สืบค้นงานวิจัย
การจำแนกประชากรและแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ของปลาทูบริเวณอ่าวไทย
สุวรรณทนา ทศพรพิทักษ์กุล, รัตนาวลี พูลสวัสดิ์, นันทชัย บุญจร, ปวโรจน์ นรนาถตระกูล, วิวัฒนันท์ บุญยัง, ทิวารัตน์ สินอนันต์, อัครพงษ์ สวัสดิพงษ์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การจำแนกประชากรและแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ของปลาทูบริเวณอ่าวไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Stock Identification and Breeding Ground of Short Mackerel in the Gulf of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ปลาทูเป็นสัตว์ทะเลที่มีการอพยพเพื่อการหาอาหาร และการสืบพันธุ์ ปลาชนิดนี้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่เนื่องจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรปลาทูเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอาจขาดการจัดการประมงที่เหมาะสม ส่งผลให้ปลาทูในธรรมชาติมีปริมาณลดน้อยลง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาประชากรปลาทูจากแหล่งแพร่ขยายพันธุ์แหล่งต่างๆ ในอ่าวไทย และศึกษาอัตราส่วนปลาทูประชากรต่างๆ ในผลผลิตประมงบริเวณอ่าวไทยตอนในจากการวิเคราะห์เครื่องหมายไมโครแซทเทิร์นไลท์จำนวน 13 ตำแหน่งในปลาทูตัวเต็มวัย (n=462) ที่เป็นผลผลิตประมงบริเวณอ่าวไทยตอนในระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2557 กับประชากรอ้างอิงจากแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ของปลาทู 4 แหล่ง พบว่าประชากรสมุทรสงครามมีสัดส่วนในผลผลิตประมงมากที่สุด (42.81%) รองลงมา คือ ประชากรตราด (34.38%) และสุราษฎร์ธานี (21.60%) และประชากรประจวบคีรีขันธ์คีรีขันธ์มีสัดส่วนในผลผลิตประมงน้อยที่สุด (1.21%) ดังนั้นพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม ที่เปิดออกสู่อ่าวไทย จึงเป็นแหล่งผสมพันธุ์และวางไข่ที่มีความสำคัญที่สุดของประชากรปลาทู ซึ่งให้ผลผลิตประมงส่วนใหญ่ในบริเวณอ่าวไทยตอนในข้อมูลแหล่งกำเนิดหรือประชากรหลักของปลาทูตัวเต็มวัยที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้สนับสนุนมาตรการปิดอ่าวไทยบางส่วนในช่วงฤดูผสมพันธุ์ของปลาทู ซึ่งควรพิจารณาการปิดอ่าวตามแหล่งผสมพันธุ์ของพ่อแม่ปลา และเส้นทางการอพยพของลูกปลา ซึ่งจะส่งผลให้การทำประมงในบริเวณอ่าวไทยตอนบนเกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน
บทคัดย่อ (EN): Short mackerel Rastrelliger brachysoma is a marine species behaviorally migrating for feeding and spawn. The mackerel is highly economically important for fishery. However, the natural resources of the mackerel have been increasingly harvested and recent fishery management might not be very effective. Therefore the short mackerel resources are continually declined. This research aims to study the spawning grounds of short mackerel populations in the Upper Gulf of Thailand and to identify major population in fishery catches from the area. From the genetic mixed-stock analysis of short mackerel, fishery catches in the Upper Gulf of Thailand (n=462) between January and December 2015 were assigned using four baseline populations (n=175) from documented and expected spawning grounds. Thirteen microsatellite loci were used for this study. Altogether, Samut Songkhram population is the major contributors (42.81%), followed by Trat population (34.38%), Surat Thani population (21.60%). Prachuap Khiri Khan population is a very small contributor (1.21%). Indicating that, Maklong river month, Samut Songkhram is the most important spawning ground of short mackerel for fishery in The upper Gulf of Thailand. This results support the closed gulf in breeding season at the main spawning grounds and also the migratory routes of the immature fish. The management is envision to assist sustainable fishery in the upper gulf of Thailand. Key words : short mackerel, stock identification, breeding ground, DNA, Gulf of Thailand, microsatellite
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจำแนกประชากรและแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ของปลาทูบริเวณอ่าวไทย
กรมประมง
30 กันยายน 2558
กรมประมง
การประมงอวนลอยปลาทูบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง การศึกษาประชากรและการแพร่กระจายของปลาหมอบัตเตอร์ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตชายฝั่ง 10 ไมล์ทะเล บริเวณอ่าวไทย โมเดลปลาทูกับการจัดการความรู้ การปนเปื้อนโลหะหนักในปลาทู (Rastrelliger brachysoma) ที่นามาขึ้นท่าบริเวณ ท่าเทียบเรืออาเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ปี 2557 การศึกษาการแพร่กระจายของปลิงทะเล พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไมโครพลาสติกในปลาทูไทย ชนิด ปริมาณ และการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนในแม่น้ำตาปี (เปลี่ยนชื่อโครงการ เป็นความหลากหลาย ความชุกชุม และการแพร่กระจายของแพลก์ตอนในแม่น้ำตาปี) การแพร่กระจายของปรสิตที่พบในปลาน้ำจืดจากอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี พลวัตประชากรปลาในอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก