สืบค้นงานวิจัย
พันธุกรรมกับอาหารโคนม
ศรเทพ ธัมวาสร - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: พันธุกรรมกับอาหารโคนม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศรเทพ ธัมวาสร
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์และการให้อาหารโคนมของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยแสดงให้เห็น ว่าการใช้โคสายเลือดอินเดียและโคสายเลือดยุโรปเพื่อใช้ปรับปรุงพันธุ์นั้น พบว่าการใช้โคนมโฮนสไตน์ฟรีเชี่ยนหรือโคนม ขาวดำมากกว่า 87.5% และโคพื้นเมืองและโคอินเดียเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย เพราะโคลูกผสม ดังกล่าวมีความทนทานความร้อนได้ดี การผสมติดดี ให้น้ำนมได้มากพอสมควร และน้ำนมมีองค์ประกอบน้ำนมที่ดี ส่วนเรื่องอาหารโคนมนั้นพบว่าการพิจารณาเลือกใช้อาหารหยาบที่มีปริมาณและคุณภาพที่เหมาะสมมีความสำคัญเป็น อันดับแรก (Feed) แต่ถึงแม้ว่าจะมีอาหารหยาบคุณภาพที่ดีแล้วก็ตาม วิธีการให้อาหารหยาบควบคู่กับการให้อาหารข้น (Feeding) มีความสำคัญเป็นอันดับต่อมา วิธีการจัดการให้อาหารที่เหมาะสมจะทำให้โคให้ผลผลิตมากกว่าการให้อาหาร แบบเดิม แต่การให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเรื่องการให้อาหารที่เหมาะสมแล้วเกษตรกรยอมทำตามเป็นเรื่อง ยากที่สุด เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานของฟาร์มรายย่อยเป็นอุปสรรคใหญ่นอกเหนือจากความขาดวินัยในการทำฟาร์ม และ การขาดการติดตามแก้ปัญหาที่ตรงจุดของฝ่ายราชการ จากประสบการณ์ทำงานวิจัยแบบ Commercial Trial ติดต่อกัน นานกว่า 10 ปี พบว่าหากดำเนินการวิจัยในเชิงพาณิชย์อย่างจริงจัง จะทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมได้ผลผลิตน้ำนม 18 กิโลกรัม/ตัว/วัน และมีรายได้เหลือหักค่าอาหารเฉลี่ยตัวละ 5,000 บาท/เดือน เมื่อเทียบกับเหลือเพียง 2,500 บาท จากการให้ต้นใบข้าวโพดหมักสับเสริมด้วยฟางที่เกษตรกรให้โคกินอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้ยังพบว่า การผสมอาหารเพื่อทำ TMRต้องให้ความสำคัญเรื่องความสม่ำเสมอของอาหารหยาบ การใช้อาหารหยาบผสมเบ็ดเสร็จหรือ TMF ที่มีความนิ่งใน คุณภาพก่อนนำมาผสมกับอาหารข้นพบว่าได้ผลดียิ่ง การข้ามกระโดดจากการให้อาหารแบบเดิมแบบแยกส่วนไปเป็นการ ให้อาหารสูตรรวม TM R โดยไม่ผ่านการทำอาหารหยาบให้นิ่งก่อนจะทำให้โคนมให้น้ำนมแปรปรวนและไม่ให้น้ำนมมาก พอกับการลงทุนซื้อ TMR อันเป็นจุดล้มเหลวในเวลาต่อมา การแบ่งชนิดอาหารให้เหมาะกับโดยเกษตรรายย่อยควรให้พืช อาหารหยาบหมัก PMS สำหรับรายขนาดกลางให้อาหารหยาบหมักปรับคุณภาพ TMF และสำหรับรายใหญ่ให้แบบอาหาร สูตรรวม TMR น่าจะเป็นทางออกที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างลงตัวหนทางหนึ่ง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=01 Sornthep.pdf&id=2193&keeptrack=25
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
พันธุกรรมกับอาหารโคนม
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การใช้ใบถั่วอาหารสัตว์ในอาหารลูกโคนม การสำรวจข้อมูลการเลี้ยงโคนมในจังหวัดเชียงใหม่ (ปัญหาการจัดการอาหารหยาบและความต้องการเครื่องจักรกลในฟาร์มโคนม) ผลของการใช้อาหารหยาบเบ็ดเสร็จเป็นแหล่งอาหารหยาบ ต่อประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ในโคนมสาวทดแทน การใช้ใบกระถินเทพาเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารโคนม ผลการใช้ใบยอผงเป็นสารเสริมในอาหารต่อปริมาณการกินได้ และผลผลิตน้ำนมในโคนม ผลของการใช้เปลือกและซังข้าวโพดหมักร่วมกับฟางข้าว ในอาหารโคนมรุ่น การใช้เปลือกเมล็ดถั่วเหลืองระดับสูงในสูตรอาหารโคนม ผลของการใช้มูลโคนมสดในอาหารห่านกำลังเจริญญเติบโต ผลของอ้อยอาหารสัตว์หมักที่มีอายุการตัดต่างกันเพื่อทดแทน ข้าวโพดหมักต่อการให้ผลผลิตของโคนม ทิศทางและโอกาสในการจัดการอาหารโคนม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก