สืบค้นงานวิจัย
การใช้ถ่านชีวมวลจากเปลือกไม้ยูคาลิปตัสเพื่อปรับปรุงดินกรดเพื่อปลูกข้าวในพื้นที่ภาคกลาง
สุรชัย พัฒนพิบูล, กัญจน์รัชต์ ลชิตาวงศ์, ศิริวรรณ แดงภักดี, ขวัญหทัย ปั้นศรี - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การใช้ถ่านชีวมวลจากเปลือกไม้ยูคาลิปตัสเพื่อปรับปรุงดินกรดเพื่อปลูกข้าวในพื้นที่ภาคกลาง
ชื่อเรื่อง (EN): Using Biochar from Eucalyptus Bark to Improve Acid Soils For Rice Cultvation in the central of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในดินภายใต้โปรแกรมการจัดการดินและปุ๋ยร่วมกับการไถกลบพืชปุ๋ยสด สำหรับการปลูกข้าวโพดหวานในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย ดำเนินการในปี 2557-2558 ณ สถานีพัฒนาที่ดินนครปฐม วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้พืชตระกูลถั่วร่วมกับปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน และศึกษาประสิทธิภาพการใช้พืชตระกูลถั่วร่วมกับปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวาน วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 8 ตำรับการทดลอง คือ 1.ไม่ไถกลบพืชตระกูลถั่วและไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 2.ไถกลบพืชตระกูลถั่ว 3.ไถกลบพืชตระกูลถั่วร่วมกับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนตามคำแนะนำโปรแกรมปุ๋ยรายแปลง 4.ไถกลบพืชตระกูลถั่วร่วมกับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ? ตามคำแนะนำโปรแกรมปุ๋ยรายแปลง 5.ไถกลบพืชตระกูลถั่วร่วมกับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนตามค่าวิเคราะห์ดิน น้ำยา Double Acid 6.ไถกลบพืชตระกูลถั่วร่วมกับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ? ตามค่าวิเคราะห์ดิน น้ำยา Double Acid 7.การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำโปรแกรมการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง 8.การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน น้ำยา Double Acid ผลการทดลอง พบว่า การทดลองปีที่ 1 การไม่ไถกลบพืชตระกูลถั่วและการไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ 6.4 และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับวิธีการไถกลบพืชตระกูลถั่วร่วมกับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 5 และ 10 กิโลกรัมต่อไร่ และการไถกลบพืชตระกูลถั่ว ทำให้มีปริมาณไนโตรเจนในดินสูงสุด คือ 0.1433 เปอร์เซ็นต์ การทดลองปีที่ 2 การไม่ไถกลบพืชตระกูลถั่วและการไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ 7.0 และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำโปรแกรมการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลงและการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน น้ำยา Double Acid (46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่) และการไถกลบพืชตระกูลถั่ว ทำให้มีปริมาณไนโตรเจนในดินเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ 0.112 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับวิธีการอื่น ๆ ประสิทธิภาพของวิธีการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีไนโตรเจนเพียงอย่างเดียวตามคำแนะนำโปรแกรมการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลงและวิธีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน น้ำยา Double Acid (46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่) ทำให้ผลผลิตข้าวโพดเฉลี่ยสูงสุดทั้ง 2 ปีการทดลอง โดยปีที่ 1 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,899.25 และ 1,817.18 กิโลกรัมต่อไร่ และปีที่ 2 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,183.06 และ 1,892.78 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับวิธีการอื่น ๆ
บทคัดย่อ (EN): An efficiency of nitrogen application under soil and fertilizer management with green manure plowing program for sweet corn plantation in central part of Thailand in 2014-2015 at Nakhon Pathom Land Development Station. The objectives of the study were to compare the efficiency of legumuninosae plantation with chemical fertilizer as the soil analysis effected to soil chemical change, and investigate the efficiency of leguminosae plantation with chemical fertilizer as the soil analysis effected to the growth and the product of sweet corn. The Randomized Complete Block was selected as the experimental design, 3 replications and eight sub-treatments such as 1) no leguminosae plowing and no nitrogen fertilizer 2) leguminosae plowing 3) leguminosae plowing and nitrogen filling 4) leguminosae plowing with half of nitrogen filling 5) leguminosae plowing with nitrogen filling and double acid 6) leguminosae plowing with half nitrogen filling and double acid 7) filling the fertilizer depend on soil and fertilizer program and 8) filling the fertilizer depend on double acid. The result of the study were as follows; 1st year experiment, no leguminosae plowing and no nitrogen filling effected to soil acidity as minimum = 6.4. There was the different statistical significance between leguminosae plowing and nitrogen filling as 5 and 10 kilogram/rai. The maximum nitrogen in the soil was 0.1433% for the leguminosae plowing. 2nd year experiment, no leguminosae plowing and no nitrogen filling effected to soil acidity as minimum = 7.0. There was the different statistical significance between soil and fertilizer management program as the soil analysis by double acid (46-0-0 ; rating of 10 kilogram/rai) Also, leguminosae plowing produced nitrogen in soil maximum as 0.112% with non different statistical significance. The efficiency of using nitrogen as chemical fertilizer under soil and fertilizer management program and using double acid (46-0-0 ; rating of 10 kilogram/rai) produced maximum sweet corn production both 2 years of experiment. The 1st year produced average production 1,899.25 and 1,817.18 kilogram/rai and the 2nd year produced average production 2,183.06 and 1,892.78 kilogram/rai, but there was no different statistical significance.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th//Search/SearchDetail/292527
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ถ่านชีวมวลจากเปลือกไม้ยูคาลิปตัสเพื่อปรับปรุงดินกรดเพื่อปลูกข้าวในพื้นที่ภาคกลาง
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร เทคโนโลยีการใช้ถ่านเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเพิ่มผลผลิตข้าวขาวมะลิ 105 ภายใต้สภาพดินเค็ม ผลของการปรับปรุงดินกรดด้วยถ่านชีวภาพต่อชนิดและปริมาณจุลินทรีย์ในการปลูกข้าว การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ไม้ยูคาลิปตัสเพื่อผลิตไม้แปรรูป การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับให้คำแนะนำปุ๋ยในการปลูกข้าว ในจังหวัดเชียงใหม่ การใช้ค่าวิเคราะห์ดิน ผลผลิตที่คาดหวัง และธาตุอาหารหลักในผลผลิตเพื่อกำหนดอัตราการใส่ปุ๋ยสำหรับข้าว ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก การจัดการดินกรดด้วยวัสดุปรับปรุงบำรุงดินและพืชปุ๋ยสด เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าวพื้นที่นาขั้นบันได ชุดดินหนองมด จังหวัดเชียงราย ผลของการใช้วัสดุปรับปรุงดินชนิดต่างๆร่วมกับโดโลไมท์ในการปรับปรุง นาข้าวดินกรด ในกลุ่มชุดดินที่ 22 จังหวัดชัยภูมิ การใช้ข้อมูล RADARSAT-1 SAR (standard mode) เพื่อทำแผนที่แสดงพื้นที่ปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การสำรวจและจำแนกพื้นที่ปลูกข้าวไร่และข้าวนาที่สูง เพื่อบ่งชี้สภาวะวิกฤติจากสภาพดินกรด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก