สืบค้นงานวิจัย
ผลของระยะเวลาในการงอกต่อปริมาณฟีนอลทั้งหมด กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณกาบาของข้าวฮางงอก
ชรินรัตน์ เจี้ยนเซ่ง - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของระยะเวลาในการงอกต่อปริมาณฟีนอลทั้งหมด กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณกาบาของข้าวฮางงอก
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Germination Time on Total Phenol Content, Antioxidant Activity and GABA Content of Germinated Hang Rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชรินรัตน์ เจี้ยนเซ่ง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Charinrat Chienseng
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ข้าวฮางเป็นผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย กระบวนการผลิตข้าวฮาง ประกอบด้วยขั้นตอน การแช่ การทำให้งอก การนึ่ง การทำแห้ง และการกะเทาะเปลือก ด้วยกระบวนการดังกล่าวส่งผลทำให้ ข้าวฮางเป็นข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระยะเวลาในการงอกต่อปริมาณ สารฟินอลทั้งหมด กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารกาบา โดยการเตรียมข้าวฮางงอกจากข้าว 2 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวดอกมะลิ 105 และข้าวเหนียว กข 6 ระยะเวลาในการงอกที่ศึกษาคือ 24 36 และ 48 ชั่วโมง จากนั้นวิเคราะห์ปริมาณ สารฟินอลทั้งหมด กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารกาบาของข้าวฮางงอก ผลการทดลองพบว่าในข้าวฮางงอก ดอกมะลิ 105 เมื่อระยะเวลาการงอกนานขึ้น มีผลทำให้ปริมาณสารนอลทั้งหมด กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระและสารกาบา เพิ่มมากขึ้น (P < 0.05) ขณะที่ข้าวฮางงอก กข6 มีปริมาณสารฟีนอลทั้งหมด กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณ สารกาบาสูงสุดที่การงอกที่เวลา 24 ชั่วโมง และลดลงที่เวลา 36 ชั่วโมง และสูงขึ้นที่เวลา 48 ชั่วโมง โดยเวลาในการงอก ที่เหมาะสมที่ทำให้ข้าวฮางงอกมีปริมาณสารนอลทั้งหมด กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารกาบามากที่สุด คือ 48 ชั่วโมงและ 24 ชั่วโมง สำหรับข้าวดอกมะลิ 105 และสำหรับข้าวเหนียว กข6 ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Hang rice is products from local knowledge in the Northeast of Thailand. Hang rice process consists of soaking, germination, steaming, drying and dehusking. Therefore, Hang rice is high nutritional value rice product. The objective of this research was to investigate the effect of germination time on total phenol content, antioxidant activity and GABA content of germinated Hang rice. Germinated Hang rice was produced from two varieties of rice (KhaoDawk Mali 105; KDML105 and Glutinous Rice RD 6; RD 6). The germination time of Hang rice process was studied for 24, 36 and 48 hrs. The total phenol content, antioxidant activity and GABA content were investigated. The results showed that. An increase time of germination significantly increased total phenol content, antioxidant activity and GABA content of KDML105 Hang rice (P < 0.05) while as germinated Hang rice of RD 6 had highest those on total phenol content, antioxidant activity and GABA content at 24 hrs. of germination time then decreased at 36 hrs.and increased at 48 hrs. The proper time of germination enhances total phenol content, antioxidant activity and GABA content in Hang rice process was 48 and 24 hrs for KDML105 and RD 6, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=O04 Agr18.pdf&id=2980&keeptrack=1
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของระยะเวลาในการงอกต่อปริมาณฟีนอลทั้งหมด กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณกาบาของข้าวฮางงอก
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของกระบวนการทำแห้งต่อกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์สาหร่ายเทาน้ำอบแห้ง การศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระในผลส้มโอสด ส้มโอตัดแต่ง และน้ำสัมโอพันธุ์ท่าข่อย รากกระพังโหม: องค์ประกอบทางเคมี กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ และผลต่อคุณสมบัติทางเคมีกายภาพของแป้งข้าวเหนียว กข6 การเปลี่ยนแปลงปริมาณสารกาบา และการแสดงออกของตัวรับสารกาบาในอัณฑะของหนูแรทที่ได้รับสารเสพติดเมทแอมเฟตามีน ผลของการอบแห้งต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในชาสมุนไพร ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อคุณสมบัติของข้าวฮางงอกสามสี และคุณสมบัติของขนมจีนจากปลายข้าวฮาง ผลของอุณหภูมิและเวลาในการสกัดแบบอัลตราโซนิกต่อปริมาณสารประกอบฟีนอล ฟลาโวนอยด์และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเปลือกกล้วยน้ำว้า ระยะพัฒนาการต่อปริมาณสารพฤกษเคมีและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในใบมะนาวโห่ ผลของอายุการเก็บเกี่ยวและความเข้มแสงต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบเตยหอม ผลของระยะเวลาการเก็บเกี่ยว ต่อปริมาณ โพแทสเซียม กรดแคฟเฟอิก กรดโรสมารินิก และปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ ในหญ้าหนวดแมว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก