สืบค้นงานวิจัย
รูปแบบทำการเกษตรผสมผสานกิจกรรมพืชและสัตว์
อรุณี ปิ่นประยงค์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: รูปแบบทำการเกษตรผสมผสานกิจกรรมพืชและสัตว์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อรุณี ปิ่นประยงค์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบทำการเกษตรผสมผสานกิจกรรมพืชและสัตว์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เปรียบเทียบผลตอบแทนการใช้ที่ดินและการลงทุนของรูปแบบทำการเกษตรผสมผสาน และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของรูปแบบทำการเกษตรผสมผสานที่เหมาะสม วิธีการศึกษาได้ดำเนินการศึกษาโดยการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสานของกรมส่งเสริมการเกษตร ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2535 -2538 ทั้ง 6 ภาค 45 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 400 ราย โดยสุ่มเลือกจังหวัดและเกษตรกรเป้าหมายในจังหวัด อำเภอ และตำบลที่ทำโครงการจำนวนมากในแต่ละปี สำรวจเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ เปรียบเทียบค่า Benefit Cost Ratio(B/C) ของแต่ละรูปแบบที่เหมาะสมในการขยายผลส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสาน สรุปการศึกษาข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรและข้อมูลพื้นฐานของฟาร์มแบบผสมผสานเกษตรกรส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 40 ปี - 60 ปี มีการศึกษาระดับ ป.1- ป.4 จำนวนสมาชิกในครอบครัว 5 - 6 คน จำนวนสมาชิกที่สามารถทำงานฟาร์มจำนวน 2 - 4 คน มากที่สุดถึงร้อยละ 74 และร้อยละ 59 จะไม่ทำงานนอกฟาร์มเมื่อเกษตรกรทำการเกษตรผสมผสานในฟาร์ม สำหรับการถือครองที่ดินร้อยละ 88.25 มีที่ดินเป็นของตนเอง เนื่องจากการทำเกษตรผสมผสานต้องมีการปรับปรุงพื้นที่สภาพพื้นที่ร้อยละ 91.5 เป็นพื้นที่ลุ่ม จำเป็นต้องยกร่องและชุดสระน้ำสำหรับเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และร้อยละ 88.25 อยู่ในเขตอาศัยน้ำฝนจึงจำเป็นต้องขุดสระน้ำเพื่อการเกษตรถึงร้อยละ 71.5 เมื่อพิจารณาการใช้พื้นที่การเกษตรซึ่งได้แบ่งขนาดฟาร์มที่ทำการเกษตรแบบผสมผสาน 5 ขนาด คือ ขนาดฟาร์ม 1 - 5 ไร่, 6 - 10 ไร่, 11 - 15 ไร่, 16 - 20 ไร่ และ 21 ไร่ขึ้นไป มีขนาดฟาร์ม 6 - 10 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 21.25 ขนาดฟาร์ม 11 - 15 ไร่ ร้อยละ 25.25 ที่ทำการเกษตรผสมผสานและจำนวนกิจกรรมการเกษตรที่ทำมากมีจำนวนกิจกรรมระหว่าง 4-7 กิจกรรม จำนวนกิจกรรมที่ทำมากที่สุดคือ 4 - 5 กิจกรรมมีจำนวน 165 ราย รองลงมาคือจำนวน 6 - 7 กิจกรรม มีจำนวน 117 ราย สำหรับรูปแบบทำการเกษตรผสมผสานก่อนเข้าร่วมโครงการร้อยละ 30 ทำกิจกรรมข้านาปี-ข้านาปรัง ข้าวนาปีอย่างเดียวร้อยละ 20 ข้าวนาปี-พืชผัก ร้อยละ 17.5 และจำนวนกิจกรรมการเกษตรก่อนเข้าร่วมโครงการมีจำนวน 2 กิจกรรมร้อยละ 73 สำหรับรูปแบบทำการเกษตรผสมผสานหลังเข้าร่วมโครงการจากการประมวลผลเป็นการผสมผสานกิจกรรมระหว่างพืชและสัตว์ถึงร้อยละ 94.75 มีกิจกรรมการเกษตรในฟาร์มตั้งแต่ 3 - 10 กิจกรรมขึ้นไป รูปแบบการเกษตรผสมผสานที่ทำมากที่สุดคือ ข้าวนาปี-ข้าวนาปรัง-พืชผัก-พืชสวน-พืชไร่-เลี้ยงสัตว์-เลี้ยงปลา จำนวน 67 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.75 รองลงมาคือ ข้าวนาปี-ข้าวนาปรัง/พืชผัก-พืชสวน-พืชไร่-ไม้ยืนต้น-เลี้ยงสัตว์-เลี้ยงปลา จำนวน 65 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.25 จะเห็นได้ว่า กิจกรรมการปลูกข้าวเป็นกิจกรรมเพื่อการบริโภคหรือจำหน่าย กิจกรรมพืชผักจะทำรายได้อย่างสม่ำเสมอในช่วง 1- 3 ปีแรก เนื่องจากกิจกรรมไม้ผลไม้ยืนต้นยังไม่ได้รับผลผลิตและรายได้ และผลจากการวิเคราะห์จะเห็นได้ว่า การผสมผสานกิจกรรมระหว่างพืชและสัตว์จะเป็นการผสมผสานกิจกรรมการเกษตรที่ดี เนื่องจากมีการเกื้อกูลผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน เช่นการใช้มูลสัตว์ทำปุ๋ยสำหรับพืช เป็นการลดต้นทุนและใช้ประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับชนิดและรูปแบบทำการเกษตรผสมผสานที่เกษตรกรในโครงการทำมากที่สุดคือ ข้าวนาปี-มะม่วง-กล้วย(น้ำว้า)-มะละกอ-พืชผักต่าง ๆ-สุกร-ไก่พื้นเมือง-เป็ดเทศ ชนิดและรูปแบบทำการเกษตรผสมผสานประมวลผลได้ 77 รูปแบบ ซึ่งค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนกิจกรรมการเกษตรในแต่ละรูปแบบทำการเกษตรผสมผสานก่อนเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปี 60,000-197-701 บาท/ครัวเรือน/ปี หลังเข้าร่วมโครงการมีรายได้เฉลี่ย 80,861 - 251,393 บาท/ครัวเรือน/ปี ขึ้นกับขนาดของฟาร์มที่ศึกษา ในขณะที่ทำการศึกษาหลังเข้าร่วมโครงการมีรายได้น้อยเนื่องจากบางกิจกรรมโดยเฉพาะกิจกรรมไม้ผลยังไม่ให้ผลผลิต คาดว่าในปี 4 - 7 ขึ้นไปเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้น รูปแบบทำการเกษตรผสมผสาน จากผลการศึกษามีหลายรูปแบบที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุนและมีการผสมผสานเกื้อกูลกิจกรรมการเกษตรในฟาร์มอย่างเหมาะสม สมควรนำไปขยายผลได้ 12 รูปแบบ ซึ่งมีอัตราส่วนรายได้ต่อรายจ่ายตั้งแต่ 1.3 - 6.52 ในเรื่องแหล่งเงินทุนและสินเชื่อเพื่อการเกษตร เกษตรกรผู้เข้าร่วมโตรงการนอกจากได้รับการสนับสนุนวิชาการและปัจจัยการผลิตบางส่วนจากกรมส่งเสริมการเกษตร เกษตรกรยังต้องกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ต่าง ๆ จำนวน 300 ราย คิดเป็นร้อยละ 75 โดยกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรร้อยละ 47.5 และเกษตรกรบางราย ร้อยละ 17.5 มีแหล่งเงินทุนของตนเองและกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรด้วย สำหรับเครื่องมืออุปกรณ์การเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตรที่เป็นของเกษตรกร เกษตรกรมากกว่าร้อยละ 70 มีรถไถเดินตามเพื่อใช้ประโยชน์ในการเตรียมดิน การขนส่งและการใช้งานต่าง ๆ ในฟาร์ม เมื่อศึกษารายจ่ายที่เป็นเงินสดของครัวเรือนเกษตรกรที่เกี่ยวกับการอุปโภคและบริโภค เกษตรกรร้อยละ 38.25 ใช้จ่ายในครัวเรือนประมาณ 3,100 - 4,500 บาท/เดือน เกษตรกรร้อยละ 36.5 ใช้จ่ายในครัวเรือนประมาณ 4,600 - 6,000 บาท/เดือน เฉลี่ยวันละ 100-200 บาท ดังนั้นเกษตรกรควรมีรายได้จากภาคการเกษตรมากกว่า 6,000 บาทต่อเดือนจึงจะเพียงพอ สำหรับเหตุผลและแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสานเกษตรกรร้อยละ 47.5 เข้าร่วมโครงการฯ เพราะเดิมทำนาแต่ประสบภัยธรรมชาติและได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และเกษตรกรร้อยละ 40 เข้าร่วมโครงการเพราะต้องการทำกิจกรรมหลายชนิด ทำให้มีรายได้อย่างสม่ำเสมอ การเลือกรูปแบบทำการเกษตรผสมผสาน โดยเฉพาะรูปแบบการผสมผสานกิจกรรมการเกษตรที่มีทั้งกิจกรรมพืชและสัตว์ จะมีผสมผสานกิจกรรมการเกษตรในฟาร์มได้อย่างดีเนื่องจากมีการเกื้อกูลกิจกรรมอย่างเด่นชัด สามารถลดต้นทุนการผลิตและสามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้ในฟาร์มมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การนำมูลสัตว์ไปเป็นปุ๋ยสำหรับพืช การนำเศษฟางข้าว เศษผัก เศษใบไม้มาทำปุ๋ยหมักผสมกับมูลสัตว์เป็นการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งการพิจารณารูปแบบทำการเกษตรผสมผสานรูปแบบใดไม่จำเป็นต้องเลือกรูปแบบที่ให้ผลตอบแทนรายได้ต่อรายจ่ายสูงสุดเสมอไป ควรพิจารณานำไปปรับใช้อย่างรอบครอบให้เหมาะสมกับสภาพกายภาพ เศรษฐกิจ ชีวภาพ สังคมในแต่ละชุมชน เพื่อให้ปฏิบัติได้อย่างแท้จริงในแต่ละพื้นที่ รูปแบบทำการเกกกษตรผสมผสานเป็นเพียงรูปแบบแนวทางหรือตัวอย่างในการวางแผนและงบประมาณฟาร์ม ซึ่งการนำไปใช้ประโยชน์ไม่จำเป็นต้องนำไปใช้ทั้งรูปแบบ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเพิมหรือลดกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งก็ได้ หรืออาจนำไปพัฒนาทั้งรูปแบบถ้าสภาพพื้นที่เหมาะสมกับรูปแบบนั้น สำหรับข้อมูลต้นทุนการผลิต รายได้และกำไร เป็นตัวเลขโดยเฉลี่ยซึ่งไม่ใช่ข้อมูลที่แท้จริงของท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง ดังนั้น การวางแผ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2535
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2538
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
รูปแบบทำการเกษตรผสมผสานกิจกรรมพืชและสัตว์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2538
การรวบรวมและจัดทำข้อมูลด้านคุณค่าทางโภชนะของพืชอาหารสัตว์ การศึกษาพืชอาหารสัตว์ในประเทศไทย การศึกษาหญ้าแฝกเป็นพืชอาหารสัตว์ ถึงฤดูปลูกพืชอาหารสัตว์ ศึกษาผลพลอยได้จากพืชแซมเพื่อการเลี้ยงสัตว์ การทดสอบพันธุ์พืชอาหารสัตว์ มาตรฐานพืชอาหารสัตว์หมักของกองอาหารสัตว์ การทดสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ที่ผลิตจากสถานีพืชอาหารสัตว์ต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอะไรใหม่ในวงการพืชอาหารสัตว์ไทย การศึกษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก