สืบค้นงานวิจัย
อัตราและเวลาการใช้สารกำจัดวัชพืช Quizalofop-p-tefuryl ในถั่วเหลืองหลังนาที่ปลูกแบบเผาและไม่เผาฟาง
พรชัย เหลืองอาภาพงศ์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: อัตราและเวลาการใช้สารกำจัดวัชพืช Quizalofop-p-tefuryl ในถั่วเหลืองหลังนาที่ปลูกแบบเผาและไม่เผาฟาง
ชื่อเรื่อง (EN): Quizalofop-p-tefuryl Application Rates and Timing in Straw Burning and No-Burning Soybean Grown After Rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พรชัย เหลืองอาภาพงศ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pornchai Lueang-a-papong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วิทยา วนาภิชิต
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Vitya Vanapichit
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ทำการทดลองในแปลงของภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างเดือนธันวาคม 2538- พฤษภาคม 2539 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการทดสอบประสิทธิภาพของสาร Quizalopfop-p-tefuryl [(±)-tetrahydrofurfuryl(R)-2[4-(6-chloroquinoxalin-2-yloxy)propanoate] ในการควบคุมวัชพืชใบแคบวงศ์หญ้าในถั่วเหลืองที่ปลูกหลังนาในสภาพที่มีการเผาและไม่เผาฟาง โดยที่ในสภาพที่ไม่มีการเผาฟางได้ทำการพ่นสาร Glyphosate (N-(phosphonomethyl)glycine) เพื่อควบคุมวัชพืชชนิดต่าง ๆ อัตรา 320 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ก่อนปลูก 7 วัน ส่วนในแปลงที่มีการเผาฟางทำการใช้ฟางคลุมแปลงแล้วเผาก่อนปลูก 7 วันซึ่งเมื่อถั่วเหลืองอายุ 21 และ 38 วันทำการพ่นสาร quizalofop-p-tefuryl เพื่อควบคุมวัชพืชใบแคบวงศ์หญ้าอัตรา 7.2 และ 9.6 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ พบว่าถั่วเหลืองที่ปลูกในสภาพที่มีการเผาฟางจะมีการงอกและเจริญเติบโตระยะแรกดีกว่าถั่วเหลืองที่ปลูกโดยไม่เผาฟางสาร Quizalofop-p-tefuryl อัตราต่ำ 7.2 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ สามารถควบคุมวัชพืชใบแคบวงศ์หญ้าพวกหญ้าตีนนก (Digitaria adscendens) หญ้าข้าวนก (Echinochloa curs-galli) และ หญ้าตีนกา (Eleusine indica) ได้ดีเยี่ยมในสภาพที่ไม่มีการเผาฟาง เมื่อทำการใช้ในช่วง 21-38 วันหลังปลูก ส่วนในสภาพที่มีการเผาฟางนั้นวัชพืชมีขนาดใหญ่กว่า ดังนั้นจะถูกควบคุมได้ต้องใช้สาร Quizalofop-p-tefuryl ในอัตรา 7.2 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ โดยพ่นที่ 21 วันหลังปลูก ซึ่งถ้าหากพ่นช้ากว่านี้จะต้องใช้สารเคมีอัตราสูงกว่า 9.6 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ การทดลองนี้ยังพบว่าสาร Quizalofop-p-tefuryl จะมีผลทำให้ถั่วเหลืองแสดงอาการเป็นพิษเล็กน้อยหลังพ่น อย่างไรก็ตามการใช้สาร Quizalofop-p-tefuryl เพื่อควบคุมวัชพืชใบแคบวงศ์หญ้าในถั่วเหลืองจะสามารถให้ผลผลิตสูงขึ้น
บทคัดย่อ (EN): Field experiment was carried out from December 1995-May 1996 at Chiang Mai University to determine the efficacy of herbicide quizalofop-p-tefuryl [(+)-tetrahydrofurfuryl(R)-2[4-(6-chloroquinoxalin-2-yloxy) propanoate] on annual grass weed control in straw burning and no-burning soybean grown after rice. Glyphosate (N-(phosphonomethyl) glycine) was treated to general weeds at the rate of 2.0 kg(ae)/ha 7 days before planting in no buning plot, rice straw and general weeds were burned at 7 days before planting in burning plot. Quizalofop-p-tefuryl at the rate of 45 and 60 g (ae)/ha was applied for annual grass weed control 21 and 38 days after soybean planting. It was found that soybean and weeds in the straw burning plot were able to emerge and grow better than that of no-burning plot. Quizalofop-p-tefuryI at the rate of 45 g(ae)/ha showed excellent control of annual grass weeds; Digitaria adscendens, Echinochloa crus-galli and Eleusine indica in no-burning plot when applied at 21-38 days after planting. In the straw burning plot, the annual grass weeds were effectively controlled by quizalofop p-tefuryl at the rate up to 60 g(ae)/ha when applied at 21 days after planting. If applied at 32 days after planting, the rate of herbicide was needed more than 60 g(ae)/ha. Quizalofop-p-tefuryl caused slight phytotoxicity in soybean after application. 'The use of quizalofop-p-tefuryl for annual grass weed control produced significantly higher soybean grain yield when compared to non-treated plot.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2538
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2539
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247426/169255
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อัตราและเวลาการใช้สารกำจัดวัชพืช Quizalofop-p-tefuryl ในถั่วเหลืองหลังนาที่ปลูกแบบเผาและไม่เผาฟาง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2539
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การใช้สารกำจัดวัชพืช Quizalofop-p-tefuryl ด้วยเครื่องพ่นระบบน้ำน้อย CDA ในถั่วเหลืองที่ปลูกแบบไถและไม่ไถพรวน การใช้สารกำจัดวัชพืช Fenoxaprop-p-ethyl และ Lactofen ในถั่วเหลืองปลูกหลังข้าว การใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกและหลังงอกในถั่วเหลือง การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวจากน้ำนมถั่วเหลือง การใช้ถั่วเหลืองเพื่อลดต้นทุนในการผลิตเป็ดปักกิ่ง การป้องกันกำจัดโรครากและลำต้นเน่าของถั่วเหลืองโดยชีววิธี การใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการสกัดน้ำมันเป็นอาหารสัตว์ปีก 2. ไก่เนื้อ ผลของการใช้กากถั่วเหลืองหมักต่อการเจริญเติบโตและการรอดตายของปลานิล ถั่วเหลืองสายพันธุ์ก้าวหน้า การใช้ถั่วเหลืองฝักสดหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต่อการปรับปรุงดินบนพื้นที่สูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก