สืบค้นงานวิจัย
การผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กลิปิดสูงสกุล Chlorella ที่คัดเลือกได้จากแหล่งน้ำจืดในจังหวัดขอนแก่น
มหาวิทยาลัยขอนแก่น - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กลิปิดสูงสกุล Chlorella ที่คัดเลือกได้จากแหล่งน้ำจืดในจังหวัดขอนแก่น
ชื่อเรื่อง (EN): Biodiesel production from high lipid green microalgae Chlorella isolated from freshwater in Khon Kaen province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตลิปิดจากสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล โดยศึกษาในสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กจำนวน 3 ไอโซเลท คือ KKU-S2, KKU-W7 และ KKU-W9 จากการศึกษาพบว่าสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็ก KKU-S2 สามารถเจริญและให้ปริมาณลิปิดสูงกว่าไอโซเลท KKU-W7 และ KKU-W9 โดยสภาวะเหมาะสมที่สาหร่ายสีเขียวขนาดเล็ก KKU-S2 มีการสะสมลิปิดสูงสุด คือ ในอาหารที่มีปริมาณไนโตรเจน (NaNO3) 0.5 กรัม/ลิตร ปริมาณกลูโคส 50 กรัม/ลิตร หรือที่ค่าอัตราส่วน C/N เท่ากับ 280 ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 8 วัน โดยเซลล์ให้ปริมาณลิปิด 47.8% น้ำหนักแห้ง และอัตราการผลิตลิปิด 0.374 กรัมลิปิด/ลิตร/วัน เมื่อศึกษาแหล่งคาร์บอนอื่นพบว่าสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็ก KKU-S2 สามารถใช้กลีเซอรอล ไซโลส น้ำกากส่าและกากน้ำตาลเป็นแหล่งคาร์บอนเพื่อการเจริญและการผลิตลิปิดได้ และเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของลิปิดที่สกัดได้โดยวิธีแก๊สโครมาโตรกราฟฟีพบว่าเป็นกรดไขมันชนิดสายยาวที่มีคาร์บอน 16 และ 18 อะตอม ซึ่งมีกรดสเตียริก กรดโอเลอิกและกรดปาล์มิติกเป็นองค์ประกอบหลัก โดยเป็นกรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่มตัว 63.9 % และ 36.1% ของปริมาณกรดไขมันทั้งหมดตามลำดับ ซึ่งเป็นกรดไขมันที่พบเช่นเดียวกับที่พบในน้ำมันพืชและสามารถใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีศักยภาพเพื่อการผลิตไบโอดีเซล เมื่อศึกษาการผลิตไบโอดีเซลในรูปเอสเทอร์ของกรดไขมัน (fatty acid methyl etsers: FAME) ของน้ำมันที่สกัดจากเซลล์สาหร่ายแห้งโดยใช้กรดซัลฟุริคเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 30๐C ความเร็วรอบในการกวนที่ 130 rpm เป็นเวลา 4 ชั่วโมง เมื่อใช้อัตราส่วนโมลของเมทานอลต่อน้ำมันเท่ากับ 50:1 ได้ปริมาณผลผลิตไบโอดีเซล (FAME) เท่ากับ 63% ของน้ำหนักของน้ำมันที่ใช้ เมื่อใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาได้ปริมาณผลผลิตไบโอดีเซลเท่ากับ 57% ของน้ำหนักน้ำมันที่ใช้
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กลิปิดสูงสกุล Chlorella ที่คัดเลือกได้จากแหล่งน้ำจืดในจังหวัดขอนแก่น
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2552
การผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กลิปิดสูงสกุล Chlorella ที่คัดเลือกจากแหล่งน้ำจืดในจังหวัดขอนแก่น การคัดเลือกสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กที่ผลิตลิปิดสูงจากตัวอย่างน้ำจืดในพื้นที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี การคัดเลือกฟักทองเพื่อความหลากหลายของทรงผลและคุณภาพผลที่ดี การคัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายขนาดเล็กที่มีปริมาณน้ำมันสูงเพื่อการผลิตไบโอดีเซล การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวไทยที่มีประสิทธิภาพในการดูดใช้ธาตุอาหารสูง (โครงการปีที่ 2) การพรีทรีตเม้นต์สาหร่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสกัดไขมันสำหรับการผลิตไบโอดีเซล การผลิต 1, 3-propanediol โดยกระบวนการตรึงเซลล์จากกลีเซอรอล ที่เป็นผลพลอยได้ของการผลิตไบโอดีเซล ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกอ้อยแบบให้น้ำเสริมในจังหวัดขอนแก่น ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำชีตอนล่าง กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น การจัดการการผลิต และต้นทุนการผลิตผึ้ง จังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก