สืบค้นงานวิจัย
เปรียบเทียบคุณสมบัติของไม้ยางพาราที่ได้จากการกรีด และวิธีเจาะร่วมกับการใช้แก๊สเร่งน้ำยาง
สมยศ สินธุระหัส - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบคุณสมบัติของไม้ยางพาราที่ได้จากการกรีด และวิธีเจาะร่วมกับการใช้แก๊สเร่งน้ำยาง
ชื่อเรื่อง (EN): Puncture tapping with ethylene stimulant on rubber production and wood quality
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมยศ สินธุระหัส
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือกรีดยาง และจำนวนวันฝนตกที่มากเกินไป เป็นอุปสรรคต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยางในหลายพื้นที่ ทำให้มีการนำเอาระบบการเจาะยางร่วมกับการใช้แก๊ส ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการพัฒนาการนำน้ำยางออกจากต้นยางได้ในวันฝนตก และไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานฝีมือกรีดยาง โดยบริษัทเอกชนภายใต้ชื่อการค้า “อโกรเบสแก๊สซิง” ซึ่งได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในปี พ.ศ.2536 จากการเริ่มต้นเหมาสวนยางเอกชนในจังหวัดภูเก็ตที่มีอายุยางเกิน 15 ปี และการเจาะเอาน้ำยางบริเวณเปลือกเดิมเหนือรอยกรีดปกติ หลังจากนั้นระบบการเจาะยางดังกล่าวได้ขยายไปสู่เกษตรกรที่ให้ความสนใจ ในพื้นที่ปลูกยางทั้งภาคใต้และภาคตะวันออก การศึกษาผลกระทบของระบบการเจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สที่มีต่ออุตสาหกรรมการผลิตของประเทศ ได้ดำเนินการทดลองในยางพันธุ์ RRIM 600 อายุ 20 ปี ณ สถานีทดลองยางระนอง ซึ่งเป็นพื้นที่ฝนตกชุก โดยศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตกับวิธีกรีดยางตามปกติวันเว้นวัน (½S d/2) การกรีดปกติร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง (อีเทรล 2.5 %) การกรีดยางหน้าสูงร่วมกับสารเคมีเร่งน้ำยาง การกรีดปกติร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางโดยใช้พลาสติกกันฝน จากการศึกษาโดยการเก็บผลผลิตน้ำยาง 12 เดือน พบว่าการเจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สทำให้ผลผลิตยางสูงกว่ากรรมวิธีอื่นๆ แตกต่างกันทางสถิติ จากการศึกษาคุณภาพไม้ของวิธีการกรีดโดยการเจาะร่วมกับการใช้แก๊สเปรียบเทียบกับคุณภาพไม้ที่กรีดตามวิธีแนะนำปกติไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติ ซึ่งจากการทดลองดังกล่าวพบว่า เทคโนโลยีนี้สามารถแนะนำเกษตรได้ใช้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในสวนยางพันธุ์ RRIM 600 ที่มีอายุเกิน 15 ปีขึ้นไปได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เปรียบเทียบคุณสมบัติของไม้ยางพาราที่ได้จากการกรีด และวิธีเจาะร่วมกับการใช้แก๊สเร่งน้ำยาง
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
กลุ่มวิจัยยางพารา การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การเพิ่มผลผลิตยางพาราและการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง องค์ประกอบหลักทางเคมีของน้ำส้มควันไม้จากไม้ยางพารา การเพิ่มผลผลิตน้ำยางของยางพาราโดยใช้ระบบกรีดสองหน้ากรีดแบบสลับ เปรียบเทียบผลผลิตของยางพาราในการกรีดยางหน้าสูงด้วยวิธีการกรีดขึ้นกับ วิธีการกรีดลงโดยใช้มีดเจบง การกรีดร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางบางระยะ อิทธิพลของหอมแดงที่มีต่อการไหลของน้ำยางพารา การเปรียบเทียบระบบซื้อขายไม้ยางพาราระหว่างตลาดกลางไม้ยางพาราสุราษฎร์ธานีกับตลาดไม้ยางพาราแบบดั้งเดิม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก