สืบค้นงานวิจัย
การควบคุมประชากรผักตบชวาแบบบูรณาการ เพื่อการพัฒนากว๊านพะเยาอย่างยั่งยืน ระยะที่ 3
วาสนา พิทักษ์พล, วิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก, มนัส ทิตย์วรรณ, บุญร่วม คิดค้า - มหาวิทยาลัยพะเยา
ชื่อเรื่อง: การควบคุมประชากรผักตบชวาแบบบูรณาการ เพื่อการพัฒนากว๊านพะเยาอย่างยั่งยืน ระยะที่ 3
ชื่อเรื่อง (EN): Sustainable Integratedmanagement for control water hyacinth in Kwan Phayao phase III
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จากปัญหาการระบาดของผักตบชวาในกว๊านพะเยาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน นำไปสู่ปัญหาด้านคุณภาพน้ำ จึงได้ศึกษาการควบคุมประชากรผักตบชวาแบบบูรณาการ เพื่อการพัฒนากว๊านพะเยาอย่างยั่งยืน โดยศึกษาผลของสารอัลลีโลพาธีต่อการควบคุมการเจริญเติบโตของผักตบชวาในระดับโรงเรือนด้วยสารสกัดจากต้นเนียมหูเสือและต้นผกากรอง ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2559 ที่มหาวิทยาลัยพะเยา โดยการทดลองที่ 1 ทำการแยกชนิดของสารอัลลีโลพาธีจากต้นผกากรองและต้นเนียมหูเสือ พบว่าการสกัดเนียมหูเสือ 1 กิโลกรัมน้ำหนักแห้ง ได้สารสกัดหยาบชั้นน้ำ 8.77 กรัม ได้สารสกัดหยาบที่มีคุณสมบัติเป็นกลาง 10.14 กรัม และได้สารสกัดหยาบที่มีคุณสมบัติเป็นกรด 8.07 กรัม ขณะที่การสกัดผกากรอง 1 กิโลกรัมน้ำหนักแห้ง ได้สารสกัดหยาบชั้นน้ำ 8.43 กรัม และสารสกัดหยาบที่มีคุณสมบัติเป็นกลาง 20.48 กรัม วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 16 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 4 ซ้ำ แล้วติดตามผลการทดลองในวันที่ 5 และ 10 หลังการฉีดพ่นสารสกัด ผลการทดลองพบว่า สารสกัดทุกกรรมวิธีไม่มีผลต่อการลดน้ำหนักต่อต้น พื้นที่ใบ ดัชนีพื้นที่ใบ อัตราการเจริญต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ดิน และอัตราการเจริญต่อหนึ่งหน่วยเวลาได้ แต่มีแนวโน้มในการลดปริมาณคลอโรฟิลล์ของทุกกรรมวิธีลงให้ต่ำกว่าชุดควบคุมได้ การทดลองที่ 2 ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีที่ 3 สามารถลดลดน้ำหนักต่อต้น และพื้นที่ใบ ดัชนีพื้นที่ใบ อัตราการเจริญต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ดิน และอัตราการเจริญต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ใบของผักตบชวาในกว๊านพะเยาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาความสามารถของเชื้อราสาเหตุโรคผักตบชวาในการควบคุมผักตบชวาโดยชีววิธี โดยนำเชื้อราทั้ง 6 ชนิด ได้แก่ Alternaria sp., Curvularia sp., Fusarium sp., Unidentifyed1, Unidentifyed2 และ Unidentifyed3 ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุของโรคในผักตบชวาไปฉีดพ่นบนต้นผักตบชวาที่เลี้ยงในพื้นที่จริง และตรวจสอบการเข้าทำลายหลังจากปลูกเชื้อแล้ว 7-21 วัน พบว่า กรรมวิธีที่ 2 (Alternaria sp.) มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการเข้าทำลายผักตบชวา และมีคะแนนความรุนแรงมากที่สุดเท่ากับ 2.18 โดยมีลักษณะแผลเป็นจุดสีน้ำตาลเข้มหรือดำและเป็นวงค่อนข้างกลม เรียงซ้อน ๆ กันเป็นชั้น ๆ ในขณะที่ด้านการเจริญเติบโต พบว่า กรรมวิธีที่ 8 (Alternaria sp. + Curvularia sp. + Fusarium sp. + Unidentified1 + Unidentified2 + Unidentified3) ทำให้จำนวนใบ น้ำหนัก และการเกิดไหลลดลง ส่วนการใช้สารสกัดจากเชื้อรา Unidentified2 ในการทำลายผักตบชวา พบว่า สารสกัดจากเชื้อรา Unidentified2 สามารถเข้าทำลายผักตบชวาและมีความรุนแรงของโรคมากกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่การประยุกต์ใช้คาร์บอกซีเมธิลเซลลูโลสจากผักตบชวาร่วมกับเมธิลจัสโมเนตเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลลองกอง ทำการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 8 กรรมวิธี ได้แก่ รมด้วยเมทิลจัสโมเนต ความเข้มข้น 5, 10, 20 ไมโครลิตร เคลือบผิวด้วยคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากผักตบชวา ความเข้มข้น 2% ร่วมกับการรมด้วยรมด้วยเมทิลจัสโมเนต 0,5,10,20 ไมโครลิตร และชุดควบคุมไม่เคลือบผิวและไม่รมด้วยเมทิลจัสโมเนต จากนั้นผึ่งให้แห้ง บรรจุลงในกล่องพลาสติกหุ้มด้วยฟิล์มยืด นำมาเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง 25?2 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60?2%และอุณหภูมิต่ำที่ 12?2 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 81?2%ผลการศึกษาพบว่า การเคลือบผิวด้วยคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากผักตบชวา ความเข้มข้น 2% ร่วมกับการรมด้วยเมทิลจัสโมเนต 5 ไมโครลิตร ช่วยชะลอการสูญเสียน้ำหนัก การร่วงของผลลองกอง การเกิดโรค การเกิดสีน้ำตาลของผิวเปลือกด้านนอก และช่วยรักษาความแน่นเนื้อ โดยทำให้มีอายุการเก็บรักษานานที่สุด 11 และ 16.66 วัน เมื่อทำการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง และอุณหภูมิต่ำ ตามลำดับ ขณะที่ชุดควบคุมที่ไม่ได้เคลือบผิวมีอายุเก็บรักษา 9.33 วัน และ 14.33 วัน ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): The outbreak of Eichhornia crassipes in the Kwan Phayao lake occurs continuously and is more severe causing water quality problems. This research were study sustainable Integrated management for control water hyacinth in Kwan Phayao. The allelopathic effect and to control the growth of water hyacinth in the greenhouse condition by using Lantana camara and Tithonia diversifolia extracts were study during January to March 2016 at University of Phayao. The first experiment, allelochemicals of L. camara and T. Diversifolia were extract. The result showed that T. diversifolia 1 kilogram dry weight had AQ fraction 8.77 gram, NE fraction 10.14 gram and AE fraction 8.07 gram. While the L. camara 1 kilogram dry weight had AQ fraction 8.43 gram and NE fraction 20.48 gram. The second experiment was set up as a completely randomized design (CRD) with 16 treatments. The experiment had 4 replications. The data were collected at 5 and 10 days after application of the crude extracts. The results showed that all extracts fraction used could not promote statistically significant differences in the fresh weight/plant, dry weight/plant and leaf area/plant, crop growth rate (CGR), relative growth rate (RGR) and leaf area index (LAI) of water hyacinth. But, they have tended to reduce the amount of total chlorophyll in all treatment. The second experiments was set up as a Randomized Complete Block Design with 3 treatments. The result showed that treatment number 3 could promote statistically significant differences to reduce fresh weight/plant, dry weight/plant and leaf area/plant, crop growth rate (CGR), net assimilation rate (NAR) and leaf area index (LAI) of water hyacinth on Kwan Phayao lake. The effective of fungal pathogen to control water hyacinth were also tested. Six fungal pathogens (Alternaria sp., Curvularia sp., Fusarium sp., Unidentify1, Unidentify2 and Unidentify3) causal agent of water hyacinth were sprayed on water hyacinth leaves in the field, disease severity was conducted after spray for 7-21 days. In was found that, water hyacinth that inoculated with Alternaria sp. (treatments 2) had highest disease severity (score = 2.18) and leaves of water hyacinth had dark brown or black necrotic spot. Effect on growth of water hyacinth showed that, treatments 8 (Alternaria sp. + Curvularia sp. + Fusarium sp. + Unidentified1 + Unidentified2 + Unidentified3) was reduced number of leaves, fresh weight and stolon. Crude extracts of Unidentified2 was also tested for damage leave of water hyacinth, the result showed that crude extract was destroyed water hyacinth leaves and disease severity was higher than control. Effect of carboxymetyl cellulose from water hyacinth amd methyl jasmonate on postharvest quality of longkong fruits was studied. The experiment was conducted under completely randomized design (CRD) with 8 treatments including fumigated with methyl jasmonate at 5,10 and 20 ?l, coated with 2.0 percent of carboxymethyl cellulose from water hyacinth alone or combination with methyl jasmonate fumigation. The none coated and none fumigated fruits were used as control. Longkong fruits were air dried then put in the plastic trays and covered with plastic film and stored at room temperature (25?2 degree Celsius, 60?2 relative humidity) and low temperature (12?2 degree Celsius, 81?2 relative humidity). Result showed that coating with 2 percent of carboxymethyl cellulose from water hyacinth combination with 5 ?l methyl jasmonate fumigation showed significant decreased in weight loss, dropped fruits, mold development, browning score and maintained firmness when compared to the control fruits. Lonkong fruits coated with 2 percent of carboxymethyl cellulose from water hyacinth combination with 5 ?l methyl jasmonate fumigation had the longest shelf life up to 11.00 and 16.67 days when stored at room temperature and low temperature while the control fruits can be stored for 9.33 and 14.33 days, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การควบคุมประชากรผักตบชวาแบบบูรณาการ เพื่อการพัฒนากว๊านพะเยาอย่างยั่งยืน ระยะที่ 3
มหาวิทยาลัยพะเยา
30 กันยายน 2558
การควบคุมประชากรผักตบชวาแบบบูรณาการ เพื่อการพัฒนากว๊านพะเยาอย่างยั่งยืน การกำจัดราในกระถางผักตบชวา การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์เปรี้ยวแดง (Begonia alicida C. B. Clarke) อย่างยั่งยืน การส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พลวัตประชากรปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา การใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา การพัฒนาแบบจำลองเชิงบูรณาการสำหรับประเมินระดับของมลพิษทางน้ำสูงสุดที่สามารถยอมรับได้จากผลกระทบของการใช้ประโยชน์ของชุมชนต่อระบบนิเวศทางน้ำของกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา โครงการ พัฒนาเยาวชนบนพื้นที่สูง ศักยภาพการจัดการระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมกว๊านพะเยาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปีที่3 การควบคุมผักตบชวาแบบผสมผสานโดยการใช้ด้วงงวงผักตบชวา ร่วมกับเชื้อรา Alternaria sp.

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก