สืบค้นงานวิจัย
การตอบสนองของข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ดีเด่น CNW 4901 ต่ออัตราปุ๋ยไนโตรเจนบนดินเหนียวชุดราชบุรีในเขตชลประทานภาคกลาง
จิราลักษณ์ ภูมิไธสง - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การตอบสนองของข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ดีเด่น CNW 4901 ต่ออัตราปุ๋ยไนโตรเจนบนดินเหนียวชุดราชบุรีในเขตชลประทานภาคกลาง
ชื่อเรื่อง (EN): Response of Waxy Corn Hybrids Variety CNW 4901 to Nitrogen Fertilizer Rates on Ratchaburi Series (Clay soil)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จิราลักษณ์ ภูมิไธสง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jiraluck Phoomthaisong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองนี้เพื่อศึกษาอิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจนต่อข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ดีเด่น ที่ปลูกบนดินเหนียวชุดราชบุรี ทำการทดลอง ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ฤดูแล้ง ปี 2550 โดยวางแผนการทดลองแบบ Split plot จำนวน 4 ซ้ำ Main plots เป็นอัตราปุ๋ยไนโตรเจน 4 อัตรา ได้แก่ 0, 20, 30 และ 40 กิโลกรัมไนโตรเจน/ไร่ Subplots เป็น ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ลูกผสมจำนวน 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ CNW 4901 และ บิ๊กไวท์ 852 ผลการทดลองพบว่า ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์และอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ในส่วนของน้ำหนักฝักสดก่อนปอกและหลังปอกเปลือก และน้ำหนักฝักมาตรฐาน โดยข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ CNW 4901 ให้น้ำหนักฝักสดก่อนปอกและหลังปอกเปลือกสูงสุด 1,715 และ 1,211 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่าพันธุ์บิ๊กไวท์ 852 ประมาณ 16 และ 10 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 20, 30 และ 40 กิโลกรัม/ไร่ ให้น้ำหนักฝักสดก่อนปอกและหลังปอกเปลือก ไม่แตกต่างกันทางสถิติ สูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ประมาณ 19-56 และ 53-59เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับฝักมาตรฐาน พบว่า ข้าวโพดทั้ง 2 พันธุ์นี้ ให้น้ำหนักฝักมาตรฐานไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยมีน้ำหนักฝักมาตรฐานอยู่ระหว่าง 851-939 กิโลกรัม/ไร่ และการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 30 และ 40 กิโลกรัม/ไร่ ให้น้ำหนักฝักมาตรฐานไม่แตกต่างกันทางสถิติ ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 1,185-1282 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ ประมาณ 16-22 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ประมาณ 90-91 เปอร์เซ็นต์
บทคัดย่อ (EN): The experiment was conducted to examine the effect of nitrogen fertilizer rates on waxy corn hybrids grown on a clay soil at Chai Nat Field Crops Research Center in the dry season 2007. A split plot design with 4 replicates was used. Main plot consisted of four nitrogen fertilizer rates, 0, 20, 30 and 40 kg/rai. Subplots comprised two waxy corn hybrids namely CNW 4901 and Big white 852. There were no interaction between varieties and nitrogen fertilizer rates. CNW 4901 gave 16% ear with husk fresh weight higher than Big white 852. Nitrogen applied at 20-40 kg/rai showed no significant differences in ear with (1,658-1,951 kg/rai) and without (1,235-1,432 kg/rai) husk fresh weight among themselves. They, however, attained 53-59 and 49-56% ear with and without husk fresh weight greater than no fertilizer, respectively. Ear without husk fresh of CNW 4901 was 10% higher than that of Big white 852. CNW 4901 and Big white 852 showed no statistically significant differences in standard ear weight. The nitrogen application 30-40 kg/rai gave no significant difference in standard ear weight, but they gave 90-91 and 16-22% standard ear weight higher than 0 and 20 kg N/rai, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=016-Jiraluck.pdf&id=136&keeptrack=43
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: แปลงทดลอง ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การตอบสนองของข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ดีเด่น CNW 4901 ต่ออัตราปุ๋ยไนโตรเจนบนดินเหนียวชุดราชบุรีในเขตชลประทานภาคกลาง
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2551
เอกสารแนบ 1
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง ความดีเด่นของลูกผสมข้ามระหว่างพันธุ์ในข้าวโพดข้าวเหนียว การประเมินการตอบสนองของการคัดเลือกแบบหมู่ประยุกต์ 5 รอบของ ลักษณะความยาวฝักในข้าวโพดข้าวเหนียว ผลการตอบสนองต่อความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดจากความเค็มในสายพันธุ์ต่าง ๆ ของข้าวไทย การตอบสนองต่อการคัดเลือกด้วยวิธีแบบวงจรพื้นฐานของผลผลิตในประชากรข้าวโพดข้าวเหนียวสีส้ม ความสัมพันธ์ระหว่างความดีเด่นของลูกผสมกับความแตกต่างของลักษณะทางสัณฐานวิทยาสำหรับผลผลิตในข้าวโพดข้าวเหนียว การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวในการปลูกแบบอินทรีย์ การตอบสนองต่อการคัดเลือกพันธุ์แบบหมู่ประยุกต์จำนวน 4 รอบ เพื่อเพิ่มปริมาณสารแอนโทไซยานินในเมล็ดของประชากร ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง การจำแนกหาสายพันธุ์ทดสอบที่มีฐานพันธุกรรมแบบกว้างและแบบแคบสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก