สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการความรู้ด้านการเกษตรของครูสอนงานเกษตร ระดับประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สมพงษ์ เอี่ยมวิริยาวัฒน์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความต้องการความรู้ด้านการเกษตรของครูสอนงานเกษตร ระดับประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Needs for Agricultural Knowledge of Primary School Teachers in Northeast Thailand.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมพงษ์ เอี่ยมวิริยาวัฒน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของครู ศึกษาลักษณะการเรียนการสอนงานเกษตรในปัจจุบัน และหาความต้องการความรู้ด้านการเกษตรของครูผู้สอนงานเกษตร ระดับโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยส่งแบบสอบถามไปยังโรงเรียนที่ถูกสุ่มตัวอย่าง 8 จังหวัด จำนวน 320 โรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น หนองคาย นครราชสีมา บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด เลย และจังหวัดศรีสะเกษ ได้รับแบบสอบถามคืนมา จำนวน 245 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 76.5 ของแบบสอบถามทั้งหมด แต่มีแบบสอบถามที่มีข้อมูลสมบูรณ์และสามารถนำไปวิเคราะห์ได้เพียง 225 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 70.3 โดยใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูล จากการวิจัยพบว่า ครูผู้สอนวิชางานเกษตรร้อยละ 86.3 เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 31.35 ปี ครูร้อยละ 60.4 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีครูเพียงร้อยละ 24.4 ที่จบสาขาวิชาเอกด้านการเกษตร และร้อยละ 6.7 ที่จบสาขาวิชาโทด้านการเกษตร นอกเหนือจากนี้จะจบสาขาวิชาอื่นแต่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่สอนงานเกษตร ครูร้อยละ 59.6 มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในอำเภอและจังหวัดเดียวกับโรงเรียนที่ทำการสอน ร้อยละ 60.0 ได้รับมอบหมายให้สอนงานเกษตรมาแล้วไม่เกิน 5 ปี แหล่งความรู้ที่ครูนำมาประกอบการสอนที่สำคัญ ได้แก่ การใช้ประสบการณ์ของตนเอง รองลงมาใช้เอกสารเผยแพร่ จากความรู้เดิมในระดับการศึกษาต่าง ๆ ที่เคยเรียนมาและจากวิทยุ โทรทัศน์ ครูส่วนมากจึงเห็นว่า ความสามารถการสอนงานเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง เนื้อหางานเกษตรที่กำหนดไว้ในหลักสูตรปี พ.ศ.2521 ครูร้อยละ 73.3 ตอบว่ายังไม่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น นอกจากนี้เนื้อหาบางเรื่องยังไม่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนอีกด้วย โรงเรียนร้อยละ 44.9 จะมีนักเรียนระหว่าง 51-200 คน อัตราส่วนระหว่างครูชายกับครูหญิงไม่แตกต่างกันมากนัก โรงเรียนร้อยละ 41.8 มีพื้นที่สำหรับทำแปลงเกษตรมากกว่า 20 งาน แต่ส่วนใหญ่จะอยู่นอกเขตชลประทานลักษณะดินจะเป็นดินร่วนปนทราย โรงเรียนส่วนใหญ่มีแหล่งน้ำที่ใช้การเกษตรอยู่ภายในโรงเรียน แต่ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ตลบอดปี ครูจึงเลือกสอนการปลูกพืชผักมากที่สุดถึงร้อยละ 93.8 และจะเลี้ยงปลามากกว่าการเลี้ยงไก่ ความต้องการความรู้ด้านการเกษตรของครูผู้สอนงานเกษตร พบว่า หัวข้อที่ครูทั้งหมดต้องการที่จะได้รับการฝึกอบรมมาก 15 อันดับแรกจาก 43 หัวข้อ คือ การเลี้ยงไก่ การปลูกมะม่วง การขยายพันธุ์พืช การเลี้ยงปลา การเพาะเห็ดฟาง การเลี้ยงโคเนื้อ การปลูกถั่วเหลือง การปลูกมะละกอ การปลูกข้าวโพดฝักอ่อน การเลี้ยงสุกร การทำไร่นานวนผสม การปลูกหอมกระเทียม การปลูกข้าวโพดหวาน การปลูกพริก มะเขือ และการปลูกถั่วเขียว วิธีการฝึกอบรมนั้น ครูต้องการให้มีการฝึกภาคปฏิบติมากกว่าภาคทฤษฎี โดยมีอัตราส่วนระหว่าง 80 20 ของการฝึกอบรมแต่ละครั้ง ร้อยละ 35.0 ต้องการให้อบรมคร้งละ 7 วันขึ้นไป และควรจะทำการฝึกอบรมระหว่างการปิดภาคเรียน ข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งนี้ ควรบรรจุครูที่มีวุฒิทางการเกษตรทำหน้าที่สอนงานเกษตรโดยตรง หรือสนับสนุนให้บุคลากรศึกษาต่อในสาขาวิชาเอกเกษตรมากขึ้น ควรปรับปรุงเนื้อหาของวิชางานเกษตร ตลอดจนวิธีการสอนให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ครูเกษตรจะต้องสร้างศรัทธาให้ผู้ปกครองยอมรับ เช่น การทำแปลงสาธิตให้มีประสิทธิภาพผลผลิตควรแบ่งให้นักเรียนนำกลับไปรับประทานที่บ้าน และใช้สนับสนุนโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนด้วย ผู้บริหารโรงเรียนควรสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมด้านการเกษตรในโรงเรียนให้มากขึ้น และประการสุดท้ายควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับทัศนคติของผู้ปกครองที่มีต่อครูและกิจกรรมด้านการเกษตรในโรงเรียน เพื่อที่จะให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรให้กับชุมชน และทำหน้าที่สอนงานเกษตรให้กับนักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2530
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2531
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการความรู้ด้านการเกษตรของครูสอนงานเกษตร ระดับประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2531
ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความรู้และความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ที่ทำงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ความต้องการความรู้เพื่อการเขียนเอกสารเผยแพร่การเกษตรของอาจารย์วิทยาลัยเกษตรกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความรู้และความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริม กรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ทำงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาการเกษตรของครูเกษตรในโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท (มพช.2) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดำเนินงานกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บทบาทของสตรีเกษตรทำนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อการพัฒนาการเกษตรและครอบครัวเกษตรกร ระบบการผลิตการเกษตรในเขตชลประทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความต้องการและปัญหาในการใช้สื่อเพื่อส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในเขตภาคตะวันออก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก