สืบค้นงานวิจัย
การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลปาฝา อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด
วัลลภ ดิลกสุนทร - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลปาฝา อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วัลลภ ดิลกสุนทร
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลปาฝา อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2546/2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม บางประการ ลักษณะการใช้ปุ๋ยในนาข้าว และปัญหาอุปสรรคของเกษตรกร มีขอบเขตการศึกษาในพื้นที่ตำบลปาฝา 12 หมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง 155 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย ใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นชาย (ร้อยละ 61.30) อายุเฉลี่ย 50.50 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ร้อยละ 67.10) ประสบการณ์ในการทำนามากกว่า 10 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 54.80) เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร (ร้อยละ 83.87) เป็นสมาชิก ธ.ก.ส. (ร้อยละ 41.90) แหล่งเงินทุนที่ใช้ในการทำนา จาก ธ.ก.ส. (ร้อยละ 52.30) มีพื้นที่ทำนาอยู่ระหว่าง 21 - 30 ไร่ (ร้อยละ 42.60) เกษตรกรทั้งหมดทำนาอย่างเดียวปีละครั้ง มีการใช้ปุ๋ยในนาข้าวส่วนใหญ่ปลูกข้าวเจ้า (ร้อยละ 80) ปุ๋ยเคมีที่ใส่ในนาข้าวอัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ (ร้อยละ 58.70) จำนวนที่ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง (ร้อยละ 45.16) คิดเป็นเงิน 200 บาทต่อไร่ (ร้อยละ 79.40) สูตรปุ๋ยเคมีที่ใส่ในระยะข้าวเริ่มสร้างรวงอ่อน สูตร 46 - 0 - 0 (ร้อยละ 84.48) ปริมาณปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรใช้ในนาข้าวมีปริมาณเพียงพอ แหล่งซื้อปุ๋ยเคมีซื้อจากร้านค้าในจังหวัดเป็นเงินสด (ร้อยละ 80.64) และจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวต่อไร่ให้สูงขึ้น การใช้อินทรีย์วัตถุปรับปรุงบำรุงดิน มีการใช้ปุ๋ยคอกเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 65.80) ใส่ในอัตรา 100 - 200 กิโลกรัมต่อไร่ (ร้อยละ 41.17) มีการระบายน้ำออกจากแปลงนาก่อนการใช้ปุ๋ยเคมีให้ระดับน้ำสูงประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร ปุ๋ยเคมีที่ใช้ในพื้นที่ดินทรายใช้สูตรปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารครบทั้ง N - P - K (ร้อยละ 92.90) มีการหว่านปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์กระจายสม่ำเสมอทั้งแปลง (ร้อยละ 92.90) ปุ๋ยเคมีแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ก่อนหว่านในแนวทิศเหนือ - ใต้ ตะวันออก - ตะวันตก (ร้อยละ 90.96) สำหรับปุ๋ยอินทรีย์เกษตรกรไม่จำเป็นต้องแบ่ง (ร้อยละ 87.74) ขณะฝนตกหรือมีน้ำไหลบ่า จะไม่มีการหว่านปุ๋ยเคมี (ร้อยละ 99.40) ปุ๋ยอินทรีย์เกษตรกรทั้งหมดไม่เคยหว่าน เกษตรกรมีการขังน้ำหลังการใส่ปุ๋ยเคมี 1 - 7 วัน (ร้อยละ 92.90) ปุ๋ยอินทรีย์มีการขังน้ำ 1 - 7 วัน เช่นเดียวกัน (ร้อยละ 93.54) ปัญหาอุปสรรคพบว่าดินขาดความอุดมสมบูรณ์ และสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าว (ร้อยละ 80.00) เกษตรกรทั้งหมดขาดน้ำเมื่อฝนทิ้งช่วง ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีปรับปรุงบำรุงดิน (ร้อยละ 99.35) เกษตรกรทั้งหมดมีปัญหาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้องและปุ๋ยราคาแพง วัชพืช ราคาผลผลิตต่ำ และขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตลาดข้าว และปุ๋ย อัตราค่าจ้างแรงงานมีราคาสูง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลปาฝา อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลปาฝา อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลยางใหม่ ปี 2546/2547 อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด การใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลขามเปี้ย อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของกลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านโคก ตำบลบ้านโคก อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร การใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรตำบลลิ้นฟ้า ปี 2546/2547 อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรปีเพาะปลูก 2546 ตำบลเว่อ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรตำบลท่าค้อ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกรตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก