สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตแก้วมังกร
ทวีศักดิ์ แสงอุดม - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตแก้วมังกร
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Production Technology for Dragon Fruit
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทวีศักดิ์ แสงอุดม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ทวีศักดิ์ แสงอุดม
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตแก้วมังกร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและจัดการธาตุอาหารในแต่ระยะการพัฒนาการของต้น ดอก และผล ศึกษาโรคที่สำคัญ สาเหตุและการป้องกันกำจัด รวมทั้งการปรับปรุงพันธุ์แก้วมังกร ดำเนินการปี 2552 -2553 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสวนเกษตรกร ผลการทดลองพบว่าโรคที่สำคัญของแก้วมังกรได้แก่ โรคเน่าเปียก (wet rot) โรคผลเน่า (Fruit rot) โรคลำต้นจุด (Stem spot)และโรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) โดยโรคเน่าเปียกพบสาเหตุคือรา Chaonephora sp. และ Aspergillus niger พบราทั้งสองชนิดนี้เข้าทำลายส่วนของดอกแก้วมังกร โรคผลเน่าพบการเข้าทำลายของรา ได้แก่ Bipolaris cactivora, Colletotrichum capsici, C. gloeosporioides และ Dothiorella sp. และรา C. capsici มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคและความรุนแรงของโรคมากที่สุดเท่ากับ 32.50 และ 10.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โรคลำต้นจุดเชื้อสาเหตุคือรา Dothiorella sp. พบการเกิดโรคและความรุนแรงของโรคมากที่สุดในจังหวัดจันทบุรี มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคและความรุนแรงของโรคเท่ากับ 65.30 และ 82.50 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และพบว่าการจัดการควบคุมโรคพืชโดยวิธีเขตกรรม ได้แก่ การตัดแต่งกิ่ง และการเก็บส่วนที่เป็นโรคออกจากแปลงปลูกเป็นการป้องกันกำจัดโรคพืชเบื้องต้น ด้านการศึกษาความต้องการธาตุอาหารดำเนินการเก็บตัวอย่างดินในทรงพุ่มต้นทดลอง สุ่มเก็บตัวอย่างใบในแต่ละช่วงพัฒนาการดอก ติดผล และช่วงหลังการเก็บในรอบปีเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการธาตุอาหารตามความต้องการของพืช ส่วนการปรับปรุงพันธุ์ได้สำรวจและรวบรวมสายพันธุ์/ชนิดพันธุ์ ที่ปลูกในประเทศ และพันธุ์ที่มาจากต่างประเทศ โดยรวบรวมได้ทั้งหมด 11 ชนิด มีทั้งชนิดเนื้อขาวเปลือกแดง และเนื้อแดงเปลือกแดงได้แก่ Hylocereus escuintlensis, H. costericensis, H. lemairei, H. estebanensis, H. polyrhizus 62840, H. bronxensis, H. venezuelensis, H. ocamponis, H. undatus Namibia, H. polyrhizus H. undatus No.100, H. undatus พันธุ์ชมพูนมเย็น พันธุ์ชมพูบานเย็น และพันธุ์แดงดวงจินดา และพบว่าแก้วมังกรสายพันธุ์ H. undatus No.100, bronxensis, H. venezuelensis และ H. undatus Namibia มีการเจริญเติบโตช้า H. undatus พันธุ์ชมพูนมเย็น พันธุ์ชมพูบานเย็น และพันธุ์แดงดวงจินดา มีการเจริญเติบโตในระดับดีมาก สายพันธุ์ H. undatus No.100 เริ่มออกดอก สายพันธุ์ H. costericensis, H. estebanensis, H. ocamponis และ H. polyrhizus มีการเจริญเติบโตในระดับดีปานกลาง ด้านแมลงศัตรูที่พบส่วนใหญ่เป็นหอยและหนอนกัดกินใบอ่อน แต่ทั้ง 2 การทดลองได้รับเงินสนับสนุนเฉพาะปี 2552 ทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
บทคัดย่อ (EN): To study the production technology of Dragon fruit, this research had the objectives to understand in plant breeding, plant nutrient management, and plant disease. The experiments were conducted at Chanthaburi Horticulture Research Center, Plant Protection Research and Development Office, and farmers orchard during 2009-2010. Survey and collecting of Dragon fruit species from both domestic and foreign country obtain 11 species, Hylocereus escuintlensis, H. costericensis, H. lemairei, H. estebanensis, H. polyrhizus 62840, H. bronxensis, H. venezuelensis, H. ocamponis, H. undatus ‘Namibia’, H. polyrhizus, H. undatus No.100, and H. undatus. It has been found that H. undatus No.100 and H. undatus had high growth rate and only H. undatus No.100 had flower initiation. H. costericensis, H. estebanensis, H. ocamponis, and H. polyrhizus had moderate growth rate. H. escuintlensis, H. lemairei, H. polyrhizus 62840, H. bronxensis, H. venezuelensis, and H. undatus ‘Namibia’ had slow growth rate. On insect pest problem, it was found that snail and leaf-eating caterpillar were the most. To study on nutritional requirement of Dragon fruit, soil and samples in different stages of plant development were collected and analyzed for using in plant nutrient management. To identify on plant pathology, the result had been shown that wet rot, fruit rot, stem spot, and anthranose were the important diseases of Dragon fruit. Wet rot, caused by Chaonephora sp. and Aspergillus niger, destroyed flowers. Fruit rot caused by Bipolaris cactivora, Collectotrichum capsici, C. gloeosporioides and Dothiorella sp. and C. capsici had high symptom appearances and violent disease, 32.5 and 10% consequently. Stem spot, caused by Dothiorella sp. which was the highest of symptom appearances and violent disease, 65.3 and 82.5% respectively. Disease controlling by cultural practice included pruning was primary protection.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตแก้วมังกร
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแก้วมังกร โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพของแก้วมังกรในจังหวัดระยอง แก้วมังกร กระบองเพชรทานได้ ผลไม้สุขภาพ การจัดการดินที่เหมาะสมร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ พด. 12 ต่อการเพิ่มผลผลิตแก้วมังกร ในดินทราย เทคโนโลยีการผลิตน้อยหน่า และน้อยหน่าลูกผสม การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดคั่ว โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก