สืบค้นงานวิจัย
การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดแพร่-น่าน
วลัยพร แสนวงษ์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดแพร่-น่าน
ชื่อเรื่อง (EN): Rice production potential zoning of Phrae and Nan provinces
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วลัยพร แสนวงษ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Walaiporn Saenwong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวของจังหวัดแพร่และน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2545-550 เพื่อหาแนวทางในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต และใช้ประโยชน์ในการวางแผนการผลิตข้าว โดยนำข้อมูลความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวของดินนามาใช้ร่วมกับผลการสำรวจความอุดมสมบูรณ์ของดิน การใช้พื้นที่นาและการผลิตข้าวของเกษตรกร และทำการทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว และจัดทำแผนที่แสดงศักยภาพผลผลิตข้าวพร้อมคำแนะนำ ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่นาในจังหวัดแพร่และน่านถูกจำกัดด้วยสภาพภูมิประเทศที่ล้อมรอบไปด้วยป่าเขา พื้นที่นาส่วนใหญ่อยู่ในเขตอาศัยน้ำฝน นาในเขตชลประทานและเขตที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์จะถูกใช้ทำประโยชน์ในการปลูกพืชเศรษฐกิจในช่วงฤดูแล้ง ดินนาส่วนใหญ่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าว ในเขตที่มีการปลูกพืชร่วมระบบเกษตรกรนิยมปลูกข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงที่มีอายุสั้น การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราไม่เกิน 5 กิโลกรัมNต่อไร่ สามารถลดต้นทุนการผลิตด้านปุ๋ยได้สูงถึงร้อยละ 70 ส่วนในเขตอาศัยน้ำฝนที่มีการปลูกข้าวเพียงฤดูเดียว การใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน สามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวให้สูงขึ้น และสามารถทำกำไรโดยรวมสูงขึ้นร้อยละ 16.3 หรือคิดเป็นมูลค่าของรายได้จากการขายข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 310.8 ล้านบาท
บทคัดย่อ (EN): In a small paddy area limited by undulating topography, the increasing potentials of rice production by increasing yield and reducing cost are importance. Finding out an appropriate technology for such conditions were carried out in Phrae and Nan provinces during 2002-2007. Under irrigated area, most of paddy areas are used for growing cash crops in dry season, whereas rice-fallow is dominating in rain-fed area. Based on suitability of soil on rice production, soil fertility, introduced in demonstrated technologies to compare with farmers' practices. Results showed that most of rice soils were very suitable. In an irrigated area with rice-crop growing pattern, the application of nitrogen fertilizer of not more than 5 kg N per rai led to maximum decrease in fertilizer input cost by 70 percent.In rain-fed area where rice-fallow is well known, demonstrated technologies led to the increasing of total maximum profit approximately 310.8 millions baht a year in value of paddy.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
เอกสารแนบ: http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/bitstream/001/2142/1/RIC020140a.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 3 ill., 12 tables
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดแพร่-น่าน
กรมการข้าว
2552
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดสุโขทัย การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดสิงห์บุรี การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวในเขตจังหวัดชัยนาท การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดเพชรบุรี การเพิ่มผลผลิตข้าวจากการจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวของภาคใต้ การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าว จังหวัดนครราชสีมา การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศรีสะเกษ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก