สืบค้นงานวิจัย
เปรียบเทียบการเจริญเติบโต อัตรารอด และผลผลิต ระหว่าง ปลานิลเพศผู้ปลานิลแปลงเพศ และปลานิลทริพลอยด์
สมศักดิ์ รุ่งทองใบสุรี - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบการเจริญเติบโต อัตรารอด และผลผลิต ระหว่าง ปลานิลเพศผู้ปลานิลแปลงเพศ และปลานิลทริพลอยด์
ชื่อเรื่อง (EN): Comparison on Growth, Survival Rate and Yield among Ordinary Male,Sex-reversed Male and Triploid Nile Tilapia
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมศักดิ์ รุ่งทองใบสุรี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): male Nile Tilapia , sex reversed, triploid
บทคัดย่อ: การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโต อัตรารอด และผลผลิตระหว่างปลานิลเพศผู้ ปลานิลแปลงเพศ และปลานิลทริพลอยด์ โดยเลี้ยงในถังไฟเบอร์และในกระชัง ณ ศูนย์วิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์น้ำบุรีรัมย์ ระยะเวลาเลี้ยง 4 เดือน ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน 2549 พบว่าการเจริญเติบโตของปลานิล ทั้ง 3 กลุ่ม ที่เลี้ยงในถังไฟเบอร์ มีความยาวเฉลี่ย 25.46±1.23, 25.67±1.80, 25.87±2.00 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 387.27±43.62, 393.80±73.59, 405.33±72.25 กรัม น้ำหนักเพิ่มต่อวัน 2.83±0.07, 2.96±0.04, 3.07±0.10 กรัม/ตัว/วัน และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ 1.91±0.01, 1.94±0.02, 1.99±0.02 %/วัน ตามลำดับ โดยค่าความยาวเฉลี่ยและน้ำหนักเพิ่มต่อวันของปลานิลทั้ง 3 กมไม่มีความแตกด่างกันทางสถิติ (P>0.05) ขณะที่พบว่ามีน้ำหนักเฉลี่ย และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะของปลานิลทริพลอยค์ไม่แตกด่างจากปลานิลแปลงเพศ แต่มีค่าสูงกว่าปลานิลเพศผู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนอัดราการรอดของปลานิลเพศผู้(91.20±5.78 %) ไม่มีความแตกต่างกับปลานิลแปลงเพศ (87.96±4.01%) แต่มีค่าสูงกว่าปลานิลทริพลอยค์ (72.22±3.67 %) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) สำหรับอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อพบ 3 กลุ่มมีค่าเท่ากับ 1.62±0.03,1 .58±0.07, 1.53±0.02 ตามลำดับซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05)นอกจากนี้ดัชนีความสมบูรณ์เพศและผลผลิตเฉลี่ยของปลานิลเพศผู้ ปลานิลแปลงเพศ และปลานิลทริ พลอยด์ มีค่า 0.48±0.31, 0.40±0.27, 0.18±0.13 และ 30.68±0.84 , 20.78±0.68 และ 17.56±0.84 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ซึ่งปลานิลเพศผู้กับปลานิลแปลงเพศมีค่าไม่แตกต่างกัน แต่สูงกว่าปลานิลทริพลอยด์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สำหรับการเลี้ยงปลานิลทั้ง 3 กลุ่มในกระชั่ง พบว่าให้ผลการศึกษาในทำนองเดียวกันโดยปลานิลเพศผู้ ปลานิลแปลงเพศ และปลานิลทริพลอยค์ มีความยาวเฉลี่ย 25.48±1.50, 25.36±1.40 และ 25.65±1.88 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 363.88± 56.97, 384.73±54.55 และ 381.87±57.44 กรัม น้ำหนักเพิ่มต่อวัน 2.71 ±0.12, 2.88±0.06 และ 2.86±0.06 กรัม/ตัว/วัน และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ 1.88±0.03, 1.910.0±2 และ1.91±0.01 %/วัน ส่วนอัตราการรอดและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อมีค่า 88.33±3.63, 86.47±6.25, 69.40±5.33 % และ 1.65±0.04, 1.57±0.07, 1.56±0.07 ดัชนีความสมบูรณ์เพศมีค่า 0.47±0.30, 0.37±0.32, 0.19±0.18 และผลผลิตเฉลี่ย เท่ากับ 17.84±0.36, 18.47±31.02,14.71±0.86 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ปลานิลแปลงเพศ ยังมีความเหมาะสมในการเลี้ยงมากกว่าปลานิลเพศผู้และปลานิลทริพลอยค์ ในระยะเวลาการเลี้ยงทั่วไป (ประมาณ 4 เดือน) ในขณะที่ปลานิลทริพลอยค์ยังมีปัญหาด้านอัตราการรอดตายและผลผลิตที่ต่ำกว่าปลานิลเพศผู้และปลานิลแปลงเพศ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: https://www.fisheries.go.th/genetic/research/details.php?id=282
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เปรียบเทียบการเจริญเติบโต อัตรารอด และผลผลิต ระหว่าง ปลานิลเพศผู้ปลานิลแปลงเพศ และปลานิลทริพลอยด์
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2553
เอกสารแนบ 1
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ ผลการให้อากาศและความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดในการอนุบาลลูกปลานิลแปลงเพศ ทดสอบการเจริญเติบโตของปลานิลลูกผสมกลับรุ่นที่ 2 ในการเลี้ยงของศูนย์วิจัยพันธุกรรมสัตว์น้ำ และฟาร์มของเกษตรกร การเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย และผลผลิตของปลานิลแดงในบ่อพักน้ำเค็ม ผลของระดับโปรตีนและความถี่ในการให้อาหารต่อการเจริญเติบโตของปลานิลแปลงเพศขนาดกลาง การเลี้ยงปลานิลในกระชังด้วยระบบ LVHD (การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นสูง) การแทนที่ปลาป่นด้วยของเหลือใช้จากสัตว์บกในอาหารสำหรับปลานิลแปลงเพศ การเลี้ยงปลานิลเพศผู้ในกระชังในเขื่อลำนางรองด้วยอาหารที่มีโปรตีนต่างกัน 3 ระดับ ผลผลิตปลานิลเพศผู้ในกระชังในการให้อาหารแตกต่างกันในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของปลานิลที่เลี้ยงในน้ำเค็มที่เกิดจากเกลือสินเธาว์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก