สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงมะเขือเทศผลเล็กรับประทานสดในฤดูฝน
เบลเยี่ยม เจริญพานิช - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงมะเขือเทศผลเล็กรับประทานสดในฤดูฝน
ชื่อเรื่อง (EN): Small Fruit Tomato Improvement for Fresh Consumption in rainy Season
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เบลเยี่ยม เจริญพานิช
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Belgium chareonpanich
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศรับประทานสดผลเล็ก สำหรับปลูกในฤดูฝนมาตั้งแต่ปลายปี 2526 โดยใช้พันธุ์สีดาห้างฉัตรเป็นพันธุ์พ่อผสมกับพันธุ์ CL 123-2-4 ซึ่งเป็นพันธุ์ทนร้อน (จาก Asian Vegetable Research Development Center) เป็นพันธุ์แม่ เมื่อนำลูกผสมชั่วแรกไปปลูกในฤดูฝนปี 2527 ปรากฎว่าติดผลดีมีคุณภาพตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ จึงได้ทำการคัดแบบสายพันธุ์บริสุทธิ์ ทั้งในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ถึงชั่วที่ 6 ในปลายปี 2529 คัดเลือกได้ 3 พันธุ์ คือ ศก.1 ศก. 3 และ ศก.4 จึงได้นำไปปลูกเปรียบเทียบและทดสอบพันธุ์กับพันธุ์มาตรฐาน(พันธุ์สีดา) ในฤดูฝนในปี 2530-2533 พบว่า การเปรียบเทียบพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ และสถานีทดลองพืชสวนนครพนม พันธุ์ ศก. 1 และ ศก. 4 เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าและแตกต่างทางสถิติกับพันธุ์เปรียบเทียบ (พันธุ์สีดา) สำหรับการทดสอบพันธุ์ในสถานที่ทั้ง 2 แห่ง พบว่า พันธุ์ ศก. 1 ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุดคือ 3,080 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับพันธุ์สีดาซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบให้ผลผลิต 2,555 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์พันธุ์ ศก. 1 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์สีดา ซึ่งเป็นพันธุ์มาตรฐานที่ใช้ปลูกทั่วไป 17 เปอร์เซ็นต์
บทคัดย่อ (EN): Breeding programme of the small fruit tomato for fresh consumption in rainy season was conducted at Sisaket Horticultural Research Center (SHRC) since 1983, using tomato varieties Sida Hang chat and CL 123-2-4 from Asian Vegetable Research Development Center (AVRDC) as parents. It was evident that F, tybrid provided higher yield with good fruit guality. Pure line selection of the hybrid was then carried out both in rainy season and winter. At the end of 1985, three selected lines of F known as SK1, SK3 and SK4 were obtained. Yield comparison study and regional yield trial of the three lines, compared with Sida variety as check, at SHRC and Nakhon Phanom Horticultural Experiment Station during 1986 to 1989 revealed that yields of SK1 and SK4 were significantly greater than Sida. The results from regional yield trials suggest that SK1 is the promising variety for northeastern region. It provides fresh yield of 3,080 kg/rai which is about 17% greater than Sida Z2,555 kg/rai).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงมะเขือเทศผลเล็กรับประทานสดในฤดูฝน
กรมวิชาการเกษตร
2547
การปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศให้ต้านทานโรคเหี่ยวเขียวและโรครากปมเพื่อใช้เป็นต้นตอในการผลิตเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ระยะที่ 2 การปรับปรุงพันธุ์ต้านทานโรคไวรัสใบหงิกเหลืองของมะเขือเทศ การปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศพันธุ์เนื้อและทดสอบลูกผสม (รุ่นที่ 1) การปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศให้ต้านทานโรคเหี่ยวเขียวและโรครากปมเพื่อใช้เป็นต้นตอในการผลิตเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ระยะที่ 2 การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ฟักทอง บวบ มะเขือเทศและแตงไทยพื้นเมืองในช่วงฤดูฝน 2553 การปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศให้ต้านทานโรคเหี่ยวเขียวและโรครากปมเพื่อใช้เป็นต้นตอในการผลิตเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสมพันธุ์ UBU 101 การพัฒนาพันธุ์มะเขือเทศรับประทานสดนอกฤดูกาล โดยวิธีคัดเลือกแบบบันทึกประวัติในประชากรที่ 11 และ 12 โครงการย่อย 10:การปรับปรุงเทคนิคการสกัดสารทุติยภูมิจากเชื้อแอคติโนมัยซีสเอนโดไฟท์เพื่อควบคุมโรคใบจุดกะหล่ำปลี โรคใบไหม้มะเขือเทศ และการคัดเลือกเชื้อราปรสิตโรคราแป้งมะเขือเทศบนพื้นที่สูง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากส่วนต่าง ๆ ของมะเขือเทศ ทดสอบการปลูกมะเขือเทศเป็นพืชแซม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก