สืบค้นงานวิจัย
ผลของระดับการกินได้พลังงานต่อการผลิตแก๊สมีเทนในโคเนื้อพื้นเมืองไทย และโคพันธุ์บราห์มันลูกผสม
อรัญ พรหมหลวงศรี - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของระดับการกินได้พลังงานต่อการผลิตแก๊สมีเทนในโคเนื้อพื้นเมืองไทย และโคพันธุ์บราห์มันลูกผสม
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of energy intake level on methane production of Thai native and Brahman crossbred cattle
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อรัญ พรหมหลวงศรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Arun Phromloungsri
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระดับการกินได้พลังงานต่อการผลิตแก๊สมีเทนในโคพื้นเมืองไทย และโคบราห์มันลูกผสม น้ำหนักเฉลี่ย 263 + 9 กก. และ 356 + 20 กก. ตามลำดับ วางแผนการทดลองแบบ Replicate 3x3 Latin square โดยมีปัจจัยการทดลองเป็นระดับการกินได้พลังงานที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ 1)0.7xM, 2)1.1xM และ 3)1.5xM (M คือค่าความต้องการพลังงานเพื่อการดำรงชีพ 500 kJ ME/KgBW075/d) พบว่า การกินได้พลังงานรวมของ โคพื้นเมืองไทย (73.96 MJ/d) มีค่าต่ำกว่า (P<0.05)โคพันธุ์บราห์มันลูกผสม (95.49 MJ/d) การการกินได้ของพลังงานรวม เพิ่มขึ้นแบบเส้นโค้งกำลังสอง (P<0.05) (53.04, 95.35 และ 105.79 MJ GE/d) การผลิตแก๊สมีเทนโคพื้นเมืองไทย(97.90 KJIkgBW075)มีแนวโน้มต่ำกว่า(P<0.08)โคพันธุ์บราห์มันลูกผสม(103.06 kJ/kgBW.75) การผลิตแก๊สมีเทนโคพื้นเมือง ไทย(14.73% DEI)มีค่าต่ำกว่า(P<0.05)โคพันธุ์บรห์มันลูกผสม(17.41% DEI) แม้ว่าระดับการกินได้พลังงานที่เพิ่มขึ้น มีต่อการผลิตแก๊สมีเทน(121.28, 222.39, 220.00 L/d) ที่เพิ่มขึ้นแบบเส้นโค้งกำลังสอง (P<0.0) แต่สัดส่วนการแก๊สมีเทน ต่อพลังงานย่อยได้ที่กินได้ (22.45, 13.06 และ 12.70 % DE) และพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ที่กินได้ (31.67, 15.63 และ 15.01 % MEI มีค่าที่ลดลงแบบโค้งกำลังสอง (P <0.05)ตามระดับการกินได้ของพลังงานที่เพิ่มขึ้น ผลการทดลองในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า การผลิตแก๊สมีเทนของโคพื้นเมืองไทยมีค่ต่ำกว่าโคบรห์มันลูกผสมและระดับการกินได้ของพลังงานที่ย่อยได้ และระดับการกินได้ของพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ที่เพิ่มขึ้นสามารถลดการการผลิตแก๊สมีเทนได้
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to focus on effect of energy intake level on methane production. Thai native cattle and Brahman crossbred (262± 9 and 356± 20 kg of BW,respective) were assigned to a replicate 3 × 3 latin squared design in 3 period with 3 feeding levels of the energy intake 1)0.7 M, 2)1.1 M and 3)1.5 M (M=feeding at maintenance level as 500 kJ ME/kgBW0.75/d). The result was found that energy intake of Thai native cattle was lower than Brahman crossbred (P<0.05; 73.96, 95.49 MJ/d). It was a curvilinear affected by energy intake level (P<0.05; 53.04; 95.35 and 105.79 MJ GEI/d). Methane production of Thai native cattle was lower than Brahman crossbred (P<0.05; 14.73 %DEI vs 17.41 %GEI. Total methane production quadratically increased (P<0.05; 121.28, 222.39, 220.00 L/d) when increased energy intake level. However, it was a quadratically decreased when consideration of ratio of methane energy production to digestible energy intake (P<0.05; 22.45, 13.06 and 12.70 % DEI) or metabolisable energy intake (P<0.05; 31.67, 15.63 and 15.01 % MEI). The result of this study indicated that methane production were lower in Thai native than in crossbred Brahman cattle. The increasing of level of digestible energy intake and metabolizable energy intake level can reduce methane production in beef cattle.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=1231.pdf&id=790&keeptrack=13
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของระดับการกินได้พลังงานต่อการผลิตแก๊สมีเทนในโคเนื้อพื้นเมืองไทย และโคพันธุ์บราห์มันลูกผสม
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของระดับการกินได้พลังงานต่อการผลิตแก๊สมีเทนในโคพื้นเมืองไทย และโคพันธุ์บราห์มันลูกผสม ผลของระดับพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ที่กินได้ต่อคุณภาพเนื้อของโคเนื้อพันธุ์พื้นเมืองไทย ผลของระดับพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ที่กินได้ต่อคุณภาพซากในโคเนื้อพันธุ์พื้นเมืองไทย ผลของคุณภาพหญ้าแพงโกล่าต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และการผลิตก๊าซมีเทนในโคเนื้อ ผลของการหมักทางใบปาล์มน้ำมันร่วมกับกากน้ำตาลระดับต่างๆ ต่อปริมาณการกินได้และการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะในโคพื้นเมือง ผลของระดับเอนไซม์ย่อยเยื่อใยในสูตรอาหารผสมสำเร็จต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้และผลผลิตน้ำนม ในโคให้นม ผลของการใช้กลีเซอรีนดิบเป็นแหล่งพลังงานในอาหารต่อการย่อยได้และสมรรถภาพการผลิต ของโคระยะรีดนม ผลของระดับโปรตีนและพลังงานที่กินได้ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตในโคนมที่ได้รับต้นอ้อยตากแห้งเป็นอาหารหยาบหลัก ผลของการเสริมฟางหมักยูเรียเป็นอาหารเยื่อใยเสริมในอาหารผสมครบส่วนต่อปริมาณการกินได้อย่างอิสระ ค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโภชนะผลผลิตสุดท้ายจากกระบวนการหมักในรูเมนและผลผลิตน้ำนมในโครีดนม ผลของการเสริมเอนไซม์ไฟโบรไลติกในอาหารผสมครบส่วนหมักต่อ ปริมาณการกินได้ สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโภชนะและกระบวนการ หมักในกระเพาะรูเมนของโคเนื้อ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก