สืบค้นงานวิจัย
ผลของการปรับปรุงดินกรดด้วยถ่านชีวภาพต่อชนิดและปริมาณจุลินทรีย์ในการปลูกข้าว
นวลจันทร์ ชะบา, ประไพพิศ ศรีมาวงษ์, นภัสสร โน๊ตศิริ, บุศรินทร์ แสวงลาภ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: ผลของการปรับปรุงดินกรดด้วยถ่านชีวภาพต่อชนิดและปริมาณจุลินทรีย์ในการปลูกข้าว
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Biochar for an Acid Soil Amendment on Type and Amount of Microorganism for Planting Rice
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การปรับปรุงดินกรดด้วยถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวหอมมะลิ 105 ดำเนินการศึกษา 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การทดลองในเรือนทดลอง และระยะที่ 2 การทดลองในภาคสนาม การศึกษาระยะที่ 1 ดำเนินการศึกษาในเรือนทดลองของสำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน ระหว่างเดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน 2557 โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จัดสิ่งทดลองแบบแฟคทอเรียล (Factorial in CRD) ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ปัจจัยที่หนึ่งคือ ชนิดถ่าน ได้แก่ ถ่านชีวภาพไม้ไผ่ ถ่านชีวภาพแกลบ ถ่านหุงต้มไม้ไผ่ (ถ่านที่เผาแบบวิธีเกษตรกร) และถ่านหุงต้มแกลบ และปัจจัยที่สอง คือ ปริมาณถ่านชีวภาพ มี 3 ระดับ ได้แก่อัตรา 800 1,600 และ 3,200 กิโลกรัมต่อไร่ การศึกษาพบว่า ปริมาณแบคทีเรียแกรมบวก Bacillus sp. ในดินปลูกข้าวอายุ 60 วัน ทุกตำรับมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยพบปริมาณ Bacillus sp. มากที่สุดในดินที่ปรับปรุงด้วยถ่านชีวภาพไม้ไผ่ ขณะที่ปริมาณแบคทีเรียแกรมลบ Burkholderia sp. ในดินทุกตำรับการทดลอง เมื่อข้าวอายุ 60 วันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปริมาณจุลินทรีย์ทั้ง 2 ชนิดในดินหลังการเก็บเกี่ยว ทุกตำรับไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างและปริมาณอินทรียวัตถุในดินทุกตำรับการทดลองมีค่าน้อยกว่าตำรับควบคุม ปริมาณฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และปริมาณแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินสูงกว่าตำรับควบคุม ปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินส่วนใหญ่มีค่าสูงกว่าตำรับควบคุม ยกเว้นถ่านชีวภาพไม้ไผ่ อัตรา 800 และ 1,600 กิโลกรัมต่อไร่ ถ่านหุงต้มไม้ไผ่ 3,200 กิโลกรัมต่อไร่ และถ่านหุงต้มแกลบ 800 กิโลกรัมต่อไร่ ถ่านชีวภาพไม่มีผลต่อความสูงของต้นข้าวระยะแตกกอและระยะตั้งท้อง แต่มีผลต่อความสูงของต้นข้าวระยะออกดอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้พบว่าการใช้ถ่านหุงต้มแกลบ 1,600 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ต้นข้าวมีจำนวนรวง และน้ำหนักเมล็ดทั้งหมดมากที่สุด การศึกษาระยะที่ 2 ในภาคสนาม คัดเลือกถ่านจากผลการทดลองในเรือนทดลอง ได้แก่ ถ่านชีวภาพไม้ไผ่ และถ่านหุงต้มแกลบ อัตรา 800 และ 1,600 กิโลกรัมต่อไร่ พบว่า ปริมาณแบคทีเรียแกรมบวก Bacillus sp. และปริมาณแบคทีเรียแกรมลบ Burkholderia sp. ในดินหลังเก็บเกี่ยวทุกตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ตำรับการทดลองส่วนใหญ่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ำกว่าตำรับควบคุม ปริมาณอินทรียวัตถุในดินที่ปรับปรุงด้วยถ่านชีวภาพไม้ไผ่อัตรา 800 กิโลกรัมต่อไร่ และถ่านหุงต้มแกลบ 1,600 กิโลกรัมต่อไร่ มีค่าสูงที่สุด ปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินสูงกว่าตำรับควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวหอมมะลิ 105 พบว่า ต้นข้าวที่ได้รับการปรับปรุงดินด้วยถ่านหุงต้มแกลบ อัตรา 1,600 กิโลกรัมต่อไร่ มีจำนวนรวงต่อกอมากที่สุด ถ่านชีวภาพไม้ไผ่ อัตรา 1,600 กิโลกรัมต่อไร่ ให้น้ำหนักผลผลิตเมล็ดสูงที่สุด (734.23 กิโลกรัมต่อไร่) รองลงมาได้แก่ถ่านหุงต้มแกลบ และถ่านชีวภาพไม้ไผ่ อัตรา 800 กิโลกรัมต่อไร่ (637.00 กิโลกรัมต่อไร่) ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Remediation of acid soils using biochar on the growth and yield of Jasmine rice 105 were conducted in two phases. For phase I, the study was conducted in the greenhouse of the Office of Science for Land Development during June - November 2557. The experimental design was completely random with factorial in CRD. The two factors were studied 1) type of biochars (Bamboo biochar, Rice husk biochar, Bamboo charcoal and Rice husk charcoal) and 2) rate of biochars (800, 1,600 and 3,200 kilogram/rai). The study found that the Gram-positive bacteria Bacillus sp. in 60-day-old rice cultivars were significantly (P <0.05). Maximum amount of Bacillus sp. in soils improved with bamboo charcoal. While the amount of gram-negative bacteria Burkholderia sp. in all soil treatments When 60-day old rice was not significantly. And the amount of both microorganisms in the soil treatment after harvest did not significantly. The pH and OM in all treatments were less than control treatment. However, P, K and Ca content were higher than control treatment. Mg content in most treatments were higher than control treatment except for bamboo biochar at rate 800 and 1600 kg/rai, bamboo charcoal at 3,200 kg/rai and rice husk charcoal at rate 800 kg/rai. Biochar significantly affect (P <0.05) the height of rice in flowering stage but not in tillering and pregnant stages. Moreover, rice husk charcoal at 1,600 kg/rai treatment produced the highest spikes and yield of rice. For phase II, the study was conducted in the field. Bamboo biochar and rice husk charcoal treatment (800, 1600 kg/rai) were chosen based on yield of rice resulted from phase I study. The study found that Bacillus sp. and Burkholderia sp. in all post harvest soil were not significantly (P <0.05). Most treatments have pH lower than control treatment. All treatments have P and K content more than control treatment. While bamboo biochar and rice husk charcoal 1,600 kg/rai have the highest OM content, significance (p<0.05). The remediation of acid soils using rice husk charcoal 1,600 kg/rai treatment produced the highest spikes. However, bamboo biochar at 1,600 kg/rai and rice husk charcoal at 800 kg/rai produced the highest rice yield (734.23 kg/rai and 637.00 kg/rai, respectively).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการปรับปรุงดินกรดด้วยถ่านชีวภาพต่อชนิดและปริมาณจุลินทรีย์ในการปลูกข้าว
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2558
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การปรับปรุงดินเพื่อการปลูกข้าวไร่ ศึกษาการใช้ไบโอชาร์ต่อการเปลี่ยนแปลงกิจกรรม มวลชีวภาพและสังคมของ จุลินทรีย์ดินในพื้นที่ปลูกผักระบบปลอดสารพิษ (GAP) เทคโนโลยีการใช้ถ่านเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเพิ่มผลผลิตข้าวขาวมะลิ 105 ภายใต้สภาพดินเค็ม การใช้ถ่านชีวมวลจากเปลือกไม้ยูคาลิปตัสเพื่อปรับปรุงดินกรดเพื่อปลูกข้าวในพื้นที่ภาคกลาง การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในการควบคุมทางชีวภาพ การจัดการดินกรดด้วยปุ๋ยชีวภาพร่วมกับเพอร์ไลท์ ในการส่งเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และผลผลิตข้าวโพด การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับวัสดุปรับปรุงดินเพื่อปรับสภาพดินกรดที่ใช้ปลูกหอมแดงในจังหวัดศรีสะเกษ ศึกษาชีววิธีในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์วิบริโอด้วยจุลินทรีย์บาซิลลัสในห้องปฏิบัติการ ผลของการใช้วัสดุปรับปรุงดินชนิดต่างๆร่วมกับโดโลไมท์ในการปรับปรุง นาข้าวดินกรด ในกลุ่มชุดดินที่ 22 จังหวัดชัยภูมิ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก