สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
ศุภชล สืบสาย - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศุภชล สืบสาย
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทราบข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกจและสังคาม การรับรู้เทคโนโลยีและทัศนคติต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกร 2) ทราบการใช้เทคโนโลลีการผลิตข้าวของเกษตรกร และ 3) ทราบปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จาก 11 หมู่บ้าน มีเกษตรกรที่ปลูกข้าวทั้งหมดจำนวน 2,059 ราย คิดเป็นเกษตรกรตัวอย่างร้อยละ 10 เท่ากับ 206 ราย ขนาดตัวอย่างแต่ละหมู่บ้านใช้วิธีการคำนวณตัวอย่างเป็นสัดส่วนตามกลุ่ม ได้สุ่มสัมภาษณ์เกษตรกรตัวอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษามีดังนี้ ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคม พบว่า เกษตรตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 48.1 ปี ส่วนใหญ่มีการศึกษาสูงกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 22. 6 ปี มีแรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 4.1 คน มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 18.4 และ เข้าร่วมประชุม ฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องการทำนา 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 6.3 ส่วนการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องการทำนาของเกษตรกรมากที่สุด นั้น จากรายการโทรทัศน์และมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ว่าเปนบุคคลที่พูดจาอ่อนโยน มีความรู้ ความสามัคคี สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ดีและเข้าใจง่าย เป็นสมาชิกถสถาบันเกษตรกรลุ่มต่าง ๆ กลุ่มละหนึ่งคน คิดเป็นร้อยละ 0.5 เท่ากัน และมีเอกสารสิทธิ์ในนา เฉลี่ย 5.6 ไร่ ส่วนมากเป็นนาอาศัยน้ำฝนและทำนาแบบนาดำ มีการเตรียมดินก่อนตกค้างและปักดำโดยการไถดะ ไถแปรและคราดให้ดินเรียบ เริ่มทำนาในช่วงเดือนมิถุนายน - เดือนกรกฎาคม การใช้เมล็ดพันธุ์ 5-7 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรทุกรายมีการแช่เมล็ดข้าวโดยใส่ถุงผ้าดิบหรือกระสอบป่านประมาณ 24 ชั่วโมง หุ้มข้าว 30-48 ชั่วโมง ตกล้าแบบแปลงย่อย กว้าง 1-2 เมตร ใช้กล้าปักดำอายุ 20-30 วัน มีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดรวมกับปุ๋ยเคมีสูตรใดสูตรหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 33.5 มีการกำจัดวัชพืช ตรวจแปลงก่อนตัดสินใจใช้สารเคมีและตัดพันธุ์ปน มีการระบายน้ำออกจากแปลงนา ก่อนการเก็บเกี่ยวข้อง 7-10 วัน และเก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง ตากฟอนข้าวบนตอซังในนา 2-3 แดด และนวดข้าวโดยใช้เครื่องนวด ผลผลิตข้าวเหนียวเฉลี่ย 560 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรมีปัญหาและอุปสรรคในการทำนาคือ ขาดความรู้และวิชาการในการทำนาและการรับข่าวสารข้อมูลางการเกษตร รองลงมา มีปัญหาอุปสรรคในเรื่องแรงงาน เงินทุนหมุนเวียนและวัสดุอุปกรณ์ ในการทำนา ข้อเสนอแนะ การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เมื่อพิจารณาข้อมูลของเกษตรกรทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ การรับรู้ข่าวสาร ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าว ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการผลิตข้าวของเกษตรกร ผู้ศึกษามีเสนอแนะดังนี้ 1. ขาดความรู้และวิขการในการทำนา จากการศึกษาข้อมล พบว่า กล่าวคือ เกษตรกรมีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด หรือรวมกับปุ๋ยเคมีสูตรใดสูตรหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 33.5 รองลงมามีการใส่ปุ๋ย 10-20-0 หรือ 18-22-0 หรือ20-22-0 ในนาดินเหนียว อัตรา 12-6-0 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 20-50 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 11.2 มีการใส่ปุ๋ยแต่งหน้า 46-0-0 หรือ 21-0-0 อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ และมีการใส่ปุ๋ย 16-10-8 หรือ 18-12-6 หรือ 15-15-15 ในนาดินร่วนปนทราย หรือดินทราย อัตรา 12-6-6 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 20-0 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.8 และ 1.5 ตามลำดับ ดังนั้น ควรให้เกษตรกรได้รับความรู้และประสบการณ์ที่ถูกต้องและเหมาะสมในเรื่องปุ๋ยและการใส่ปุ๋ย ตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรได้นำไปปรับใช้ในการผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตสูงสุด ต่อไป 2. การรับข่าวสารข้อมูลทางการเกษตร พบว่า เกษตรกรได้รับความรู้หรือข่าวสารทางการเกษตรจาก รายการโทรทัศน์ วิทยุ เอกสารสิ่งพิมพ์ จากผู้แทนจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์การเกษตร จากเพื่อนบ้านที่ประสบผลสำเร็จและการได้รับความรู้จากการเข้าร่วมประชุม ฝึกอบรม น้อย ดังนั้น ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรณรงค์ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ ให้ข่าวสารทางการเกษตรตามสื่อต่าง ๆ ให้มากขึ้น 3. การเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือคณะกรรมการกล่ม พบว่า เกษตรกรได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือคณะกรรมการกลุ่มต่าง ๆ น้อย ดังนั้น ควรส่งเสริมให้เกษตรกรได้มีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และต่อเนื่อง ในการรวมกลุ่ม การเข้าเป็นสมาชิกหรือคระกรรมการกลุ่ม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2546
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2546
สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรจังหวัดเลย การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลบึงนาเรียง อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกร ในตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลชุมแสง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลสี่เหลี่ยม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลนาทัน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก