สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องบดแห้งและทอดทุเรียน
ชัยวัฒน์ เผ่าสันทัดพาณิชย์, วิบูลย์ เทเพนทร์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องบดแห้งและทอดทุเรียน
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Durian Miller and Vacuum Fryer
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้เป็นการออกแบบและพัฒนาเครื่องบดแห้งทุเรียนเพื่อทำทุเรียนผง และออกแบบพัฒนาเครื่องทอดสุญญากาศ โดยเครื่องบดต้นแบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นประกอบ ด้วยส่วนสำคัญสองส่วนคือ ส่วนแรกชุดบดหยาบเป็นแบบใบมีดตีผ่านตะแกรงรูกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร ส่วนที่สองเป็นชุดบดละเอียดแบบ Pin mill มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางจานบด 240 มิลลิเมตร โดยที่จานบดมีซี่ฟันติดอยู่ ในการทดสอบซี่ฟัน 2 แบบคือ แบบแท่งสี่เหลี่ยมและแบบแท่งกลม ผลการทดสอบ พบว่า ประสิทธิภาพการบดไม่แตกต่างกัน โดยจานบดหมุนด้วยความเร็วรอบ 2,900 รอบ/นาที ใช้ต้นกำลังเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 3 แรงม้า โดยมีอัตราการบดที่ 80 กิโลกรัม/ชั่วโมง ผลการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ โดยประมาณราคาเครื่องบดทั้งชุดที่ราคา 60,000 บาท มีต้นทุนการบด 1.11 บาท/กิโลกรัมทุเรียนผง มีจุดคุ้มทุนที่ 15,640 กิโลกรัม/ปีในกรณีรับจ้างบด ระยะเวลาคืนทุน 2.34 ปี สำหรับเครื่องทอดสุญญากาศที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมีส่วนประกอบส่วนที่สำคัญหกส่วนคือ ถังทอดแบบทรงกระบอกแนวตั้ง ภายในมีตะกร้าสำหรับใส่ทุเรียนที่จะทอดขนาดความจุได้ 5 กิโลกรัม ตะกร้านี้จะติดอยู่กับเพลาที่หมุนได้ ใช้ในการสลัดน้ำมันออกหลังการทอด โดยสามารถปรับความเร็วรอบได้ ส่วนที่สองเป็นระบบให้ความร้อนกับน้ำมันทอด แบบผ่านตัวกลางที่ใช้น้ำมันถ่ายเทความร้อน เชื้อเพลิงที่ใช้เป็นแก๊สหุงต้ม ส่วนที่สามเป็นถังพักและสำรองน้ำมันที่ใช้ในการทอดขนาดความจุ 100 ลิตร ส่วนที่สี่ระบบปั๊มหมุนเวียนน้ำมันทอดออกจากถัง ส่วนที่ห้าคือ ระบบชุดดักไอเดือดของน้ำและน้ำมันที่ออกจากถังทอดไม่ให้เข้าไปยังปั๊มสุญญากาศ และส่วนที่หก เป็นระบบปั๊มสุญญากาศที่ทดสอบมี 2 แบบคือ แบบ Mechanical Booster Pump และแบบ Water Jet ผลการทดสอบใช้ทุเรียนดิบหั่นเป็นชิ้นจำนวน 5 กิโลกรัม มีสภาวะการทอดที่เหมาะสมที่อุณหภูมิ 85 OC ที่ระดับสุญญากาศ 720-740 มิลลิเมตรปรอท ใช้เวลาในการทอดนาน 35 นาที และสลัดน้ำมันออก 20 นาที ได้ผลิตภัณฑ์หลังการทอด 2 กิโลกรัม และในการทดสอบทอดทุเรียนสุกหั่นเป็นชิ้นจำนวน 5 กิโลกรัม อุณหภูมิการทอดที่เหมาะสมที่ 85 OC ที่ระดับสุญญากาศ 720-740 มิลลิเมตรปรอท ใช้เวลาในการทอด 40 นาที และเวลาในการสลัดน้ำมัน 30 นาที ได้ผลิตภัณฑ์หลังทอดจำนวน 2.1 กิโลกรัม
บทคัดย่อ (EN): This research project was to design and develop a durian miller and a vacuum fryer. The prototype of durian miller consisted of two parts: first part was rotating blade set and perforated metal sheet having 3 mm hole diameter; The second part in a series was pin mill having diameter 240 mm plate. Two types of tooth, the rectangular bar and the cylindrical bar were tested. Tests result found that the milling performance was not different at the rotation speed of 2,900 rpm. The prototype using 3 hp electric motor had a milling capacity of 80 kg per hour. Economic impact analysis of the estimated price of the prototype at price 60,000 baht cost 1.11 baht per kilogram durian flour and break event point was 15,640 kilograms per year. Return back period was 2.34 years in the case of hiring service. The prototype of the vacuum fryer designed composed of 1) a tightly closed vertical cylindrical frying tank equipped inside with a frying basket of 5 kg capacity and the built-in oil separator; 2) heating system using heat transfer oil medium and liquid petroleum gas fuel; 3) a stocked oil tank; 4) pipes and pumping system to circulate the frying oil out of the frying compartment; 5) water and oil vapor condensers and 6) vacuum pump type mechanical booster pump or water jet type. The prototype of vacuum fryer tested with sliced un-ripe durian 5 kg at the vacuum 720-740 mm Hg the optimum condition was at the frying oil temperature at 85 ?C for 35 minutes followed by separating of oil from the fried product for 20 minutes. Two kilograms of vacuum fried durian was obtained. For frying sliced ripe durian 5 kg at the vacuum 720-740 mm Hg the optimum condition was at the of frying temperature at 85 ?C for 40 minutes followed by separating of oil from the fried product for 30 minutes. 2.1 kg of vacuum fried durian was obtained.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องบดแห้งและทอดทุเรียน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2551
โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องอบแห้งลำไย โครงการวิจัยทดสอบและพัฒนาเครื่องทอดสุญญากาศสำหรับเนื้อลำไย โครงการวิจัยศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีการอบแห้งเนื้อมังคุดด้วยเครื่องอบแห้งลมร้อน โครงการวิจัยทดสอบและพัฒนาเครื่องอบแห้งผลไม้สำหรับอบเนื้อลำไย โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการอบลดความชื้นสำหรับทำพริกแห้ง การวิจัยและพัฒนาเครื่องต้นแบบเครื่องระเหยสารภายใต้ระบบสุญญากาศ และเครื่องอบแห้งด้วยพลังงานไมโครเวฟสำหรับการอบแห้งและสกัดสารจากพืชสมุนไพรบนพื้นที่สูง การวิจัยและพัฒนาเครื่องมือทดสอบการวัดความแก่อ่อนของทุเรียนแบบไม่ทำลาย ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาทุเรียน การสร้างเครือข่ายและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนนอกฤดูกาล ในจังหวัดนครศรีธรรมราช การใช้ประโยชน์ทุเรียนดิบบดแห้งที่ทำจากทุเรียนดิบพันธุ์หมอนทอง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก