สืบค้นงานวิจัย
การใช้สารกำจัดวัชพืช Fenoxaprop-p-ethyl และ Lactofen ในถั่วเหลืองปลูกหลังข้าว
พรชัย เหลืองอาภาพงศ์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การใช้สารกำจัดวัชพืช Fenoxaprop-p-ethyl และ Lactofen ในถั่วเหลืองปลูกหลังข้าว
ชื่อเรื่อง (EN): Use of Fenoxaprop-p-ethyl and Lactofen in Soybean Grown after Rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พรชัย เหลืองอาภาพงศ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pornchai Lueang-a-papong
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ทำการทดลอง 2 การทดลองในแปลงของเกษตรกรระหว่างเดือน ธันวาคม 2535 มีนาคม 2536 เชียงใหม่ ทำการพ่นสารกำจัดวัชพืชแบบหลังงอกหลังจากปลูกถั่วเหลือง 17 และ 24 วัน ด้วยถังพ่นแบบสะพายหลังที่มีปริมาณน้ำ (Spray volume) 80 ลิตร/ไร่ ผลการทดลองพบว่า สาร Fenoxaprop-p-ethyl ((±)-2- [4[(6-chloro-2-benzoxazolyloxy)]phenoxy]-propanoic acid) อัตรา 9.0 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ที่พ่นเดี่ยว ๆ หลังปลูกถั่วเหลือง 17 วัน ให้ผลดีเยี่ยมในการควบคุมวัชพืชประเภทใบแคบฤดูเดียววงศ์หญ้าพวก หญ้าตีนนก (Digitaria adscendens) หญ้าตีนกา (Eleusine indica) หญ้าข้าวนก (Echinochloa crus-gali) และหญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium) โดยที่สารเคมีชนิดนี้จะไม่มีผลทำให้ถั่วเหลืองแสดงอาการเป็นพิษแต่อย่างใด ซึ่งการใช้สารเคมีนี้เพื่อควบคุมวัชพืชประเภทใบแคบวงศ์หญ้าจะสามารถเพิ่มผลผลิตได้ 13% เมื่อเทียบกับสภาพที่ไม่มีการการจัดวัชพืช ส่วนการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทใบกว้าง Lactofen ((±)-2-ethoxy-1-methyl-2-oxyethyl-5-[2-chloro-4-(trifluormethyl)phenoxy]-2-nitrobenzoate) นั้นพบว่า เมื่อพ่นเดียว ๆ ในอัตรา 14.4-19.2 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ จะสามารถควบคุมวัชพืชประเภทใบกว้างฤดูเดียวพวก โทงเทง (Physalis minimia), สาบแร้งสาบกา (Ageratum conyzoides) กะเม็ง (Eclipta alba) และผักโขมหนาม (Amaranthus spinosus) ได้ดีเยี่ยม แต่จะมีผลทำให้ถั่วเหลืองแสดงอาการเป็นพิษหลังพ่น การใช้สาร Lactofer ผสมกับสาร Fenoxaprop-p-ethyl จะทำให้ประสิทธิภาพ การควบคุมวัชพืชประเภทใบแคบวงศ์หญ้าฤดูเดียวของสาร Fenoxaprop-p-ethyl ลดลง อย่างไรก็ตามการใช้สาร Fenoxaprop-p-ethyl ผสมกับสาร Lactofen นี้จะไม่สามารถเพิ่มผลผลิตถั่วเหลือง
บทคัดย่อ (EN): Two field trials were conducted during December 1992 to May 1993 in farmers field, Chiang Mai Province. Herbicides were applied as postemergence to soybean grown after rice at 17 and 24 days after planting with knapsack sprayer in the spray volume of 500 l/ha. Fenoxaprop-p-ethyl ((+-)-2-(4(6-chloro-2-benzoxazolyl-oxy))phenoxy)-propanoic acid) alone at 56.25 g(ai)/ha gave excellent control of annual grass weeds, Digitaria adscendens, Eleusine indica, Echinochloa crus-galli, Dactylocteninm aegyptium when applied at 17 days after planting. Use of fenoxaprop-p-ethyl for annual grass weed control in soybean did not toxic to the crop and were able to increase yield up to 13 percent compared to non treated plot. The selective-broadleaf herbicide lactofen ((+-)-2-ethoxy-1-methyl-2-oxyethyl-5-(2-chloro-4-(trifluormethyl)phenoxy)-2-nitrobenzoate) applied alone at the rate of 90-120 g(ai)/ha provided excellent control of annual broadleaf weeds, Physalis minima, Ageratum conyzoides, Eclipta alba, Amaranthus spinosus. However, the application of lactofen caused phytotoxicity to soybean. The tank mixes of lactofen and fenoxaprop-p-ethyl decreased the efficacy of fenoxaprop-p-ethyl in controlling annual grass weeds. The use of fenoxaprop-p-ethyl mixed with could not increased yield of soybean.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2539
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2540
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247341/169198
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้สารกำจัดวัชพืช Fenoxaprop-p-ethyl และ Lactofen ในถั่วเหลืองปลูกหลังข้าว
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2540
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกปลูกหมุนเวียนข้าว - ถั่ว บนพื้นที่สูงใน ภาคเหนือของประเทศไทย การใช้สารกำจัดวัชพืช Quizalofop-p-tefuryl ด้วยเครื่องพ่นระบบน้ำน้อย CDA ในถั่วเหลืองที่ปลูกแบบไถและไม่ไถพรวน อัตราและเวลาการใช้สารกำจัดวัชพืช Quizalofop-p-tefuryl ในถั่วเหลืองหลังนาที่ปลูกแบบเผาและไม่เผาฟาง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารป้องกันและกำจัดวัชพืชในนาข้าวขึ้นน้ำ การใช้สารกำจัดวัชพืช Haloxyfop-R-methyl Ester ในไร่กระเทียม การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวจากน้ำนมถั่วเหลือง ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวลูกผสมระหว่างข้าวปลูก x ข้าวป่าและข้าวปลูก x ข้าววัชพืช การประเมินพันธุกรรมข้าวป่าและข้าวปลูกในประชากรข้าววัชพืช การควบคุมโรคข้าวโดยใช้สารเคมี การประเมินลักษณะและความหลากหลายของข้าววัชพืชที่พบขึ้นระบาดในแปลงข้าวปลูกพันธุ์ปทุมธานี 1

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก