สืบค้นงานวิจัย
ระบบการผลิตและเกษตรดีที่เหมาะสมของชมพู่ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
กวิศร์ วานิชกุล - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: ระบบการผลิตและเกษตรดีที่เหมาะสมของชมพู่ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่อง (EN): Production System and Good Agricultural Practice of Java Apple [Syzygium samarangense (Blume) Merr. & Perry] in Sam Phran District, Nakhon Pathom Province
บทคัดย่อ: การศึกษาระบบการผลิตและเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ในการผลิตชมพู่ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยใช้การสัมภาษณ์เกษตรและการค้นคว้าข้อมูลทุติยภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงระบบการผลิตและแนวทางการใช้เกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตชมพู่ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่า เกษตรส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นส่วนใหญ่ พื้นที่ปลูกเฉลี่ย 6.8 ไร่ต่อราย เป็นสวนแบบยกร่อง ระยะปลูก 4 x 6 เมตร ปลูกพันธุ์ทับทิมจันท์ ให้น้ำโดยใช้เรือรดน้ำ ให้ปุ๋ยทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี มีการตัดแต่งควบคุมทรงพุ่ม มีการปลิดผลอ่อนบางส่วนและห่อผลด้วยถุงพลาสติกหูหิ้วสีขาวขนาด 8 x 16 นิ้ว ควบคุมโรคและแมลงโดยใช้สารเคมี กำจัดวัชพืชโดยวิธีกลร่วมกับการใช้สารเคมี มีการผลิตนอกฤดูโดยใช้สารพาโคลบิวทราโซล ผลผลิตเฉลี่ย 2115 กิโลกรัม/ไร่/ปี มีการคัดเกรดชมพู่ก่อนจำหน่าย ขายผลิตผลให้กับพ่อค้าขายส่งเป็นส่วนใหญ่ รอบของการปลูกใหม่ 10 ปี ในด้านเกษตรดีที่เหมาะสม พบว่า แหล่งน้ำ พื้นที่ปลูก การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผลภายในสวน ตรงตามข้อกำหนดเกษตรดีที่เหมาะสม ของกรมวิชาการเกษตร แต่การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร การจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพ สุขลักษณะส่วนบุคคล และการบันทึกข้อมูล ยังไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเกษตรดีที่เหมาะสม ซึ่งเป็นสิ่งที่เกษตรกรต้องปรับปรุง การนำเกษตรดีที่เหมาะสมมาใช้ในการผลิตชมพู่ในเขตอำเภอสามพรานมีความเป็นไปได้ มีการยอมรับของเกษตรกรสูงถึงร้อยละ 77 การศึกษาระบบการผลิตและเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ในการผลิตชมพู่ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยใช้การสัมภาษณ์เกษตรและการค้นคว้าข้อมูลทุติยภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงระบบการผลิตและแนวทางการใช้เกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตชมพู่ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่า เกษตรส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นส่วนใหญ่ พื้นที่ปลูกเฉลี่ย 6.8 ไร่ต่อราย เป็นสวนแบบยกร่อง ระยะปลูก 4 x 6 เมตร ปลูกพันธุ์ทับทิมจันท์ ให้น้ำโดยใช้เรือรดน้ำ ให้ปุ๋ยทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี มีการตัดแต่งควบคุมทรงพุ่ม มีการปลิดผลอ่อนบางส่วนและห่อผลด้วยถุงพลาสติกหูหิ้วสีขาวขนาด 8 x 16 นิ้ว ควบคุมโรคและแมลงโดยใช้สารเคมี กำจัดวัชพืชโดยวิธีกลร่วมกับการใช้สารเคมี มีการผลิตนอกฤดูโดยใช้สารพาโคลบิวทราโซล ผลผลิตเฉลี่ย 2115 กิโลกรัม/ไร่/ปี มีการคัดเกรดชมพู่ก่อนจำหน่าย ขายผลิตผลให้กับพ่อค้าขายส่งเป็นส่วนใหญ่ รอบของการปลูกใหม่ 10 ปี ในด้านเกษตรดีที่เหมาะสม พบว่า แหล่งน้ำ พื้นที่ปลูก การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผลภายในสวน ตรงตามข้อกำหนดเกษตรดีที่เหมาะสม ของกรมวิชาการเกษตร แต่การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร การจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพ สุขลักษณะส่วนบุคคล และการบันทึกข้อมูล ยังไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเกษตรดีที่เหมาะสม ซึ่งเป็นสิ่งที่เกษตรกรต้องปรับปรุง การนำเกษตรดีที่เหมาะสมมาใช้ในการผลิตชมพู่ในเขตอำเภอสามพรานมีความเป็นไปได้ มีการยอมรับของเกษตรกรสูงถึงร้อยละ 77
บทคัดย่อ (EN): A study on production system and good agricultural practices (GAP) of Java apple production in Sam Phran district, Nakhon Pathom province was done by interviewing farmers and collecting secondary data. The objectives of this study were to reveal a current production system and the possibility of GAP application. It was found that most of the farmers were 41-50 years old with primary education. Family members were the main source of labor. The average growing area was 6.8 rai per orchard. The orchards were raised bed system with a planting distance of 4 x 6 meters. ‘Thabtimchan’ was the main cultivar grown in this area. Irrigated boat was used for irrigation. Manure and chemical fertilizer were used and the java apple trees were trained and pruned. Fruits were thinned and bagged with 8 x 16 inches white PVC plastic bag. Pests were controlled by pesticides and weeds were controlled by both mechanical and chemical method. Off-season production was done through paclobutrazol application. The average yield was 2,115 kg/rai/year. The fruits were graded before selling. The trees were regrown in ten years cycle. The analysis of GAP application found that water resource, growing area, harvest and postharvest, short term storage and transport in the field matched with provisions GAP of the Department of Agriculture, but the application of pesticides, quality management in the production process before harvest, personal hygiene, and data recording needed to improve toward the matching with provisions GAP of the Department of Agriculture. It is possible to use GAP in Java apple production in Sam Pran district, Nakhon Pathom province and highly acceptance by farmers (77 %) was also found in this study. A study on production system and good agricultural practices (GAP) of Java apple production in Sam Phran district, Nakhon Pathom province was done by interviewing farmers and collecting secondary data. The objectives of this study were to reveal a current production system and the possibility of GAP application. It was found that most of the farmers were 41-50 years old with primary education. Family members were the main source of labor. The average growing area was 6.8 rai per orchard. The orchards were raised bed system with a planting distance of 4 x 6 meters. ‘Thabtimchan’ was the main cultivar grown in this area. Irrigated boat was used for irrigation. Manure and chemical fertilizer were used and the java apple trees were trained and pruned. Fruits were thinned and bagged with 8 x 16 inches white PVC plastic bag. Pests were controlled by pesticides and weeds were controlled by both mechanical and chemical method. Off-season production was done through paclobutrazol application. The average yield was 2,115 kg/rai/year. The fruits were graded before selling. The trees were regrown in ten years cycle. The analysis of GAP application found that water resource, growing area, harvest and postharvest, short term storage and transport in the field matched with provisions GAP of the Department of Agriculture, but the application of pesticides, quality management in the production process before harvest, personal hygiene, and data recording needed to improve toward the matching with provisions GAP of the Department of Agriculture. It is possible to use GAP in Java apple production in Sam Pran district, Nakhon Pathom province and highly acceptance by farmers (77 %) was also found in this study.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระบบการผลิตและเกษตรดีที่เหมาะสมของชมพู่ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2555
สภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรที่เข้าร่วมระบบการผลิตตามการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี การปฏิบัติตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับหน่อไม้ฝรั่งของเกษตรกรจังหวัดนครปฐม ปี 2547 การพัฒนาระบบเกษตรดีที่เหมาะสมเพื่อผลิตผักพื้นบ้านบางชนิด การผลิตแห้วจีนตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี การผลิตหน่อไม้ฝรั่งเพื่อการส่งออกตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม จังหวัดกาญจนบุรี ปี 2547 การผลิตพริกตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) การพัฒนาระบบการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในพื้นที่นา ในเขตรับน้ำชลประทาน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม การยอมรับการผลิตข้าวโพดหวานตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของเกษตรกร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตกล้วยไม้แบบเกษตรดีที่เหมาะสมกับแบบทั่วไป การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตหอมแดงตามระบบจัดการคุณภาพเกษตรดีที่เหมาะสม ของเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก