สืบค้นงานวิจัย
ความเป็นไปได้เชิงเศรษฐกิจในการผลิตผักพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่
อารีย์ เชื้อเมืองพาน - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: ความเป็นไปได้เชิงเศรษฐกิจในการผลิตผักพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Economic feasibility in local vegetable production in Chiang Mai
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อารีย์ เชื้อเมืองพาน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อัศวิน เผ่าอำนวยวิทย์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการผลิตประกอบไปด้วยลักษณะการผลิต ต้นทุนและผลตอบแทนทางการผลิตผักพื้นบ้าน และ 2) เพื่อศึกษาโครงสร้างตลาดของผักพื้นและพฤติกรรมการในการบริโภคผักพื้นบ้าน รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกบริโภคผักพื้นบ้านของผู้บริโภค โดยใช้การวิเคราะห์ความคุ้มทุนในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิต และใช้แบบจาลอง Ordered Probit ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผักพื้นบ้าน ตลอดจนสถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายข้อมูลด้านต่างๆ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ต้นทุนการผลิตพืชผักส่วนใหญ่เป็นต้นทุนด้านกล้าพันธุ์และต้นทุนแรงงาน ส่วนปุ๋ยชีวภาพและยาปราบวัชพืชและศัตรูพืชเกษตรกรจะผลิตขึ้นเองซึ่งมีต้นทุนที่ค่อนข้างต่า ซึ่งจากการวิเคราะห์ผลตอบแทนทาให้ทราบว่าชะพลูและผักคาวตองสามารถให้ผลตอบแทนสุทธิสูงสุด ส่วนผักที่ให้ผลตอบแทนสุทธิต่าสุดคือผักเสี้ยว ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมนาส่วนของยอดตาลึง ผักปลัง ผักเชียงดา ผักกูด ชะอม ผักเฮือด ผักหวานป่า ผักหวานบ้าน ผักเสี้ยว มารับประทาน และจะนาส่วนของใบผักคาวตอง ผักไผ่ ชะพลู มารับประทาน นอกจากนี้ยังทานดอกแค ผลของสะแล และมะแขว่น เมื่อพิจารณาจากปริมาณการบริโภค พบว่า ผู้บริโภคนิยมบริโภคผักเฮือด ตาลึง และชะอม สูงสุดตามลาดับ ทั้งนี้ตาลึงจะมีส่วนเหลื่อมทางการตลาดสูงสุด รองลงมาคือผักปลัง และดอกแค ตามลาดับ ในการสำรวจพฤติกรรมการบริโภค พบว่า ด้านการเลือกซื้อนั้น ผู้บริโภคมักเลือกซื้อผักในช่วงเวลาเย็นมากกว่าช่วงเวลาเช้า จะซื้อเพียงแค่พอทานเท่านั้นไม่นิยมซื้อเก็บกักตุนไว้ ตลาดใกล้บ้านเป็นทางเลือกในการเลือกซื้อที่ดีที่สุด และจะเลือกบริโภคผักตามฤดูกาลเนื่องจากราคาไม่สูงมากนักและจะซื้อจากผู้จาหน่ายที่รู้จักเพราะเกิดความมั่นใจในสินค้า ส่วนด้านการประกอบอาหาร ผู้บริโภคจะเลือกใช้ผักประเภทใบมากกว่าประเภทดอก ไม่นิยมปรุงอาหารที่ใช้ผักพื้นบ้านร่วมกับส่วนประกอบสมัยใหม่เท่าใดนัก และด้านการบริโภค จะเลือกบริโภคผักสดมากที่สุดและนิยมปรุงอาหารเองมากกว่าซื้ออาหารสาเร็จรูปจากตลาดแม้ว่าจะเป็นอาหารที่ประกอบขึ้นจากผักพื้นบ้านก็ตาม สาหรับปัญหาทางด้านสินค้า ด้านราคา สถานที่จาหน่าย และบริการถือว่าอยู่ในระดับต่า ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อระดับการตัดสินใจซื้อผักพื้นบ้านพบว่ามีเพียงเพศและเหตุผลในการเลือกซื้อเพราะรักษาสิ่งแวดล้อมเท่านั้นที่มีผลต่อระดับการตัดสินใจซื้อผักพื้นบ้านอย่างมีนัยสาคัญ ดังนั้นเกษตรกรควรหันมาปลูกพืชแบบผสมผสานเนื่องจากการให้ผลตอบแทนได้ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนการผลิตที่ต้องเสียไป และควรเน้นการผลิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมเนื่องจากผู้บริโภคจะให้ความสาคัญกับสุขภาพและการรักษาสิ่งแวดล้อม
บทคัดย่อ (EN): This study aims to 1) To study the feasibility of production, including production characteristics, costs and returns of local vegetables, and 2) To study market structure of vegetables, and behavior in consuming local vegetables, including factors affecting consumers' consumption of local vegetable, by use cost analysis to analyze production costs and returns, and “Ordered Probit” model for analysis of factors affecting the decision to buy local vegetables, as well as descriptive statistics in describing various aspects. From production cost study found that, most vegetable production costs are seed cost and labor cost. Biotech and herbicide and farmer pests are self-produced at relatively low cost. From production return found that Wildbetal Leafbush, Plu Kaow can yield the highest net return. The lowest net yield was the butterfly tree. Most consumers favor bring Ivy Gourd, Ceylon Spinach, Gymnema Sylvestre, Paco Fern, Climbing Wattle, Spicy Spinach Starve, Melientha Suavis Pierre, Star gooseberry, Orchid Tree for eat. In addition they’ve eaten Sesban, Broussonetia kurzii Corner, and Zan-Thoxylum Limonella Alstion. Considering the amount of consumption found that consumers consumed Spicy Spinach starve (1), Lvy Gourd (2), and Climbing Wattle (3) respectively. Lvy Gourd has the highest marketing margin. The second is Ceylon Spinach and Sesban, respectively. In the survey of consumer behavior, it was found that the purchase. Consumers are more likely to buy vegetables during the evening than in the morning. To buy just eat only, not to buy store hoard. The near market is the best choice, and choose seasonal vegetables because of the low price and will buy from reputable suppliers because of the confidence in the product. For cooking. Consumers will opt for leaf vegetables rather than flowering. It is not popular to cook with local vegetables and modern ingredients, and consumption. They choose to consume the most fresh vegetables and cook their own food rather than buy ready-made food from the market, even if it is made from local vegetables. The problem of production, product’s price, place for sell production, and service was low. Factor affecting for the level of decision to buy local vegetables was found to be only sex and reason for purchase because the environment only affected the level of decision to buy local vegetables. Therefore, farmers should turn to hybrid crops because of the high returns compared to the cost of production. And focus on environmentally conscious production, as consumers value health and the environment
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเศรษฐศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-60-023
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความเป็นไปได้เชิงเศรษฐกิจในการผลิตผักพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2560
รูปแบบที่เหมาะสมในการผลิตข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน จ.กำแพงเพชร การศึกษาผลในเชิงเศรษฐกิจของการผลิตลำไยนอกฤดูกาลผลิต การศึกษาต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติภายใต้ระบบห่วงโซ่มูลค่าเพื่อใช้ประโยชน์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีในเชิงพาณิชย์ การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตน้ำส่าจากข้าวโพดหวาน เพื่อการผลิตสุรากลั่น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ระดับน้ำใต้ดินที่มีผลต่อการผลิตถั่วลิสง การศึกษาสถานการณ์การผลิตและการตลาดลำไยของประเทศไทย ผลของเศษขิงดองต่อสมรรถนะการผลิตไก่ โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการบริหารจัดการไผ่เพื่อใช้ในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและหัตถกรรมในครัวเรือนครบวงจร การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานการผลิตเมี่ยง ในภาคเหนือประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก