สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาคุณสมบัติของถ่านขาวและน้ำส้มควันไม้ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
นฤภัทร ตั้งมั่นคงวรกูล, พัชรี ปรีดาสุริยะชัย, ทศพล เฉตรไธสง, ขวัญคนิฐ แซ่อึ้ง - มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ชื่อเรื่อง: การศึกษาคุณสมบัติของถ่านขาวและน้ำส้มควันไม้ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ชื่อเรื่อง (EN): The properties of white charcoal and wood vinegar derived from agricultural waste
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่เหลือใช้มาผลิตเป็นถ่านขาวและถ่านเชื้อเพลิงคุณภาพสูงนั้นขึ้นกับเครื่องมือและขั้นตอนที่จะผลิต ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเป้าหมายในการออกแบบเตาผลิตถ่านขาวและถ่านเชื้อเพลิงจากชีวมวล โดยนำถังเหล็กขนาดใหญ่ข้างในติดตั้งฉนวนความร้อนที่เป็นซีเมนต์ทนไฟเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทนความร้อนมากกว่า 1000 องศาเซลเซียสซึ่งทำหน้าที่เป็นห้องเผาไหม้ ซึ่งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อเล็กมีผลต่อประสิทธิภาพในการเผาไหม้ถ้ามีขนาดเล็กเกินไปจะทำให้ไม่ได้ถ่านทั่วถังขนาดใหญ่ แต่ถ้าท่อมีขนาดใหญ่เกินไปจะทำให้เปลืองเนื้อที่ส่งผลให้ได้ถ่านจำนวนลดลงต่อรอบการเผาโดยอัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับเส้นผ่านศูนย์กลางของถังขนาดใหญ่และท่อเล็กเท่ากับ 4ต่อ 1 ซึ่งท่อเล็กนี้ทำหน้าที่ดึงอากาศเข้าไปในถังเหล็กขนาดใหญ่เพื่อช่วยเพื่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ของชีวมวลภายในถัง โดยทำการทดสอบการเผาถ่านจากไม้ไผ่ และซังข้าวโพด หลังจากนั้นนำถ่านที่ได้ไปวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของถ่านขาวและถ่านเชื้อเพลิงพบว่าจากข้อมูลที่วิเคราะห์เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานถ่านขาวและถ่านเชื้อเพลิง พบว่าถ่านที่ผลิตจากไม้ไผ่และซังข้าวโพด ร้อยละคาร์บอนคงตัวเท่ากับ 88.29 และ 82.1 ตามลำดับ ส่วนค่าร้อยละความชื้นของถ่านไม้ไผ่ 2.41 และ 7.18 สำหรับซังข้าวโพด สำหรับร้อยละเถ้าของถ่านไม้ไผ่และซังข้าวโพดเท่ากับ 5.91 และ 5.76 และตามด้วยค่าร้อยละสารระเหยเท่ากับ 2.39 และ 4.98 ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): This study aimed to design a kiln used to convert agricultural wastes into high-quality white charcoal and black charcoal. To achieve that goal, heat-resistant, cement insulators were installed in a large steel tank to increase its heat resistance to over 1000 ?C, used as a combustion chamber. A small steel tank was then put inside the large tank. Combustion efficiency relied on the size of the small tank in that if it was too small, the charcoals produced would not be distributed throughout the large tank but if it was too large, it would be a waste of space, reducing the amounts of charcoals per firing cycle. The study found that the optimal diameter ratio between the large tank and the small tank was 4 to 1. The small tank was used to pull air from the outside into the large tank in order to increase the combusition efficiency of agricultural wastes inside the large tank. Bamboo and corn on the cob were selected to make charcoals. The physical properties and chemical properties of white charcoal and black charcoal produced from those wastes were in the acceptable ranges of all standards. The charcoals made from bamboo and corn on the cob had the fixed carbons of 88.29% and 82.1%, the moisture contents of 2.41% and 7.18%, the ash contents of 5.91% and 5.76%, and the volatile matters of 2.39% and 4.98%, respectively
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาคุณสมบัติของถ่านขาวและน้ำส้มควันไม้ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
30 กันยายน 2560
การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อการผลิตเห็ด การศึกษาความเหมาะสมของการแปรรูปวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง การพัฒนาถ่านอัดแท่งจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ แบบหล่อคอนกรีตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในการเลี้ยงโค-กระบือ ผลของการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการตอบสนองของผลผลิตข้าว และการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน การประยุกต์ใช้เซลลูโลไลติกเอนไซม์จากราและยีสต์เพื่อใช้ในการผลิตเอทานอลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร สมบัติเคมี-กายภาพ และการดูดซับธาตุอาหารพืชของถ่านชีวภาพที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรชนิดต่างๆ การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอุ้มน้ำในพื้นที่ดินทรายจัด ศักยภาพด้านพลังงานของแท่งเชื้อเพลิงชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก