุณหภูมิห้อง (23-250ซ.) กล้วยไม้สกุลสแปโทกลอททิสและแกรมมะโตฟิลลัม การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ สามารถคัดเลือกได้ต้นลูกผสมใหม่สำหรับแนะนำเกษตรกรจำนวน 5 พันธุ์ : Hy 02-02 /Hy 02-13 Hy 02-33 /Hy 03-40 Hy 12-07 ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการขยายพันธุ์กล้วยไม้สกุลสแปโทกลอททิส ได้เทคโนโลยีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเมล็ดในสภาพปลอดเชื้อโดยสูตรเริ่มต้น : Vacin & Went (1949) สูตรจบ : Murashige & Skoog (1962) สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเจริญ สูตรเริ่มต้น : MS+BA 1-2 มก./ล.+NAA 0.1 มก./ล. สูตรจบ : MS ไม่เติมฮอร์โมน และสำหรับกล้วยไม้สกุลสแกรมมะโตฟิลลัม ใช้ฝักอ่อนในสภาพปลอดเชื้อ สูตรเริ่มต้น : Pierson+2 iP 5 มก./ล.+NAA 1 มก./ล. สูตรจบ : Vacin & Went สำหรับวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตดอกกล้วยไม้ ได้ศึกษาวัสดุปลูกและระดับความเข้มแสงที่เหมาะสมกับกล้วยไม้สกุลแกรมมะโตฟิลลัม พบว่าวัสดุปลูกที่เหมาะสมคือทะลายปาล์มและรากมะพร้าวผุ ปลูกในท่อซีเมนต์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 ซม. โดยใช้กล้วยไม้เริ่มต้น 2 ต้น/กอ สามารถเพิ่มปริมาณต้นได้ 11-16 ต้น/ท่อ/24 เดือน โดยการวางต้นไว้กลางแจ้งหรือพรางแสง 30-70% ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต และได้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการใส่ปุ๋ยกับสกุลแกรมมะโตฟิลลัม พบว่าการใช้สารละลายปุ๋ยที่ระดับความเข้มข้น 3,000 พีพีเอ็ม โดยผสมปุ๋ยสัดส่วนที่มีฟอสฟอรัสต่ำ ใช้แม่ปุ๋ยฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ธาตุรองและจุลธาตุที่มีราคาถูก (12-60-0, 0-0-60 และปุ๋ยซัลเฟต)และใช้แคลเซียมในรูปแคลเซียมคลอไรด์ให้ผลดีสำหรับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ เช่นเดียวกับการใช้แม่ปุ๋ยที่มีราคาแพง ด้านการจัดการโรคพืช ได้ศึกษาสาเหตุโรคและการจัดการโรคที่เกิดจากเชื้อราในกล้วยไม้สกุล สปาโตกลอททิสและสกุลแกรมมะโตฟิลลัม ต้นกล้วยไม้สกุลสปาโตกลอททิสแสดงอาการใบไหม้ วินิจฉัยพบว่าสาเหตุเกิดจากลำต้นเน่าและหัวเน่าพบเชื้อรา Sclerotium sp. และเชื้อรา Phytophthora sp. ได้ผลการทดสอบประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อรา 4 ชนิด ได้แก่ Matalaxyl, etridiazole, iodione, phosphorous acid และเชื้อราไตรโคเดอร์มา กล้วยไม้สกุลนางอั้วและม้าวิ่ง การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ได้เปรียบเทียบ ผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์กล้วยไม้นางอั้วและม้าวิ่ง ซึ่งสามารถคัดเลือกได้พันธุ์กล้วยไม้นางอั้วสาคริก ศก-01 กล้วยไม้นางอั้วตีนกบ ศก-01 กล้วยไม้แดงอุบล ศก-07 และกล้วยไม้ม้าวิ่ง ศก-03 เหมาะสำหรับเป็นไม้กระถาง กล้วยไม้ม้าวิ่ง ศก-01 เหมาะสำหรับเป็นไม้กระถางวางบนโต๊ะ และกล้วยไม้แดงอุบล ศก-03 เหมาะสำหรับเป็นไม้กระถาง และเป็นพ่อแม่พันธุ์ที่ให้ลูกผสมที่ดี ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการขยายพันธุ์ ได้เทคโนโลยีการขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อกับกล้วยไม้สกุลนางอั้วและลูกผสมนางอั้ว คือ นำฝักกล้วยไม้อายุ 60-90 วัน เพาะในอาหารสูตร VW (1949) ในที่มืด ประมาณ 1 เดือน เมื่อเริ่มเกิดโปรโตคอร์ม นำออกไว้ที่มีแสงให้โปรโตคอร์มพัฒนาเป็นสีเขีว แล้วย้ายลงในอาหารสูต VW ที่เติมน้ำมะพร้าว 150 มล./ล. เพื่อชักนำให้เกิดต้นอ่อนและขยายขนาดหัวโดยใช้สูตรอาหาร MS ที่เติม BA 3 ppm จึงย้ายลงอาหารชักนำให้ต้นและรากสมบูรณ์ในอาหาร MS ที่ไม่เติมฮอร์โมน สำหรับเทคโนโลยีการขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อกับกล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง คือนำฝักกล้วยไม้อายุ 70-80 วัน มาเพาะในอาหารสูตร VW (1949) ที่เติมน้ำมะพร้าว 150 มล./ล. เมื่อพัฒนาเป็นโปรโตคอร์ม นำมาเลี้ยงในอาหารสูตรชักนำให้เกิดต้น สูตร VW ที่เติมน้ำมะพร้าว 150 มล./ล. ถ่าน 10 ก./ล. และกล้วยหอมบด 100 ก./ล. และสูตรอาหารชักนำให้เกิดต้นใช้สูตร VW ที่เติมถ่าน 10 ก./ล. สำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตกับกล้วยไม้สกุลนางอั้วและม้าวิ่ง ได้ศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมกับกล้วยไม้นางอั้ว แนะนำให้ปลูกในเครื่องปลูกผสมสูตรถ่าน:ทราย:ปุ๋ยหมัก อัตราส่วน 1:1:1 โดยปริมาตร ที่บรรจุในกระถางพลาสติกขนาด 6-8 นิ้ว และเลี้ยงในโรงเรือนที่มีการพรางแสง 50% สำหรับกล้วยไม้ม้าวิ่งควรใช้วัสดุปลูก อิฐและถ่าน กล้วยไม้สกุลลิ้นมังกรและว่านอึ่ง การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ได้ต้นที่คัดเลือกจากพันธุ์แท้ธรรมชาติที่มีลักษณะดี/เป็นพันธุ์การค้า/ใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ได้ดังนี้ ว่านอึ่ง 2 เบอร์ คือ นพ.001, นพ.002 ว่านหัวครู 4 เบอร์ คือ นพ. 001, นพ.002, นพ.003, นพ.007 หมูกลิ้ง 1 เบอร์ คือ นพ.001 และสกุลลิ้นมังกรคัดเลือกได้สีชมพู 2 เบอร์ คือ นพ.003, นพ.004 สีเหลือง 2 เบอร์ คือ นพ.001, นพ.002 ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการขยายพันธุ์ ได้เทคโนโลยีการขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อกับกล้วยไม้ ได้สูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเมล็ดสกุลว่านอึ่ง (ช้างผสมโขลง) คือ อาหารสูตร VW ดัดแปลง ที่ประกอบด้วยน้ำมะพร้าวเป็นสูตรเริ่มต้น
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
โครงการการเพาะเมล็ดกล้วยไม้รองเท้านารีในสภาพปลอดเชื้อ การวิเคราะห์ชนิดของเม็ดสีแอนโทไซยานิน ในกล้วยไม้ป่า และกล้วยไม้ตัดดอกของไทย เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองบางชนิดเพื่อการส่งออก โครงการวิจัยและทดสอบพันธุ์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิตพริก โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตมะนาว การปรับปรุงพันธุ์แก่นตะวันเพื่อให้มีปริมาณสารอินนูลินสูง โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์ว่านสี่ทิศ โครงการย่อยที่ 1 : การปรับปรุงพันธุ์และการผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตพริก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก