สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการพัฒนาอาชีพการเกษตรของเกษตรกรในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : กรณีศึกษาโครงการพัฒนานิคม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
สมบูรณ์ มรกฎจินดา - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความต้องการพัฒนาอาชีพการเกษตรของเกษตรกรในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : กรณีศึกษาโครงการพัฒนานิคม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมบูรณ์ มรกฎจินดา
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จากการศึกษาความต้องการพัฒนาอาชีพการเกษตรของเกษตรกรในโครงการพัฒนาพื้นที่ ลุ่มน้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ : กรณีศึกษาโครงการพัฒนานิคมจังหวัดลพบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร ในโครงการสภาพการผลิตทางการเกษตรในระบบปีที่ผ่านมา ความต้องการพัฒนาอาชีพการเกษตร ตลอดจนปัญหาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาอาชีพการเกษตรในโครงการ เก็บรวบรวมจากเกษตรกรจำนวน 126 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยสรุป ดังนี้ อายุเฉลี่ยของเกษตรกร 48.2 ปี ร้อยละ 72.3 จบการศึกษาภาคบังคับ ร้อยละ 82.5 เกษตรกรมีภูมิลำเนาอยู่ที่เดิม ร้อยละ 62.7 เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.0 ร้อยละ 41.3 มีอาชีพทำไร่ ร้อยละ 90.4 ไม่มีอาชีพนอกภาคการเกษตร รายได้จากการเกษตรเฉลี่ย 96,431.8 บาท และรายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 3,290.5 บาท มีหนี้สินเฉลี่ย 155,334.5 บาท ข่าวสารการเกษตรได้รับข่าวสารเฉลี่ย 1.2 ครั้งต่อสัปดาห์ ข่าวสารจากเกษตรกรผู้นำเฉลี่ย 1.4 ครั้งต่อสัปดาห์ ข่าวสารจากผู้นำท้องถิ่นเฉลี่ย 1.3 ครั้งต่อสัปดาห์ ข่าวสารจากเจ้าหน้าที่รัฐ เฉลี่ย 1.2 ครั้งต่อสัปดาห์ ข่าวสารจากพนักงานเอกชนเฉลี่ย 1.1 ครั้งต่อสัปดาห์ ข่าวสารจากร้านค้าเฉลี่ย 1.1 ครั้งต่อสัปดาห์ รับชมข่าวสารด้านการเกษตรจากโทรทัศน์เฉลี่ย 1.3 ครั้งต่อสัปดาห์ ฟังข่าวสารด้านการเกษตรจากวิทยุเฉลี่ย 1.6 ครั้งต่อสัปดาห์ ข่าวจากสิ่งพิมพ์เฉลี่ย 1.2 ครั้งต่อสัปดาห์ ชมวีดีทัศน์ทางการเกษตรเฉลี่ย 1.2 ครั้งต่อปี ชมสไลด์ทางการเกษตรเฉลี่ย 1.0 ครั้งต่อปี การรับสื่อประเภทกิจกรรมร้อยละ 71.4 ไม่เคยฝึกอบรมจากหน่วยงานรัฐ ร้อยละ 94.4 ไม่เคยดูงานหน่วยงานเอกชน ร้อยละ 87.3 ไม่เคยดูนิทรรศการจากหน่วยงานรัฐ ร้อยละ 98.4 ไม่เคยดูนิทรรศการจากหน่วยงานเอกชน ร้อยละ 91.3 ไม่เคยชมการสาธิตจากหน่วยงานรัฐ และร้อยละ 97.6 ไม่เคยชมการสาธิตจากหน่วยงานเอกชน พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 29.6 มีสมาชิกวัยแรงงานเฉลี่ย 3.3 คน สมาชิกวัยพึ่งพาเฉลี่ย 1.2 คน สมาชิกช่วยงานเต็มเวลาเฉลี่ย 2.2 คน และสมาชิกช่วยงานเป็นครั้งคราวเฉลี่ย 0.5 คน ร้อยละ 25.8 ชนิดเครื่องทุนแรงทางการเกษตรมีรถไถเดินตาม ส่วนสมาชิกที่ไม่มีเครื่องทุนแรงร้อยละ 67.3 ใช้วิธีการจ้าง ร้อยละ 35.0 แหล่งซื้อปัจจัยการผลิตจากตลาดในหมู่บ้าน ร้อยละ 59.7 แหล่งขายผลผลิตคนกลางมาซื้อที่บ้านและไร่นา ร้อยละ 36.5 แหล่งคำปรึกษาทางการเกษตรจากญาติพี่น้อง ความต้องการพัฒนาอาชีพพืชไร่ ร้อยละ 68.2 ไม่ต้องการพัฒนาอาชีพ เพราะเกษตรกรมีความรู้ดีอยู่แล้ว ส่วนเกษตรกรที่ต้องการพัฒนาอาชีพร้อยละ 54.5 ต้องการฝึกอบรม และประเภทที่ต้องการร้อยละ 68.2 ต้องการผลิตพืชไร่ที่ถูกต้อง ความต้องการพัฒนาอาชีพเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 60.7 ต้องการพัฒนาอาชีพเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 82.4 ต้องการพัฒนาโดยการฝึกอบรม ส่วนประเภทการพัฒนา ร้อยละ 64.7 ต้องการพัฒนาการดูแลรักษาสัตว์ที่ถูกต้อง ความต้องการพัฒนาอาชีพทำนา เกษตรกรร้อยละ 52.5 ความต้องการพัฒนาอาชีพทำนา ร้อยละ 66.7 ต้องการพัฒนาการทำนาที่ถูกต้อง ปัญหาทางด้านกายภาพ ร้อยละ 79.4 มีปัญหาขาดแคลนน้ำ ปัญหาทางด้านชีวภาพ ร้อยละ 48.4 ปัญหาพันธุ์มีราคาแพง ปัญหาทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 65.9 ขาดแคลนเงินทุน ปัญหาทางสังคม ร้อยละ 21.4 ขาดการรวมกลุ่มในการขายผลผลิตและปัญหาเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ร้อยละ 21.4 ปัญหาจำนวนเจ้าหน้าที่น้อยไม่เพียงพอกับความต้องการ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกอบอาชีพของเกษตรกร ร้อยละ 99.2 เห็นด้วยกับรูปแบบเกษตรกรรมแบบกึ่งการค้า และกึ่งดำรงชีพ ร้อยละ 90.5 เห็นด้วยกับการพัฒนาอาชีพภายในหมู่บ้าน ร้อยละ 78.6 เห็นด้วยกับระยะเวลาในการพัฒนาอาชีพก่อนปลูก และร้อยละ 85.7 เห็นด้วยกับลักษณะโครงการพัฒนาอาชีพเกษตรร่วมกับเจ้าหน้าที่ร่วมคิดร่วมทำ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการพัฒนาอาชีพการเกษตรของเกษตรกรในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : กรณีศึกษาโครงการพัฒนานิคม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากหญ้าแฝกตามโครงการพระราชดำริฯ ความพึงพอใจของเกษตรกรต่องานบริการของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดกาญจนบุรี (หม่อนไหม) ตามโครงการพระราชดำริ ปี 2546 ความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงโคของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี: กรณีศึกษาในท้องที่อำเภอพัฒนานิคมโคกสำโรง และชัยบาดาล ความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี:กรณีศึกษาในท้องที่อำเภอพัฒนานิคม โคกสำโรง และชัยบาดาล สื่อส่งเสริมการเกษตรที่เกษตรกรในจังหวัดสมุทรสาครสนใจและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้เพื่อพัฒนาอาชีพการเกษตร การใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงแพะของเกษตรกร ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีงบประมาณ 2548 การใช้ที่ดินของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี การศึกษาความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรหมู่บ้านบริวารศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความต้องการรูปแบบในการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมันสำปะหลังของเกษตรกร ในอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี โครงการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจากการเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน : กรณีศึกษาเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน : รายงานฉบับสมบูรณ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก