สืบค้นงานวิจัย
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเห็ดป่าเอคโตไมคอร์ไรซาและการระบุชนิดโดยการใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ดดิ้ง (ปีที่ 2)
ณัฎฐิกา สุวรรณาศรัย, เชิดชัย โพธิ์ศรี, รุ้งเพชร แข็งแรง, ณัชชา พรหมเพศ, ณัฎฐิกา สุวรรณาศรัย, เชิดชัย โพธิ์ศรี, รุ้งเพชร แข็งแรง, ณัชชา พรหมเพศ - มหาวิทยาลัยนครพนม
ชื่อเรื่อง: ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเห็ดป่าเอคโตไมคอร์ไรซาและการระบุชนิดโดยการใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ดดิ้ง (ปีที่ 2)
ชื่อเรื่อง (EN): Antioxidant properties of edible ectomycorrhizal mushrooms and species identification using DNA barcoding
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: เห็ดป่าเอคโตไมคอร์ไรซา มีความสำคัญทางระบบนิเวศและต่อเศรษฐกิจ คุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งที่กำลังเป็นที่สนใจและให้ความสำคัญของเห็ดป่าเอคโตไมคอร์ไรซา คือ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ แต่ด้วยเห็ดป่าเอคโตไมคอร์ไรซามีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่หลากหลาย และข้อมูลเชิงวิวัฒนาการที่จำกัด โดยเฉพาะข้อมูลจากประเทศเขตร้อนที่มีความหลากหลายของเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซาอยู่สูง ยังคงมีรายงานอยู่ค่อนข้างน้อย การศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ Internal Transcribed Spacer rDNA ของเห็ด โบลีทส์ จำนวน 48 ตัวอย่าง พบว่า เมื่อนำลำดับนิวคลีโอไทด์ที่ได้ไปเทียบเคียงความคล้ายคลึงในฐานข้อมูล GenBank ด้วยโปรแกรม BLAST มีเห็ดโบลีทส์จำนวน 8 ตัวอย่างที่มีค่าร้อยละความเหมือนเท่ากับ 97-99 ที่สามารถระบุชนิดในระดับสปีชีส์ได้ ได้แก่ Boletus erythropus, Tylopilus vinosobrunneus และ Boletellus aerolantus และเห็ดโบลีทส์อีกจำนวน 40 ตัวอย่าง ที่มีค่าร้อยละความคล้ายคลึง เท่ากับ 84-99 แต่ไม่สามารถระบุชนิดในระดับสปีชีส์ได้ ได้แก่ Boletus sp., Boletaceae sp., Boletales sp., Pulveroboletus sp., Tylopilus sp., Truncocolumella sp., Xerocomus sp., Truncocolumella sp., Neoboletus sp. และ Notholepiota sp. ผลการศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของเห็ด โบลีทส์ จำนวน 37 ตัวอย่าง ร่วมกับชนิดที่มีอยู่ในฐานข้อมูล GenBank โดยใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์ของตัวอย่างที่มีความยาว 500 คู่เบส ขึ้นไป เพื่อความถูกต้องในการจัดเรียงแนวความสัมพันธ์และการสร้างแผนภูมิวิวัฒนาการต้นไม้ แสดงให้เห็นว่าเห็ดโบลีทส์แต่ละชนิดแยกกิ่งความสัมพันธ์ออกจากกันอย่างชัดเจน ด้วยค่า Bootstap ที่สูง รวมทั้งชนิดที่ยังไม่สามารถระบุสปีชีส์ได้ จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเห็ดโบลีทส์จากประเทศไทยแตกต่างจากชนิดที่มีในฐานข้อมูลนานาชาติ รวมทั้งยังไม่มีฐานข้อมูลของเห็ดชนิดนี้จากประเทศไทยอีกด้วย ผลการศึกษาในปีที่ 1 ศึกษาคุณสมบัติสารต้านอนุมูลอิสระจากเห็ดป่าเอคโตไมคอร์ไรซาชนิดกินได้ ที่เก็บรวบรวมจากแหล่งต่างๆ ในประเทศไทย พบว่า ตัวอย่างเห็ดผึ้งโบลีทส์แต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด เห็ดผึ้งโบลีทส์แต่ละชนิดมีสารประกอบฟีนอลิกเป็นองค์ประกอบสำคัญ จากผลการวิเคราะห์ด้วยวิธี Thin Layer Chromatography และ High Perforamance Liquid Chromatgraphy พบว่า เห็ดเอคโตไมคอร์ไรซาในกลุ่มโบลีทส์ที่ศึกษาทุกชนิดมีสารประกอบฟีนอลิกเป็นองค์ประกอบสำคัญ และมีความหลากหลายของสารที่เป็นองค์ประกอบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด เห็ดป่าเอคโตไมคอร์ไรซาในกลุ่มเห็ดผึ้งโบลีทส์ จึงเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่ดีอีกแหล่ง อาจช่วยในการเสริมสร้างสุขภาพและช่วยลดภาวะเสี่ยงใน การเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากอนุมูล อิสระ หรือภาวะเครียดออกซิเดชันในมนุษย์เราได้ นอกจากนี้มีความเป็นไปได้สูงที่จะนำเห็ดป่าเอคโตไมคอร์ไรซามาประยุกต์ใช้ในด้านอาหาร โภชนาการ เภสัชกรรม และทางการแพทย์ ต่อไป คำสำคัญ: เห็ดผึ้งโบลีทส์ ดีเอนเอบาร์โค้ด ความหลากหลาย เห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา สารต้านอนุมูลอิสระ
บทคัดย่อ (EN): Ectomycorrhizal mushrooms are ecologically and economically very important. Considering of their interest for the natural sources of antioxidants, ECM mushrooms have become attractive for research activities. However, their limited phylogenetic data and antioxidant reports of ectomycorrhizal mushrooms from the tropical remain scant. The aim of this study was to investigate their phylogenetic relationship and the phenolic profiles of wild edible boletes mushrooms collected from several regions of Thailand. In this present study their DNA sequences of Internal Transcribed Spacer rDNA (ITS) was obtained and the phenolic compounds present in the mature fruiting bodies of selected boletes samples were analysed using Thin Layer Chromatography (TLC) and Hight Performance Liquid Chromatography (HPLC). Phylogenetic analyses exhibited Thai’s boletes can be separated into 4 major clades of which 8 samples yielded high similary percentage to GenBank database at 97-99% similarity cut-off. Interestingly, many nucleotide sequences of ITS exhibited low % similarity varying from 84 to 96 % against sequences from GenBank and Unite databases. The morphological characters of these mushrooms are unique and specimens correspond to unidentified species. The results also showed that selected Thai boletes samples had different phenolic content, depending on the species. Several of the wild edible boletes mushroom extracts investigated in this study have antioxidant activities that warrant further study as potential dietary supplements to improve health and well-being. Key words: Boletes, DNA barcodes, Diversity, Ectomycorrhizal mushrooms, antioxidant
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนครพนม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเห็ดป่าเอคโตไมคอร์ไรซาและการระบุชนิดโดยการใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ดดิ้ง (ปีที่ 2)
มหาวิทยาลัยนครพนม
30 กันยายน 2560
การรวบรวมสายพันธุ์เห็ดป่าและศึกษาคุณสมบัติ prebiotic และสารต้านอนุมูลอิสระในเห็ดป่าของป่าสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา การตรวจหาสารต้านอนุมูลอิสระในเห็ดป่ารับประทานได้ทั้งแบบเห็ดสดและเห็ดสุกในจังหวัดน่าน 2559A17002025 การตรวจหาสารต้านอนุมูลอิสระในเห็ดป่ารับประทานได้ทั้งแบบเห็ดสดและเห็ดสุกในจังหวัดน่าน สารยับยั้งจุลินทรีย์และสารต้านอนุมูลอิสระของรา Xylaria และการจำแนกชนิดโดยการใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ด ผลของน้ำมะพร้าวและการต้มต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารกลุ่มฟีนอลิคในเห็ดแครง ผลของธาตุอาหาร การขาดน้ำ และไมคอร์ไรซา ต่อปริมาณผลผลิตและสารต้านอนุมูลอิสระในการผลิตผักเชียงดา(Gymnema inodorum Decne) การใช้กรด 5-อะมิโนลีวูลีนิก แอสต้าแซนทีน และแคลเซียมคลอไรด์เพื่อเพิ่มผลผลิตและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเห็ดแครง (Schizophyllum commune) 2554A17003028 ผลของธาตุอาหาร การขาดน้ำ และไมคอร์ไรซา ต่อปริมาณผลผลิตและสารต้านอนุมูลอิสระในการผลิตผักเชียงดา(Gymnema inodorum Decne) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบปลาเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและสารต้านอนุมูลอิสระ (ปีที่ 2) การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีโนลิก ในผักบางชนิดจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก