สืบค้นงานวิจัย
การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3
สุรกิตติ ศรีกุล - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3
ชื่อเรื่อง (EN): Testing and Demonstrating of Oil Palm Technology in the Area of the Upper South
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุรกิตติ ศรีกุล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Surakitti Srikul
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: ปาล์มน้ำมัน
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการทดสอบและสาธิตเทคโนโลยี การจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการให้ผลผลิตของ ปาล์มน้ำมัน เพื่อให้ได้เทคโนโลยีกรจัดการสวนที่เหมาะสมสำหรับสวนปาล์มน้ำมันในภาคใต้ตอนบน ทำให้ เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันสามารถเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลสู่ เกษตรกรข้างเคียง ดำเนินการในแปลงปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว อายุ 6-8 ปี จำนวน 16 แปลง แบ่งการ ทดลองเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 การทดลอง set X จำนวน 12 แปลง ในแปลงเกษตรกรจังหวัดชุมพร ระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี กระบี่ และสุราษฎร์ธานี เพื่อเปรียบเทียบการจัดการธาตุอาหาร และการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร (กรรมวิธีที่ 1) กับการจัดการตามวิธีเกษตรกร (กรรมวิธีที่ 2) ชุดที่ 2 การทดลอง set Y จำนวน 4 แปลง ดำเนินการที่แปลงเกษตรกรจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ และ นครศรีธรรมราช เพื่อเปรียบเทียบการจัดการธาตุอาหาร และการจัดการสวนตามคำแนะนำของกรมวิชาการ เกษตร (กรรมวิธีที่ 1) การจัดการธาตุอาหารตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร และการจัดการสวนตามวิธี เกษตรกร (กรรมวิธีที่ 2) การจัดการธาตุอาหารตามวิธีเกษตรกร และการจัดการสวนตามคำแนะนำของกรม วิชาการเกษตร (กรรมวิธีที่ 3) และการจัดการตามวิธีเกษตรกร (กรรมวิธีที่ 4) เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 ถึงเดือนธันวาคม 2560 จากการเก็บตัวใบมาวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร พบว่า ทั้ง 16 แปลง มีการขาดธาตุ ไนโตรเจน และ โพแตสเซียม ได้นำผลการวิเคราะห์ใบไปคำนวณปริมาณธาตุอาหารที่ต้องใสให้ปาล์มน้ำมันใน กรรมวิธีแนะนำของกรมวิชาการเกษตร จากการบันทึกข้อมูลผลผลิต 48 เดือน พบว่า พบว่า กรรมวิธีต่างๆ ให้ ผลผลิตแตกต่างกัน โดยปี 2557, 2558, 2559 และ 2560 มี yield gap ระหว่างกรรมวิธีกรมวิชาการเกษตร กับวิธีของเกษตรกร 34, 265, 680 และ 1,037 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และต้นทุนการผลิตต่อน้ำหนัก ผลผลิตแตกต่างกัน โดยปี 2557 , 2558, 2559 และ 2560 มีค่าความแตกต่างระหว่างกรรมวิธีกรมวิชาการ เกษตร กับวิธีของเกษตรกร -0.05, -0.19, -0.34 และ -0.48 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Office of Research and Development Region 7, together with 6 Agricultural Research and Development Centers has conducted the field trials to test and demonstrate the technology for oil palm plantations in the area of the upper South. This is an important factor affecting the yield of oil palm. In order to handle the technology suitable for oil palm plantations in the upper south. Results from the field trials would yield a suitable technology for growers in the region to taking this into practice to increase oil palm yield or decrease cost of production from the effective use of input. Sixteen oil palm plantations of six to eight years old oil palm trees were selected for the experiments. Two sets of experiment were carried out, set X comprised of 12 field trials located in growers plantations in Chumphon, Ranong, Phang Nga, Krabi and Surat Thani aiming to compare the recommended fertilizers and plantation management of Department of Agriculture (DOA) (Treatment 1) with farmers practice (Treatment 2). Set Y comprised of 4 field trials located in a farmer plantation, Chumphon, Surat Thani and Nakhon Si Thammarat, of which 2 more treatments were added as Treatment 2 where fertilizers were used as recommended but plantation management was applied as farmers practice and Treatment 3 where fertilizers were used as farmers practice but plantation management was applied as recommended. The work has been started from January 2014 to December 2017 . The sampled leaves were analyzed for nutrient concentration and found that 16 plots with nitrogen and potassium deficiency. The results of analysis was calculated the amount of nutrients that must include palm oil in the treatment recommendations of Department of Agriculture. From data of fresh fruit bunch yield of 48 months found that FFB was difference among the treatments. The yield gap for four years were 34, 265, 680 and 1,037 kg per rai per year. In addition, cost of production gap for four years were -0.05, -0.19, -0.34 and -0.48 ฿ per kg, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-06-02
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-06-01
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2559
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3
กรมวิชาการเกษตร
1 มิถุนายน 2560
เอกสารแนบ 1
การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่ 2 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่ 2 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน พัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อในสวนปาล์มน้ำมันเพื่อความยั่งยืนในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน โครงการวิจัยศึกษาระบบการจัดการสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน การศึกษาวิจัยสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน กรณีศึกษา : ปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผักอนามัยของเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง การพัฒนาการผลิตข้าวไร่ในพื้นที่สวนยางพาราและปาล์มน้ำมันภาคใต้ฝั่งตะวันตก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก