สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนการศึกษา: ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
นางบุษบง เจาฑานนท์ - กรมควบคุมโรค
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนการศึกษา: ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางบุษบง เจาฑานนท์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ไข้เลือดออกยังคงเป็นภัยคุกคามทางสุขภาพที่สำคัญของประเทศ ด้วยสถิติการระบาดที่ทวีความ รุนแรงขึ้นทั้งระดับพื้นที่และระดับชาติ บทเรียนในการแก้ปัญหาที่ผ่านมาขี้ให้เห็นความสลับชับซ้อนของ มิติทางพฤติกรรม และความสำคัญของบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมและป้องกันโรค การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)มี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ใช้กิจกรรมและกระบวนการวิจัย และการมีส่วนร่วม เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้และสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยมี กิจกรรมสำคัญของการวิจัย คือ การประเมินปัญหาและความต้องการของชุมชนด้วยกระบวนการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยการจัดเวทีการเรียนรู้ผ่านข้อมูล กิจกรรมการศึกษาดูงาน การวิจัยเชิง ปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักกี่ฏวิทยาชาวบ้าน และกิจกรรมจิตปัญญา เพื่อพัฒนาศักยภาพภายในของทีมวิจัย ชุมชนทั้งหมด มีทีมนักวิจัยจากภายนอก คือ นักวิชาการสาธารณสุขจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอปาซาง นักวิชาการสาธารณสุขจากจังหวัดลำพูน และนักวิชาการสาธารณสุขจากสำนักโรคติดต่อ นำโดยแมลง เป็นภาคีการทำงาน พื้นที่ศึกษาครั้งนี้เป็นพื้นที่ที่มีสถิติการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูงประกอบด้วย หมู่บ้านของ ตำบลน้ำดิบ อำเภอปาซาง จังหวัดลำพูน ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ผลการศึกษาพบว่า เกิดการ เปลี่ยนแปลงหลายอย่างในชุมชน ชาวบ้านมีความกล้าที่จะแสดงออก มีการรวมพลังจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ เกิดโครงการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายด้วยวิถีพื้นบ้าน การจัดการขยะและความสะอาด (โครงการบ้าน น่าอยู่) และการเรียนรู้ที่จะสอบสวนโรคโดยนักวิจัยชุมชนในกรณีมีอุบัติการณ์ระบาดของโรคเกิดขึ้น มีการ ขยายการดูแลสุขภาพจาก อสม. สู่ซาวบ้าน อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แม่บ้าน เกิดเครือข่ายที่จะจัดการ เรื่องสุขภาพ บทสรุปของโครงการวิจัยนี้ คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สามารถเป็นแนวทางหนึ่ง ในการพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพของ ชุมชนทั้งเทคนิควิชาการและจิตใจ โดยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกรวิจัย และการลงมือปฏิบัติการ และ การมีภาคีการเรียนรู้ ช่วยเหลือกันระหว่างชุมชนกับนักวิชาการภายนอก เป็นเครื่องมือสำคัญ ผลของ การทำงาน ไม่เพียงพบความเข้มแข็ง ของการมีส่วนร่วม การขยายตัวของจิตอาสา การพัฒนาการ เรียนรู้ของนักวิจัยภายนอก แต่ยังรวมถึงการมีความสุขในการทำงานที่เกิดขึ้นกับทุกฝ่ายทั้งหมดเป็น การพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: http://klb.ddc.moph.go.th/dataentry/research/download/textfull/36
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนการศึกษา: ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
2555
เอกสารแนบ 1
โรคไข้เลือดออก การเตือนภัยโรคไข้เลือดออก จากการสำรวจยุงลายและข้อมูลผู้ป่วยในภาคเหนือและภาคใต้ด้วย GIS และสถิติขั้นสูง การผลิตอาหารสัตว์จากขยะอินทรีย์ของชุมชน โครงการศึกษาการบริหารจัดการศัตรูพืชของชุมชน โครงการศึกษาการบริหารจัดการศัตรูพืชของชุมชน การศึกษาปัจจัยในการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อโครงการจัดการทรัพยากรประมง บริเวณอ่างเก็บน้ำทับทิมสยาม 01 จังหวัดตราด การพัฒนารูปแบบการปลูกข้าวโพดเชิงอนุรักษ์บนพื้นที่ลาดชันแบบมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา: บ้านห้วยไผ่ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาโรคใบขาวของอ้อย การประเมินสภาวะชนบทแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในแม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำปราจีนบุรี คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมชลประทาน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก