สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาวัสดุที่เหมาะสมสำหรับทำน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เพื่อลดเวลาการย่อยสลายฟางข้าวและเพิ่มผลผลิตข้าวในชุดดินหางดง จังหวัดเชียงใหม่
ทิวา ปาตีคำ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การศึกษาวัสดุที่เหมาะสมสำหรับทำน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เพื่อลดเวลาการย่อยสลายฟางข้าวและเพิ่มผลผลิตข้าวในชุดดินหางดง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Appropriate Material for Bioextracts Production with Microbial Activator Super LDD 2 for Decreasing time in Rice Straws Decomposition and Increasing in Rice Yield in Hang Dong Series, Chiangmai
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทิวา ปาตีคำ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Thiwa Pateekum
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุวิมล พุทธจรรยาวงศ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Suwimon Puttajunyawong
คำสำคัญ: ปุ๋ยชีวภาพ
บทคัดย่อ: การทดลองศึกษาวัสดุสำหรับทำน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่เหมาะสมเพื่อลดเวลาในการย่อยสลายฟางข้าว และเพิ่มผลผลิตข้าวในจังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการในพื้นที่หมู่ 12 ตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณพิกัด E483445 N2058912 อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 5 ชุดดินหางดง วางแผนการทดลองแบบ 3 x 3 Factorial in Randomize complete block design (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ดังนี้ ปัจจัยที่ 1 จำนวนวัน (a) ในการหมักตอซัง และฟางข้าว คือ 1. 7 วัน 2. 14 วัน และ 3. 21 วัน ปัจจัยที่ 2 วัสดุที่นำมาใช้ทำน้ำหมักชีวภาพ (b) คือ 1. Control (น้ำเปล่า) 2. น้ำหมักชีวภาพจากพืช 3. น้ำหมักชีวภาพจากสัตว์ จากผลการทดลอง พบว่า น้ำหมักชีวภาพจากสัตว์ให้ปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าน้ำหมักชีวภาพจากพืช จากการทดลองการย่อยสลายฟางข้าวน้ำหมักชีวภาพทั้ง 2 ชนิด ค่า C/N ratio ไม่แสดงผลแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการหมักเพื่อย่อยสลายฟางข้าว ก็ไม่แสดงผลแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน แต่มีแนวโน้มว่า การใช้น้ำหมักชีวภาพจากพืช เมื่อหมักที่ระยะเวลา 14 วันมีการย่อยสลายที่ดีกว่า ค่า C/N ratio เท่ากับ 6.45 ซึ่งอัตราน้ำหมักชีวภาพที่ใช้ในการทดลอง คือ 5 ลิตรต่อไร่ อาจเป็นอัตราที่น้อยเกินไป เนื่องจากมีปริมาณน้ำขังอยู่ในนา จึงทำให้น้ำหมักชีวภาพเจือจางน้อยเกินไป จึงทำให้การทดลองเห็นผลไม่ชัดเจน จึงขอแนะนำให้ใช้ความเข้มข้นน้ำหมักชีวภาพที่สูงขึ้น และการที่ได้ค่า C/N ratio ที่ต่ำมาก นั้นอาจเป็นผลจากการรบกวนของดินที่ติดมากับฟางข้าวที่เก็บมาจากแปลงเพื่อมาวิเคราะห์ แล้วมีผลต่อขบวนการวิเคราะห์การย่อยสลาย คุณสมบัติทางเคมีของดิน ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ปริมาณอินทรีย์วัตถุ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เมื่อเก็บดินหลังการทดลอง พบว่ามีค่าเพิ่มขึ้น ทุกวิธีการ อาจเป็นผลมาจากการกั้นคันดินในแปลงทดลองต่ำไป เมื่อให้น้ำทำให้เกิดการกระจายของน้ำหมักชีวภาพออกไปยังบริเวณแปลงข้าง ๆ การเจริญเติบโตของข้าว พบว่า ระยะเวลาในการหมักฟางข้าว ที่ 21 วัน มีความสูงต้นข้าวแตกต่างจากการหมัก 7 และ 14 วัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านจำนวนต้นต่อกอ และผลผลิตข้าวไม่มีความแตกต่างกัน แต่มีแนวโน้มว่า น้ำหมักชีวภาพจากสัตว์จะให้ปริมาณผลผลิตข้าวมากที่สุด (1,120 กิโลกรัมต่อไร่)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาวัสดุที่เหมาะสมสำหรับทำน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เพื่อลดเวลาการย่อยสลายฟางข้าวและเพิ่มผลผลิตข้าวในชุดดินหางดง จังหวัดเชียงใหม่
ทิวา ปาตีคำ
กรมพัฒนาที่ดิน
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ศึกษาวัสดุสำหรับทำน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่เหมาะสมเพื่อลดเวลาในการย่อยสลายฟางข้าว และเพิ่มผลผลิตข้าวในจังหวัดเชียงใหม่ การทดสอบเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยชีวภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว การเปรียบเทียบชุดเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ร่วมกับปุ๋ยเคมีและเมล็ดพันธุ์ข้าวอัตราแนะนำกับชุดเทคโนโลยีของเกษตรกร เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว การเปรียบเทียบชุดเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ร่วมกับปุ๋ยเคมีและเมล็ดพันธุ์ข้าวอัตราแนะนำกับชุดเทคโนโลยีของเกษตรกร เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว การพัฒนาปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์สำหรับข้าว ศึกษาระยะเวลาการหมักมูลสุกรโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ในการผลิตน้ำหมักเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว ศึกษาการจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยหมักจากวัตถุดิบต่างชนิดร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ที่มีผลต่อผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในจังหวัดร้อยเอ็ด การใช้เชื้อแบคทีเรีย Rhodopseudomonas และ Azospirillum เป็นปุ๋ยชีวภาพสำหรับข้าว การใช้ผลิตภัณฑ์หัวเชื้อจุลินทรีย์ผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และผลผลิตยางพารา จังหวัดมุกดาหาร การวิจัยเบื้องต้นในการใช้ปุ๋ยชีวภาพในนาข้าว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก