สืบค้นงานวิจัย
การศึกษารูปแบบความเชื่อมโยงในจีโนมของลักษณะทางกายวิภาคของรากข้าว
พัณณ์ชิตา เวชสาร - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การศึกษารูปแบบความเชื่อมโยงในจีโนมของลักษณะทางกายวิภาคของรากข้าว
ชื่อเรื่อง (EN): Genome-wide association study of root anatomical traits in rice (Oryza sativa L.)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พัณณ์ชิตา เวชสาร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Phanchita Vejchasarn
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ลักษณะทางกายวิภาคของราก ได้แก่ พื้นที่ตัดขวางของราก (Root Cross-section Area, RXSA) พื้นที่แอเรงคิมา (Aerenchyma Area, AA) จำนวนท่อลำเลียงน้ำ (Number of Meta-xylem Vessels, MXV) และขนาดของท่อลำเลียงน้ำ (Meta-xylem Vessels Area, MXA) พบว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ความสามารถในการลำเลียงน้ำและธาตุอาหาร การส่งผ่านออกซิเจน และความแข็งแรงของราก เมื่อไม่นานมานี้ มีการรายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางพันธุกรรมและความสำคัญของลักษณะทางกายวิภาคของรากข้าวในการเพิ่มประสิทธิภาพการลำเลียงน้ำและธาตุอาหาร อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและรายงานการค้นพบยีนหรือกลไกทางพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะเหล่านี้ยังมีอยู่น้อยมาก งานวิจัยนี้ได้ประเมินลักษณะทางกายวิภาคของรากข้าวที่สำคัญ 4 ลักษณะ ได้แก่ พื้นที่ตัดขวางของราก พื้นที่แอเรงคิมา จำนวนท่อลำเลียงน้ำ และขนาดของท่อลำเลียงน้ำ โดยใช้กลุ่มประชากรข้าว ที่เป็นตัวแทนความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวปลูก (Oryza sativa L.) จำนวนทั้งสิ้น 336 พันธุ์ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าข้าวปลูก มีความหลากหลายทางพันธุกรรมของลักษณะทางกายวิภาคของรากสูง ค่าอัตราพันธุกรรมอย่างกว้าง (Broad-sense Heritability, hB2) อยู่ในเกณฑ์สูง โดยมีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 70-90 แสดงให้เห็นว่าลักษณะเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากยีนโดยตรง การวิเคราะห์รูปแบบความเชื่อมโยงในจีโนมโดยใช้ฐานข้อมูลสนิป จำนวน 44,100 ตำแหน่ง พบว่าสนิปจำนวนทั้งสิ้น 13 ตำแหน่ง มีความสัมพันธ์กับความผันแปรของลักษณะทางกายวิภาคของรากข้าว ความสำเร็จของงานวิจัยนี้จะนำไปสู่การพัฒนาชุดเครื่องหมายดีเอ็นเอเพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการคัดเลือกพันธุ์ (Marker-assisted Selection, MAS) ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Root anatomical traits, which include cortical area, aerenchyma area, and xylem features, influence the absorption and translocation of water and nutrients, oxygen transport and the mechanical strength of the root system. While a number of studies have shown promising functional benefits of anatomical root traits in conferring resource acquisition efficiency, very little is known about the genetic mechanisms underlying natural phenotypic variation of these traits. In this study, we evaluated 336 Oryza sativa accessions selected from the rice diversity panel for 4 root anatomical traits including, root cross-section area, aerenchyma, and xylem features in well-controlled greenhouse environment. Considerable phenotypic variation was observed in all root traits measured among accessions and sub-populations. Broad-sense heritability estimates were relatively high for all traits, suggesting that these traits are under strong genetic control. Genome wide association (GWA) analysis was performed using a set of 44,100 single nucleotide polymorphisms (SNPs) to identify significant loci controlling root anatomical traits. A total of 13 loci significantly associated with anatomical root traits were identified. These identified loci for anatomical root traits may be useful for improving resource acquisition efficiency of rice by marker assisted selection (MAS).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/329842
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษารูปแบบความเชื่อมโยงในจีโนมของลักษณะทางกายวิภาคของรากข้าว
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ลักษณะของต้นและรากข้าวเพื่อการแข่งขันกับวัชพืช คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105 การแข่งขันระหว่างข้าวกับวัชพืชจากการใส่ปุ๋ยรองพื้นระยะเวลาต่างๆ ในนาหว่านข้าวแห้ง การพัฒนาพันธุ์ข้าวแข่งขันกับวัชพืช : ลักษณะของต้นและรากข้าวเพื่อการแข่งขันกับวัชพืช รูปพรรณข้าวขึ้นน้ำผลผลิตสูง ผลของระยะปักดำต่อผลผลิตและการเป็นโรคจู๋ของข้าว ดัชนีความไวของข้าวบางพันธุ์ที่มีต่อช่วงแสงตามธรรมชาติ ลักษณะทางสัณฐานวิทยา กายวิภาคศาสตร์และคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดข้าวขึ้นน้ำและข้าวน้ำลึกในภาคตะวันออกของประเทศไทย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก