สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตต้นกล้ามะเขือเทศและพริกเพื่อการผลิตในโรงเรือน
สังคม เตชะวงศ์เสถียร - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตต้นกล้ามะเขือเทศและพริกเพื่อการผลิตในโรงเรือน
ชื่อเรื่อง (EN): Developing of Technology on Tomato and Chilli Pepper Seedling Production for Tomato and Chilli Pepper Production under Plastic House
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สังคม เตชะวงศ์เสถียร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sungcom Techawongstien
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: เพื่อหาวัสดุเพาะกล้า และขนาดของถาดเพาะที่เหมาะสม มาใช้ประโยชน์ในธุรกิจการเพาะกล้า จึงได้ศึกษาผลของวัสดุเพาะที่มีต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะเขือเทศ วัสดุเพาะ 3 สูตร (peat moss, ขุยมะพร้าว:แกลบดิบ:แกลบดำ:filter cake อัตรา 1:0.5:1:1 และ peat moss: แกลบเผา อัตรา 1:1) ร่วมกับขนาดของถาดเพาะ 7 แบบ (50, 60, 72, 104, 105, 128, และ 144 หลุม) โดยวางแผนการทดลองแบบ Factorial in RCBD ทำ 4 ซ้ำ ทำการทดลองที่ ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากผลการทดลองพบว่า วัสดุเพาะกล้าสูตรที่ 2 (ขุยมะพร้าว:แกลบดิบ:แกลบดำ:filter cake 1:0.5:1:1) มีอัตราการงอก (4.81) และเปอร์เซ็นต์การงอกที่สูง (96.17%) และเร็วใกล้เคียงกับสูตรที่ 1 (Peat moss) ซึ่งเป็นวัสดุเพาะการค้า ส่วนการเจริญเติบโตของต้นกล้านั้น พบว่าสูตรที่ 2 ให้การเจริญเติบโต น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งสูงกว่าวัสดุเพาะสูตรอื่นๆ ส่วนขนาดของถาดเพาะ พบว่าถาดเพาะขนาด 60 หลุม ให้ต้นกล้าที่เจริญเติบโต น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งสูงกว่าวัสดุเพาะสูตรอื่นเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้วัสดุเพาะสูตรที่ 2 ร่วมกับการใช้ถาดเพาะขนาด 60 หลุม ให้เปอร์เซ็นต์ความงอก อัตราเร็วในการงอก การเจริญเติบโต น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งสูงไม่แตกต่างทางสถิติกับการใช้ Peat moss
บทคัดย่อ (EN): To find out an appropriate seedling substrate media and substrate-tray size, this study was conducted to clarify the substrate media and tray size for tomato seedling. Factorial in RCBD was designed using three medias (peat moss, Coconut coir: rice husk: burned rice husk: filter cake; 1:0.5:1:1 and peat moss: burned rice husk 1:1) and seven forms of tray size (50, 60, 72, 104, 105, 128 and 144 holes) with four replications at Vegetable Production Section, Department of Plant science and Agricultural Resources, Faculty of Agriculture, Khon Kaen University. The results showed that treatment 2 substrate media (Coconut coir: rice husk: burned rice husk: filter cake; 1:0.5:1:1) gave the good seed vigor (4.81) and seed germination (96.17%) similarly to that of the commercial substrate media (Peat moss). In addition, treatment 2 gave the highest fresh and dry weight of tomato seedling. Substrate-tray with 60-hole gave the highest germination rate, fresh and dry weight. Furthermore, substrate media in treatment 2 and substrate-tray with 60-hole was not significantly different from the peat moss treatment in percentage of germination, germination rate, growth rate, fresh and dry weight.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 187,500.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2551
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตต้นกล้ามะเขือเทศและพริกเพื่อการผลิตในโรงเรือน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
30 กันยายน 2551
การจัดการการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานแปรรูปในจังหวัดสกลนคร เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การใช้ประโยชน์ของปุ๋ยแคลเซียมซิลิเกตต่อการผลิตกล้ามะเขือเทศในชุดดินปากช่อง การทดสอบเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินร่วนเหนียว ในพื้นที่ปลูกพริกจังหวัดนครราชสีมา เทคโนโลยีการผลิตน้อยหน่า และน้อยหน่าลูกผสม การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดคั่ว การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตทางการเกษตรเพื่อการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรบ้านป่าบง ตำบลตะเบาะ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมบางประการสำหรับ พัฒนาการผลิตพลับในประเทศไทย โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริก
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก