สืบค้นงานวิจัย
ผลของความเข้มแสงและอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตและปริมาณลิปิดของสาหร่าย Ankistrodesmus densus TISTR 8505 ที่เพาะเลี้ยงในเครื่องปฏิกรณ์แบบ helical (Biostat PBR 2S)
ปัญญา ไตรรัตนา - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชื่อเรื่อง: ผลของความเข้มแสงและอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตและปริมาณลิปิดของสาหร่าย Ankistrodesmus densus TISTR 8505 ที่เพาะเลี้ยงในเครื่องปฏิกรณ์แบบ helical (Biostat PBR 2S)
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of light intensity and temperature on growth and lipid production of Ankistrodesmus densus TISTR 8505 grown in a helical photobioreactor
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปัญญา ไตรรัตนา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): panya triratana
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ: N/A
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สาหร่ายขนาดเล็กเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีศักยภาพ ใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิต ไบโอดีเซล เพื่อเป็นพลังงานทดแทน เป้าหมายเพื่อให้ได้ผลผลิตชีวมวลและลิปิดสูงสุดจำเป็นต้องใช้สภาวะเพาะเลี้ยงที่เหมาะสม งานวิจัยนี้ศึกษาผลของอุณหภูมิและความเข้มแสงที่มีต่อการเจริญเติบโตและปริมาณลิปิด ของ Ankistrodesmus densus บื้องต้นเพาะเลี้ยงสาหร่ายในขวดทดลองขนาด 1,000 mL เพาะเลี้ยงด้วยปริมาตร 700 mL ที่ อุณหภูมิ 30, 32 และ 36oC และให้แสงที่ความเข้มแสง 80, 100, 200 และ 300 ?mol photons m-2 s-1 และพ่นอากาศที่ 1 L min-1 เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 7 วัน พบว่า ความเข้มแสงมีผลต่อผลผลิตลิปิดมากกว่าอุณหภูมิ โดยสภาวะที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสาหร่าย A. densus คือ 32oC และความเข้มแสง 100 ?mol photons m-2 s-1 โดยให้ผลผลิตชีวมวลแห้งเฉลี่ย 0.539?0.047 g L-1 และปริมาณลิปิด 0.140?0.003 g L-1 จากนั้นคัดเลือกความเข้มแสงที่ 100 ?mol photons m-2 s-1 ไปใช้เพาะเลี้ยงเซลล์ในถังปฏิกรณ์แบบ Helical เพื่อหาอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยป้อนอากาศผสม 5% CO2 ที่อัตรา 0.15 L min-1 พบว่า ที่ 32oC โดยให้ชีวมวลแห้งมากที่สุด 1.87?0.32 g L-1 ปริมาณ ลิปิด 27.36?0.09%DW โดยคิดเป็นผลผลิตชีวมวลเฉลี่ย 0.27?0.05 g L-1 d-1 และผลผลิตลิปิดเฉลี่ย 0.512?0.07 g L-1 d-1 งานวิจัยนี้ยังได้สร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์ จาก Response surface method ซึ่งเป็นวิธีทางสถิติ เพื่อใช้ทำนายผลผลิตชีวมวล ของ A. densus โดยใช้ข้อมูลการเจริญเติบโตของ A. densus ที่ทดลองในขวดปริมาตร 1,000 mL เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของอุณหภูมิและความเข้มแสง ด้วย Respond surface method (RSM) พบว่า ช่วงอุณหภูมิและความเข้มแสงที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยง A. densus มากที่สุด คือ 30.0oC-34.5 oC และ 100-125 ?mol photons m-2 s-1 ตามลำดับ ซึ่งจะให้ผลิตผลิตชีวมวลเฉลี่ยมากกว่า 0.076 g L-1 d-1 และการทำนายผลผลิตชีวมวลด้วยแบบจำลอง พบว่าการเพาะเลี้ยงสาหร่ายที่ 120 ?mol photons m-2 s-1 และ 30.9 oC เป็นสภาวะที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยชีวมวลของสาหร่ายมากที่สุด คือ 0.081 g L-1 d-1
บทคัดย่อ (EN): Microalgae are one of the alternative sources for renewable energy, especially, biodiesel. To achieve the maximal biomass and lipid productivities, the optimal growth condition must be carried out. In outdoor cultivations, cells encounter fluctuation of temperature and light intensity which significantly affect growth and biochemical compounds. This work aimed to study the effects of temperature and light intensity on growth and lipid amount of Ankistrodesmus sp. Firstly, cells were grown for 7 days in 1L -Erlenmeyer flasks containing 700 mL of BG-11 medium with various temperatures (28, 32 and 36oC) and light intensities (80, 100, 200 and 300 ?mol photons m-2 s-1), and the experiments were conducted in full factorial design. The results showed that light intensity, rather than temperature had influence on lipid amount. The optimal growth condition, 32oC and 100 ?mol photons m-2 s-1, brought about the maximal biomass concentration 0.539 g L-1 and lipid amount 0.140 g L-1. Secondly, the optimal growth temperature (28, 32 and 36oC) of cells cultivated in the photobioreactor, helical type was investigated under 100 ?mol photons m-2 s-1 and aerating with 5%CO2. The results confirmed that 32 oC was the optimal one to give the maximal biomass concentration (1.87?0.32 g L-1) and lipid content (27.36?0.09%DW). Moreover, the average biomass and lipid productivities throughout 7 days were 0.27?0.05 g L-1 d-1 and 0.07?0.01 g L-1 d-1, respectively. Furthermore, the optimal light intensity, 300 ?mol photons m-2 s-1 resulted in the highest biomass concentration at 3.62?0.23 g L-1 and lipid content at 30.99?0.14% DW. Consequently, the average biomass and lipid productivities were 0.52?0.03 g L-1 d-1 and 0.16?0.01 g L-1 d-1, respectively. The statistical model for biomass prediction was developed by collecting the growth obtained from 700 mL Erenmeyer flask cultures. The correlation of temperature and light intensity on growth of cells were evaluated by Respond surface method. The model indicated that temperature 30.0oC-34.5 oC and the light intensity at 100-125 ?mol photons m-2 s-1 resulted in the average biomass productivity at 0.076 g L-1 d-1. Nonetheless, the model predicted that the average biomass productivity, 0.081 g L-1 day-1 was achieved at 120 ?mol photons m-2 s-1 and 30.9oC. We found that the obtained statistical model could be used to predict the biomass productivity.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 506,700.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2555
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของความเข้มแสงและอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตและปริมาณลิปิดของสาหร่าย Ankistrodesmus densus TISTR 8505 ที่เพาะเลี้ยงในเครื่องปฏิกรณ์แบบ helical (Biostat PBR 2S)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
30 กันยายน 2555
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย วว TISTR - Food Preservation EP 4: Chinese Kale and Golden Needle Mushroom ความร่วมมือในเรื่อง Asian Network on Microbial Research [ANMR] : การจัดจำแนกและความหลากหลายในชนิดพันธุ์ของสาหร่าย 2558A17003010 ผลของแสงและอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของว่านแสงอาทิตย์ การจำลองสถานการณ์การเจริญเติบโตของสาหร่าย Ankistrodesmus sp-KMUTT2101 ภายในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพแสงแบบ helical ผลของความเข้มแสง อุณหภูมิ ปริมาณไนโตรเจนและฟอสเฟตที่มีต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายผักกาดทะเล (Ulva rigida C. Agardh, 1826) ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา ผลของความเข้มแสงต่อการเจริญเติบโต และการสะสมการแอนโทไซยานินในใบข้าวเหนียวดำ ผลของอุณหภูมิกลางคืนต่อการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์โบไฮเดรตในว่านแสงอาทิตย์ การเจริญเติบโตและการสังเคาะห์แสงของใบส้มโอพันธุ์ขาวทองดี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก