สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์พริกเพื่อต้านทานต่อโรคเหี่ยวเนื่องจากเชื้อ Phytophthora
ฉันทนา วิชรัตน์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์พริกเพื่อต้านทานต่อโรคเหี่ยวเนื่องจากเชื้อ Phytophthora
ชื่อเรื่อง (EN): Pepper Breeding Project for Resistance to Phtophthora
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ฉันทนา วิชรัตน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การประเมินความรุนแรงของโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora capsici โดยใช้พริก ที่รวบรวมและคัดเลือกไว้ของสาขาพืชผัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้จำนวน 10 สายพันธุ์ พริกจาก TVRC จำนวน 9 สายพันธุ์ และพริกจาก AVRDC ต้หวัน จำนวน 4 สายพันธุ์ ทดสอบกับเชื้อรา P. capsici ที่รวบรวมได้จากแหล่งต่างๆ จำนวน 5 ไอโซเลท ได้แก่ ไอโซเลทขุนวาง ฮอต แม่สอต ตาก และ เชียงราย การทดสอบความสามารถก่อโรคได้ของเชื้อราใช้วิธีการปลูกเชื้อที่โคนต้นกล้ำา พริกที่อายุ 1 เดือน ด้วยสปอร์ขวนลอยความเข้มข้น 10 สปอร์ต่อมิลลิลิตร และให้คะแนนการ เกิดโรคด้วยสายตาโดยมีระตับความรุนแรงของอาการโรคจาก 0 คือไม่แสดงอาการ ถึงระตับ 4 คือ ต้นตาย หลังจากการปลูกเชื้อนาน 21 วัน ผลการทดลองกับสายพันธุ์ที่คัดเลือกไว้ของ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ บว่าพันธุ์ที่อ่อนแอมากต่อเชื้อราทุกไอโซเลท คือ พจ 5-3-1-1-1 และ พจ 5-3-1-1-3 พันธุ์ที่ แข็งแรงมาก ได้แก่ พจ 0077-1และ พจ 007-2 ส่วนพริกจาก TVRC (CM334 และ TIT paris) ทั้งหมด จัดได้ว่าเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างแข็งแรงถึงแข็งแรงมาก สำหรับพริกจาก AVRDC ประเทศ ไต้หวันพบว่าสายพันธุ์ที่อ่อนแอมากที่สุดคือ Early Cal Wonder เมื่อเปรียบเทียบกับ สายพันธุ์ PBC 137 PBC 602 และ PI 201234 ได้ทำการคัดเลือกพริกพันธุ์ พจ 5-3-1-1-1 และ พจ 5-3-1- 1-3 เพื่อเป็นต้นแม่ คัดเลือกพันธุ์ CM 334-2 CM 334-3 และ CM 334-4 เป็นสายพันธุ์ต้นพ่อ ทำ การผสมพันธุ์ได้ลูกผสม 4 สายพันธุ์คือ พริกลูกผสม พจ 5-3-1-1-1/1 กับ CM 334-2/2 พริก ลูกผสม พจ 5-3-1-1-1/2 กับ CM 334-212 พริกลูกผสม พจ 5-3-1-1-3/2 กับ CM 334-4/2 และ พริกลูกผสม พจ 5-3-1-1-3/2 กับ CM 334-33 ซึ่งจะต้องนำไปประเมินลักษณะความต้านทาน โรคในระดับแปลงปลูกและการประเมินระดับโมเลกุลสำหรับการตรวจหายีนที่ควบคุมความ ต้านทานโรคต่อไป สำหรับการจำแนก pathotypes ของเชื้อรา P. capsici ที่แยกได้จากแหล่ง ต่างๆ ซึ่งจำเป็นสำหรับการประเมินโรคเหี่ยวเพื่อการพัฒนาสายพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคโดยวิธีใช้ พริกพันธุ์ทตสอบจาก AVRDC สามารถจัดไอโซเลท จาก ฮอด จ. เชียงใหม่ อยู่ใน pathotype 1 และไอโซเลทจากเชียงรายจัดอยู่ใน pathotype 3 ทั้งนี้สำหรับไอโซเลทจาก อ แม่สอด จ ตาก ไอ โซเลทจากบ้านขุนวาง และ บ้านโปงแยง จ เชียงใหม่ ผลที่ได้แตกต่างจากแหล่งอ้างอิงจึงยังไม่ สามารถบ่งขี้ pathotype ได้ ดังนั้นควรนำไปตรวจสอบในระดับโมเลกุลต่อไป จากการพิจารณา ระดับความรุนแรงของการเกิดโรคกับพริกพันธุ์ต่างๆ พบว่ความรุนแรงของการเกิดโรคขึ้นกับสาย พันธุ์พริกด้วย ในพันธุ์อ่อนแอต่อโรคเชื้อราทำให้พืชเกิดโรคในระดับ 3-4 และสามารถจัดกลุ่มเชื้อราที่ให้ผลต่อความรุนแรงของโรคแตกต่างกัน 2 กลุ่มคือกลุ่มที่มีความรุนแรงมาก ได้แก่ไอโซเลท ขุนวาง เชียงราย ตาก แม่สอด ในขณะที่เชื้อที่จัดว่ารุนแรงน้อยคือ ไอโซเลทฮอด ส่วนในพันธุ์ ต้านทานหรือค่อนข้างต้านทานไอโซเลทต่างๆ แสดงความรุนแรงของอาการโรคไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อราแต่ละไอโซเลทพบรูปร่างลักษณะ และขนาด ที่แตกต่างกันของ sporangium รวมทั้งลักษณะ rosette pattern เมื่อเลี้ยงบนอาหาร PDA แตกต่างกันด้วย จากการศึกษาความสามารถในการด้านทานต่อสารเมตาแลคชิล ที่ความ เข้มข้น 10 และ 100 ppm พบว่าสามารถจัดกลุ่มความต้านทานต่อสารเคมีได้ดังนี้ ที่ความเข้มข้น 10 ppm ไอโซเลท แม่สอดจัดอยู่ในระดับค่อนข้างต้านทานต่อสารเคมี มีค่าเฉลี่ยการเจริญสูงสุด 57.77% ส่วนไอโซเลทแม่สาใหม่จัดอยู่ในระดับอ่อนแอต่อสารเคมี มีค่าเฉลี่ยการเจริญต่ำที่สุด 6.07% ส่วนที่ความเข้มข้น 100 ppm พบว่ามีจำนวน 5 ไอโซเลทจัดอยู่ในระดับค่อนข้างต้านทาน ต่อสารเคมี ได้แก่ ไอโซเลทขุนวาง ตาก โปงแยง แม่สอดและอินทนนท์ โดยมีค่าเฉลี่ยการเจริญ สูงสุด 27.43% และพบว่ามีจำนวน 6ไอโซเลทที่จัดอยู่ในระดับอ่อนแต่อสารเคมื ได้แก่ ไอโซเลท เชียงราย ฮอด แม่สาใหม่ หนองหอย PLM และ PSM โดยมีค่าเฉลี่ยการเจริญต่ำที่สุด 2.05%
บทคัดย่อ (EN): Disease severity of wilt caused by Phytophthora capsici was accomplished by testing with collection of 10 varieties of pepper from Vegetable Section, Maejo University and 9 varieties from TVRC, as well as 4 varieties from Taiwan AVRDC. These collections were tested with 5 isolates of P. capsici from Khun Wang, Mae Sod, Hod, Chiangrai and Tak. The test for its pathogenicity was made by pouring the inoculum on to the soil directly under the stems of one month old pepper seedling, using spore suspension with concentration of 105 zoospores/ml. Rating the severity by visual observation, judging the severity from 0, no reaction to 4th level where the seedling is dead after 21 days of inoculation. The results are as follow:- PJ 5-3-1-1-1 and PJ 5-3-1-1-3 were very weak to all fungal isolates. PJ 0077-1, 007-2 were very strong. All pepper from TVRC (CM334 and TIT paris) were slightly strong to strongest. Early Calwonder from AVRDCTaiwan is weakest compared to PBC 137, PBC 602 and PI 201234. Selection for parent varieties were made. :- PJ 5-3-1-1-1 and PJ 5-3-1-1-3 were used as female while CM 334-2 CM 334-3 and CM 334-4 were used as male. There were 4 different F1 after hybridization. i.e. F1 from PJ 5-3-1-1-1/1 and CM 334-2/2 , F1 from PJ 5-3-1-1-1/2 and CM 334-2/2, F1 from PJ 5-3-1-1-3/2 and CM 334-4/2, F1 from PJ 5-3-1-1-3/2 and CM 334-3/3. Further evaluation for resistance in field trial and molecular approach are needed to confirm the study. Pathotype identification of P. capsici from different locations which is significant to blight disease evaluation in order to get resistant varieties to the disease was also made. The results showed that isolates Hod was pathotype 1 while isolates Chiangrai was pathotype 3. Isolates MaeSod, Tak, Khunwang and Pongyeang have not been identified due to the different reaction from 4 reference. Molecular identification for pathotypes, therefore, should be applied further. It was also found that severity of disease symptoms was depended on pepper varieties. In the weak varieties, disease severity were under 3-4th level and fungal isolates could be classified in 2 groups (high severity and less severity). In somewhat resistant and resistant varieties, there was no difference in severity of disease symptoms. Fungal morphology of each isolate was also studied. It was found that there were significant difference in shape and size of their sporangia and rosette pattern on PDA. The resistance to metalaxyl were also studied. Two different concentrations of 10 ppm and 100 ppm were tested. For 10 ppm, isolate MaeSod was somewhat resistance to chemical. It gave highest growth average of 57.77% while isolate Mae Sa Mai was the weakest (growth average 6.07%). At the concentration of 100 ppm, the 5 isolates i.e. Khunwung, Tak, Pongyaeng MaeSod and Inthanon, were classified in somewhat resistance to the chemical with the highest growth average of 27.43%. The 6 isolates i.e. Chiang Rai, Hod, Mai Sa Mai, NongHoi, PLM and PSM, were weak to the chemical with the lowest growth average of 2.05 %
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์พริกเพื่อต้านทานต่อโรคเหี่ยวเนื่องจากเชื้อ Phytophthora
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2553
การพัฒนาเครื่องหมายในระดับโมเลกุลของลักษณะความต้านทานโรคเหี่ยวเนื่องจากเชื้อ Phytophthora เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พริก การควบคุมเชื้อ Ralstonia solanacearum (Smith) Yabuuchi et al. สาเหตุโรคเหี่ยวของมันฝรั่ง โดยเชื้อ Bacillus subtilis Ehrenberg โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิตพริก ลักษณะทางสรีรวิทยาและการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีที่มีความสัมพันธ์กับความต้านทาน ต่อเชื้อรา Phytophthora โครงการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับความต้านทานเชื้อ Phytophthora ในยางพารา โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตพริก การคัดเลือกพันธุ์พริกที่ให้ผลผลิตสูงและต้านทานโรค น้ำพริกหนุ่มกับเชื้อก่อโรค อี. โคไล ศึกษาการแยกเชื้อจำแนกชนิดเชื้อราPhytophthora spp. และการทดสอบเชื้อต่อการเกิดโรครากเน่าของหม่อน การคัดต้นตอต้านทานโรคเหี่ยวจากแบคทีเรียในการผลิตพริกหวาน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก