สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลโพธิ์ตาก อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
ทัศนวรรณ ขันโมลี - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลโพธิ์ตาก อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทัศนวรรณ ขันโมลี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลโพธิ์ตาก อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของเกษตรกรที่ปลูกข้าวของตำบลโพธิ์ตาก อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม สภาพการผลิตข้าวและปัญหาอุปสรรคในการผลิตข้าวของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2546 จำนวน 299 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม Microsoft Excel สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนมากร้อยละ 63.21 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.70 ปี ร้อยละเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 87.63 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 6 คนมีแรงงานเกษตรเฉลี่ย 4 คน ร้อยละ 72.58 เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร ร้อยละ 53.18 ใช้ทุนของตนเองในการทำนา เกษตรกรทุกรายอาศัยน้ำฝนในการทำนา มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 15.68 ไร่ต่อครอบครัวร้อยละ 52.17 มีที่นาเป็นนาดอน และร้อยละ 99.33 ใช้รถไถเดินตามในการเตรียมดิน เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 96.66 ทำนาดำ ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวอัตราเฉลี่ย 7.65 กิโลกรัมต่อไร่ โดยส่วนมากได้เมล็ดพันธุ์ข้าวมาจากทางราชการ ร้อยละ 32.78 ลักษณะของดินเป็นดินเหนียว และร้อยละ 23.41 เป็นดินร่วนปนทราย ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง เกษตรกรส่วนมากร้อยละ 69.23 ไม่มีการปลูกพืชปุ๋ยสดบำรุงดิน และร้อยละ 71.91 มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัตราเฉลี่ย 405.97 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้กล้าข้าวอายุเฉลี่ย 30.87 วันปักดำ ร้อยละ 53.18 ใช้ระยะปักดำ 20 x 20 เซนติเมตร เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 89.30 ใช้ปุ๋ยเคมีและร้อยละ 55.18 ใช้ปุ๋ยเคมีครั้งเดียว ร้อยละ 44.82 ใช้ปุ๋ยเคมี 2 ครั้ง เกษตรกรส่วนมากร้อยละ 50.19ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16 -16 - 8 อัตราเฉลี่ย 16.29 กิโลกรัมต่อไร่ในการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 และร้อยละ 67.91 ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 46 - 0 - 0 อัตราเฉลี่ย 11.27 กิโลกรัมต่อไร่ในการใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2 เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 97.32 ไม่ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยวข้าว ผลผลิตเฉลี่ย 408.73 กิโลกรัมต่อไร่ โดยมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 843.94 บาทต่อไร่ มีกำไรสุทธิจากการทำนาเฉลี่ย 1,994.06 บาทต่อไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 75.59 มีปัญหาเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดิน รองลงมาร้อยละ 66.89 มีปัญหาเรื่องวัชพืชในนาข้าว ร้อยละ 57.86 มีปัญหาเรื่องราคาปุ๋ยเคมีสูง ร้อยละ 55.18 มีปัญหาเรื่องขาดแคลนเครื่องจักรกลเกษตร ร้อยละ 48.16 มีปัญหาเรื่องแมลงศัตรูข้าว และร้อยละ 46.15 มีปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติ ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ ปุ๋ยพืชสด ส่งเสริมการทำและใช้ปุ๋ยชีวภาพเพื่อลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี แนะนำการเตรียมดินที่ดีเพื่อลดการระบาดของวัชชพืชและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตข้าวของเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลโพธิ์ตาก อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลนาทม อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลหนองแวง อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สภาพการผลิตและปัญหาการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลโพนทอง อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม การใช้พันธุ์ข้าวของเกษตรกรตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ปี 2546 สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรจังหวัดเลย สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลบ้านผือ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลนิคม อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก