สืบค้นงานวิจัย
ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของการเลี้ยงปลาหมอไทยในกระชังในที่ดินพรุ จังหวัดนราธิวาส
อนันต์ สี่หิรัญวงศ์ - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของการเลี้ยงปลาหมอไทยในกระชังในที่ดินพรุ จังหวัดนราธิวาส
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Stocking Dendity on Growth and Yield of Climbing perch , Anabas testudineus(Bloch), Cultured in Cage in Peat Swamp Area, Narathiwat Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อนันต์ สี่หิรัญวงศ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เจริญไชย ศรีสุวรรณ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของการเลี้ยงปลาหมอไทยในกระชัง ขนาด 2x2x1.5 เมตร ในพื้นที่ดินพรุ จังหวัดนราธิวาส ด้วยอัตราความหนาแน่น 3 ระดับ คือ 50, 100 และ 150 ตัว /ตารางแมตร โดยใช้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ มีองค์ประกอบของโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์ ปล่อยปลาขนาดความยาวเฉลี่ย 4.87, 4.87 แเละ4.93 เซนติเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 2.10, 2.13 และ2.13 กรัมตามลำดับ เป็นระยะเวลา 9 เดือน ผลการทดลองปรากฏว่า ผลผลิตปลาที่ได้มีความยาวเฉลี่ย 15.97, 15.20 และ 14.90 เซนติเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 70.80, 62.17 และ57.93 กรัมตามลำดับ ซึ่งการเจริญเติบโตของปลาหมอไทยทั้งด้านความยาวและน้ำหนักไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ในขณะที่อัตรารอดตายเฉลี่ยมีค่า 93.00, 79.58 และ74.05 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และจากผลการวิเคราะห์ทางสถิดิพบว่าที่ระดับความหนาแน่น/ตารางแมตร มีอัตรารอดตายสูงกว่าที่ระดับ 100 และ 150 ต้ว/ตารางแมตร อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เมื่อพิจารณาทั้งด้านการเจริญเติบโต อัตรารอดตาย และต้นทุนการผลิตของการทดลองครั้งนี้แล้ว ที่ระดับความหนาแน่น 50 ตัว/ตารางเมดร เป็นระดับที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2541
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2541
เอกสารแนบ: http://inlandfisheries.go.th/research/details.php?id=152
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของการเลี้ยงปลาหมอไทยในกระชังในที่ดินพรุ จังหวัดนราธิวาส
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2541
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
การทดลองเลี้ยงปลาหมอในปอซีเมนต์ ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ การเลี้ยงปลาชะโอนในกระชังที่ความหนาแน่นแตกต่างกัน 2 ช่วงอายุ การเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชังที่มีระดับความลึกของกระชังและความหนาแน่นแตกต่างกัน การเลี้ยงปลาเสือพ่นน้ำในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นต่างกัน การเลี้ยงปลาเทโพในกระชังที่ความหนาแน่นแตกต่างกันในบึงบอระเพ็ด การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของปลาเสือตอที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีชีวิต การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ปลาหมอไทยเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต การเลี้ยงปลาสายยูในบ่อดินที่ระดับความหนาแน่นต่างกัน การเลี้ยงปลาหมอในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกัน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก