สืบค้นงานวิจัย
การตลาดและศักยภาพการผลิตหนอนนกเป็นเชิงการค้าในประเทศไทย
ดำรง ลีนานุรักษ์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การตลาดและศักยภาพการผลิตหนอนนกเป็นเชิงการค้าในประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Marketing and Potential of Commercial Mealworms (Tenebrio molitorL.) Productionin Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดำรง ลีนานุรักษ์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการตลาดและศักยภาพการผลิต หนอนนกเป็นเชิงการค้าในประเทศไทยในครั้งนี้ ได้กำหนดประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ประกอบการ ฟาร์มหนอนนกเพื่อการค้า ซึ่งใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง แบบบอกต่อ (Snowball sampling) จำนวน 37 ราย มีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย โดยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการศึกษา พบว่า ฟาร์มเพาะเลี้ยงหนอนนก ร้อยละ 91.9 ดำเนินกิจการด้วยตนเอง และร้อยละ 59.5 ดำเนินการโดยไม่มีสมาชิกลูกเล้า ร้อยละ 64.9 มี วัตถุประสงค์การเพาะเลี้ยงเพื่อการค้า ร้อยละ 35.1 มี ประสบการณ์ทำฟาร์มหนอนนกมากกว่า 3 ปี ร้อยละ 62.2 จัดสร้างโรงเรือนเป็นอาคารถาวร และร้อยละ 83.8 มีอาคารจำนวน 1 หลัง ร้อยละ 48.6 ใช้ถาด พลาสติก ขนาดกว้าง 8 นิ้ว ยาว 11 นิ้ว สูง 4 นิ้ว เป็น ภาชนะเพาะเลี้ยงหนอนนก ร้อยละ 48.6 ใช้รำข้าวสาลี และอาหารไก่เป็นอาหารเพาะเลี้ยง ร้อยละ 48.5 ผลิต หนอนนกได้ต่ ากว่า 50 กก./สัปดาห์ โดยร้อยละ 86.5 จำหน่ายในรูปแบบของหนอนนกสดมีชีวิต ร้อยละ 29.7 ประสบปัญหาอุปสรรคด้านการเพาะเลี้ยงที่เกิดจาก สภาพอากาศ โดยพบถึงร้อยละ 67.6 ในช่วงฤดูร้อน (มีนาคม ถึงมิถุนายน) ซึ่งเป็นฤดูกาลที่ประสบปัญหา ด้านการเพาะเลี้ยงหนอนนกมากที่สุด การตลาดของ หนอนนก พบว่า ร้อยละ 24.3 จำหน่ายหนอนนกให้แก่ ผู้เลี้ยงสัตว์สวยงาม และร้อยละ 45.9 จัดจำหน่าย ภายในจังหวัดที่ฟาร์มตั้งอยู่ ราคาขายหนอนนกช่วง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 มีราคาขายปลีกเฉลี่ย 269.39 บาท/กก. และ ราคาขายส่งเฉลี่ย 201.39 บาท/กก. สำหรับราคาขาย ส่งหนอนนกในรอบปี พ.ศ. 2553 มีราคาขายส่งต่ าสุด เฉลี่ย 154.71 บาท/กก. และราคาขายส่งสูงสุด 577.88 บาท/กก. โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่ราคาขายส่งต่ำที่สุด ทั้งนี้ ผู้ประกอบการร้อยละ 32.4 ต้องการให้ภาครัฐส่งเสริมด้านตลาดและราคา หนอนนกมากที่สุด
บทคัดย่อ (EN): To study marketing and potential of commercial mealworms (Tenebrio molitor L.) production in Thailand, the group of population participated in this study were as follows: entrepreneurs running commercial mealworm farms. Snowball sampling technique was applied to 37 entrepreneurs. Data were collected via interviews. In addition, percentage, mean were used to analyze statistic data through SPSS program. The result of the study showed that mealworm farms running business independently was at 91.9% and running business without farm employees was at 59.5%. Mealworm rearing for commerce was at 64.9% and with the experience of running mealworm farms for more than 3 years was at 35.1%. Animal housing built as permanent building was at 62.2% and most farms own at least one housing was at 83.3%. As for mealworm cultivation container, the use of 8 inches width, 11 inches long and 4 inches height plastic trays was at 48.6% and feeding mealworm with wheat bran and chicken feed was at 48.6%. Product from most mealworm rearing less than 50 kg/week was at 48.5% and selling live mealworm was at 86.5%. Rearing problem and obstacle caused from weather was at 29.7% which found most in summer (March to June) at 67.6%. The marketing result indicated that mealworm mostly sold to ornamental animal herders was calculated at 24.3% and sold within province of farm located was at 45.9%. The average retail price and wholesale price of mealworms during November 2010 and March 2011 was 269.39 and 201.39 Baht/kg, respectively. As for the mealworm’s wholesale price in 2010, the average lowest wholesale price was 154.71 Baht/kg while the highest was 577.88 Baht/kg. The wholesale price was usually considered the lowest during November to February. Therefore, the entrepreneur's need the most marketing of mealworm price promotion from government sector was at 32.4%.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.2-53-019
ชื่อแหล่งทุน: เงินนอกงบประมาณของหน่วยงานภายใน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การตลาดและศักยภาพการผลิตหนอนนกเป็นเชิงการค้าในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2553
ศักยภาพการผลิตการตลาดกระบือนม สถานการณ์การผลิตและการตลาดข้าวต่างประเทศ การศึกษาสถานการณ์การผลิตการตลาดในประเทศและตลาดส่งออกหม่อนไหม การศึกษาประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาพันธุกรรมของหนอนนก ศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดยางของสถาบันเกษตรกร การศึกษาความเหมาะสมทางด้านการตลาดและการลงทุนในการผลิตปุ๋ยชีวภาพเชิงอุตสาหกรรม ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดดอกเบญจมาศ โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาตลาดคู่แข่ง วิเคราะห์ศักยภาพในการผลิตเบญจมาศ ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของดอกกุหลาบ โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาตลาดคู่แข่ง วิเคราะห์ศักยภาพการผลิตกุหลาบ การขยายตัวของทุนนิยมเกษตรกรรม : ศึกษาจากกรณีการผลิตการตลาดของอ้อยและน้ำตาลของไทย โครงการวิจัยศักยภาพการผลิตและการตลาดไม้ดอกโครงการหลวง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก