สืบค้นงานวิจัย
ผลของ pH และธาตุอาหารพืชบางชนิดต่อการเจริญ และความรุนแรงของเชื้อรา โรครากขาวของยางพารา
อารมณ์ โรจน์สุจิตร - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ผลของ pH และธาตุอาหารพืชบางชนิดต่อการเจริญ และความรุนแรงของเชื้อรา โรครากขาวของยางพารา
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of pH and some Elements on Growth and Virulence of White Root Rubber Disease Pathogen
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อารมณ์ โรจน์สุจิตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สิ่งแวดล้อมในดิน เช่น ระดับ pH ของดิน แร่ธาตุและสารเคมีต่างๆมีอิทธิพลต่อเชื้อสาเหตุของโรคพืชและการเกิดของโรคพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคพืชที่เกี่ยวข้องกับระบบราก จึงได้ศึกษาผลกระทบของระดับ pH และธาตุอาหารพืชบางชนิดต่อการเจริญของเชื้อสาเหตุ และการเกิดโรครากขาวของต้นกล้ายางพาราที่เกิดจากเชื้อรา R. lignosus โดยทำการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการและในเรือนกระจก ดังนี้คือ 1) ศึกษาระดับ pH 8 ระดับคือ pH 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 และ pH 10 ในอาหาร PDB 2) ศึกษาธาตุอาหารพืชต่อการเจริญของเส้นใยเชื้อราในอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA , PDB และในดินโดยใช้สารประกอบของแร่ธาตุอาหารพืช 4 ชนิด คือ แอมโมเนียมอะซิเตด (C2H7NO2) , กรดซุปเปอร์ฟอสเฟอริก (H3 PO4), แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) แมกนีเซียมคาร์บอเนต (MgCO3) และผงกำมะถันบริสุทธิ์ (Sulfur) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของธาตุไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P2O5 ) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) ตามลำดับ ศึกษาที่ 8 ระดับความเข้มข้น คือ 0.05, 0.10, 0.20, 0.25, 0.50, 1.0, 2.0 และ 3.0 เปอร์เซ็นต์ 3) ศึกษาในเรือนกระจก โดยการปลูกเชื้อรา R lignosus ที่เลี้ยงในถุงขี้เลื่อยแบบเห็ดอายุ 2 เดือน และผสมสารทดสอบที่ระดับความเข้มข้น 5 และ 20 กรัมต่อถุงดิน หลังปลูกต้นกล้ายาง 2 เดือน และทำการบันทึกผลหลังปลูกเชื้อและผสมสารทดสอบแล้ว 3 เดือน ผลการศึกษาพบว่าเชื้อรา R. lignosus เจริญได้ดีที่สุดที่ระดับ pH 6, 7 และ pH 5 โดยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามลำดับ เจริญลดลงเมื่อสภาพอาหารเป็นกรดจัดและเป็นด่างเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในอาหารที่มีระดับ pH 3 เชื้อราไม่สามารถเจริญได้ แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) และแมกนีเซียมคาร์บอเนต (MgCO3) ซึ่งจัดเป็นปูนขาวชนิดหนึ่ง ที่มักแนะนำให้ใส่ลงในแปลงปลูกพืชที่มีการระบาดของโรคหลายชนิดเพื่อปรับระดับ pH ของดินและเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคของพืชนั้น พบว่าส่งเสริมการเจริญของเชื้อรา R. lignosus ในทุกระดับความเข้มข้นและไม่ป้องกันการเกิดโรครากขาวของต้นกล้ายาง ส่วนแอมโมเนียมอะซิเตด กรดซุปเปอร์ฟอสฟอริก และกำมะถัน พบว่ายับยั้งการเจริญของเชื้อรา R. lignosus แปรผันตามความเข้มข้นของสาร และสามารถป้องกันการเกิดโรครากขาวของต้นกล้ายางได้ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของ pH และธาตุอาหารพืชบางชนิดต่อการเจริญ และความรุนแรงของเชื้อรา โรครากขาวของยางพารา
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การควบคุมเชื้อรา Rigidoporus lignosus สาเหตุโรครากขาวในยางพารา (Havea brasiliensis Muell. Arg) การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี ความรุนแรงในการก่อโรคและพันธุกรรมในระดับโมเลกุลของเชื้อรา Beauveria bassiana สายพันธุ์ท้องถิ่นที่เป็นผลมาจากอาหารเทียมและวัสดุเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณสำหรับใช้ประโยชน์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชอย่างยั่งยืน พืชร่วมยางที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อราโรครากขาวของยางพารา การเจริญของเชื้อ Macrophomina phaseolina ในส่วนต่าง ๆ ของพืชภายหลังการติดเชื้อของราก ประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมบางชนิดต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา Phytophthora parasitica KK8 ซึ่งเป็นสาเหตุโรคโคนเน่าของพลู ประสิทธิภาพและกลไกของเชื้อรา Trichoderma spp. ในการควบคุมโรคใบร่วงและโรครากขาวของยางพารา และบทบาทในการเป็นจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต ความสามารถของเชื้อราเอนโดไฟท์จากมะเขือเทศ ส้ม และยางพารา ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก