สืบค้นงานวิจัย
สารคล้ายแบคเทอริโอซินของเชื้อสกุลบาซิลลัสที่แยกจากผลไม้สด ผักสดและ ผักพร้อมบริโภค
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศรีสุดา กวยาสกุล - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: สารคล้ายแบคเทอริโอซินของเชื้อสกุลบาซิลลัสที่แยกจากผลไม้สด ผักสดและ ผักพร้อมบริโภค
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศรีสุดา กวยาสกุล
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณเชื้อสกุล Bacillus บนผักและผลไม้สด รวมทั้งคัดเลือกสายพันธุ์เชื้อสกุล Bacillus ที่มีความสามารถในการสร้างสารออกฤทธิ์ในกลุ่มแบคเทอริโอซินมายับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหาร ในการทดลองได้เปรียบเทียบปริมาณเชื้อสกุล Bacillus กับปริมาณแบคทีเรียทั้งหมด เพื่อศจากตัวอย่างผักและผลไม้สด จำนวนทั้งสิ้น 23 ตัวอย่าง พบว่า ปริมาณแบคทีเรียทั้งหมด อยู่ในช่วง 3.65- 6.69 log cfu/g ส่วนปริมาณเชื้อสกุล Bacillus พบอยู่ในช่วง 1.43- 3.17 cfu/g หรือมีปริมาณ 39.2- 47.4% ของปริมาณแบคทีเรียทั้งหมด และสามารถแยกเชื้อสกุล Bacillus ได้ทั้งสิ้น 164 ไอโซเลท และเมื่อนำมาทำการทดสอบการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ทดสอบทั้ง 6 ชนิด ได้แก่ Listeria monocytogenes DMST1327, Staphylococcus aureus TISTR1466 และ Bacillus cereus TISTR687 Salmonella Typhimurium DMST562, Escherichia coli TISTR780 และ Serratia marcescens บนอาหารเลี้ยงเชื้อ ด้วยวิธี Agar spot assay พบเพียง 9 ไอโซเลท ที่แสดงผลการยับยั้งเป็นที่น่าพอใจ จึงนำมาศึกษาด้วยวิธี disk diffusion assay ขั้นนี้เชื้อที่ได้คัดเลือกไว้ คือ 15LS2, 16ST4 และ 17ST3 ที่ให้ผลการยับยั้งดีที่สุด และเมื่อนำเชื้อทั้ง 3 ไอโซเลท มาศึกษาประสิทธิภาพในการสร้างสารยับยั้งดังกล่าว ในอาหารเหลว NB ปรับพีเอชให้เป็นกลาง นำส่วนใสที่ได้มาทดสอบด้วยวิธี agar well diffusion assay พบว่า 15LS2 และ 16ST4 สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ L. monocytogenes ได้ดีที่สุด มีค่าการยับยั้งเชื้อเท่ากับ 202.38 และ 208.88 AU/ml ตามลำดับ ส่วน 17ST3 สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. Typhimurium ได้ดีที่สุดและมีค่าการยับยั้งเชื้อเท่ากับ 169.75 AU/ml และเมื่อทดสอบคุณสมบัติต่างๆของสารยับยั้งเชื้อทั้ง 3 ไอโซเลท พบว่า สารยับยั้งดังกล่าวมีคุณสมบัติเบื้องต้นสอดคล้องกับแบคเทอริโอซิน โดยพบว่า สารยับยั้งนี้ถูกทำลายได้ด้วยเอนไซม์กลุ่มที่สลายโปรตีน 1 และเป็นสารที่ยับยั้งที่มีความคงทนต่ออุณหภูมิได้สูงถึง 80 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที และทนต่อพีเอชในช่วง 2-9 ได้ดี ผลการจัดจำแนกชนิด โดยใช้ชุดทดสอบสำเร็จรูป API 50 CHB พบว่า ไอโซเลท 16ST4 คือ B. firmus % ID 99.8 และ 17ST3 คือ เชื้อ B. subtilis/amyloliquefaciens % ID 99.7
บทคัดย่อ (EN): This research aim was to evaluate the enumeration of Bacillus in fresh vegetables and fruits and isolation Bacillus which produce bacteriocin inhibiting food spoilage. The experiment was conducted in 23 samples of fresh vegetables and fruits by comparing the amount of Bacillus to the total bacterial count. The results found the total bacterial count in the rage of 3.65- 6.69 log cfu/g which Bacillus was 1.43- 3.17 cfu/g. The proportion of Bacillus was 39.2- 47.4% of the total bacterial count. Furthermore, 164 isolations of Bacillus were isolated and all of them to test of growth inhibition to six strains : Listeria monocytogenes DMST1327, Staphylococcus aureus TISTR1466, Bacillus cereus TISTR687 Salmonella Typhimurium DMST562, Escherichia coli TISTR780 and Serratia marcescens by Agar spot assay found that only 9 isolations showed the satisfactory results. These isolations were subjected to further test by disk diffusion assay. The results showed that 15LS2, 16ST4 and 17ST3 isolations provided the best inhibition capability. The inhabitance substance from those isolations was tested in NB which adjusted pH was neutralized. The supernatant was determined by agar well diffusion assay which found that 15LS2 and 16ST4 isolations could inhibit the growth of L. monocytogenes as value as 202.38 and 208.88 AU/ml respectively. Moreover, 17ST3 provided the best inhibition result on S. Typhimurium as value as 169.75 AU/ml. Initially, the microbe produce substance from three isolations was similar to bactrozin due to decomposed by group 1 protein test enzyme. The other conditions were coincide with the temperature tolerance at 90 C for 30 minutes and resistant well to pH range 2-9. The final identification by test kid API 50 CHB, the results were confirmed that 16ST4 and isolations were B. firmus % ID 99.8 and B. subtilis/amyloliquefaciens % ID 99.7 respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 6.1 แยกเชื้อสกุลบาซิลลัสจากผลไม้สด ผักสดและผักพร้อมบริโภค 6.2 ตรวจนับปริมาณเชื้อสกุลบาซิลลัสจากผลไม้สด ผักสดและผักพร้อมบริโภค 6.3 คัดเลือกเชื้อสกุลบาซิลลัสที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหาร บนอาหารเลี้ยงเชื้อ 6.4 ทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อสกุลบาซิลลัสต่อการสร้างสารยับยั้งการเจริญของ เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหาร บนอาหารเลี้ยงเชื้อ 6.5 การศึกษาคุณสมบัติบางประการของสารยับยั้งที่สร้างโดยเชื้อสกุลบาซิลลัสที่คัดเลือกได้ 6.6 จัดจำแนกชนิดของเชื้อสกุลบาซิลลัสที่สามารถสร้างสารยับยั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สารคล้ายแบคเทอริโอซินของเชื้อสกุลบาซิลลัสที่แยกจากผลไม้สด ผักสดและ ผักพร้อมบริโภค
มหาวิทยาลัยนเรศวร
30 กันยายน 2559
ผักสดอ่อนนุ่มสำหรับผู้สูงอายุ การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้แบคเทอริโอซินในโคนมเพื่อลดปัญหาโรคเต้านมอักเสบ ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้สดอินทรีย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผลของสารเคลือบรับประทานได้ที่มีต่อคุณภาพของผักแช่เยือกแข็ง ผลของการใช้แบคเทอริโอซินร่วมกับน้ำมันหอมระเหยในการยับยั้งจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการเน่าเสียของกล้วยหลังการเก็บเกี่ยว พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและทัศนคติด้านความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกผักในจังหวัดปทุมธานี โครงการการปรับปรุงพันธุ์และการผลิตเมล็ดพันธ์ผัก สถานการณ์เชื้อจุลินทรีย์อีโคไลและซัลโมเนลลาในผักจากแปลง เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ศึกษาการใช้กระป๋องพลาสติกบรรจุผลไม้ ผลไม้ไร้เมล็ด เปี่ยมด้วยคุณค่า

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก