สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาการปรับปรุงพันธุ์เห็ดและพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตและอาหารปลอดภัย
มานี เตื้อสกุล, ภวิกา บุณยพิพัฒน์, กมลทิพย์ นิคมรัตน์, ณิศา มาชู, จิรพงศ์ สุขจันทร์, จรรยา แสงวรรณลอย - มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ชื่อเรื่อง: ศึกษาการปรับปรุงพันธุ์เห็ดและพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตและอาหารปลอดภัย
ชื่อเรื่อง (EN): Study and Development of Mushroom Cultural Technique for Low Cost , High Yield,and Food Safety
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: หัวข้อเรื่อง ศึกษาการปรับปรุงพันธุ์เห็ดและพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตและอาหารปลอดภัย ชื่อผู้วิจัย มานี เตื้อสกุล ภวิกา บุณยพิพัฒน์ จิรพงศ์ สุขจันทร์ ณิศา มาชู กมลทิพย์ นิคมรัตน์ จรรยา แสงวรรณลอย พินิจ ดำรงเลาหพันธ์ หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ปีการศึกษา 2551 บทคัดย่อ การศึกษาปรับปรุงพันธุ์เห็ดและพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตและอาหารปลอดภัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการเพาะเห็ด ปัญหา การแก้ปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดสงขลาและใกล้เคียง พัฒนาการผลิตโดยจัดสร้างเครื่องมือที่เหมาะสม ปรับปรุงพันธุ์เห็ดขอนขาว(Lentinus squarrosulus ) โดยใช้สารโคลชิซินที่มีความเข้มข้นและเวลาในการให้สารแตกต่างกัน ศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์เห็ดและนำก้อนเห็ดที่หมดอายุมาใช้เพาะเลี้ยงไรแดงเป็นอาหารสัตว์น้ำ ผลปรากฏดังนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่เพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้าภูฐานดำและนางรมฮังการี่ โรงเรือนอยู่ในสวนยางพารา ใต้ต้นไม้และที่โล่งแจ้ง ปัญหาได้แก่ โรคจากเชื้อรา ราเขียว ราดำ แมลงต่างๆ และหนู แก้ปัญหาโดยใช้ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหนู และเชื้อไมโตฟากัส ได้แยกเชื้อจากเห็ดพบเชื้อ 4 สกุลได้แก่ Trichoderma ap. Aspergillus มี 2 species คือ Aspergillus niger และ Aspergillus flavus Penicilium sp. Neurospora sp. พบสาร carbaryl จำนวน 1 แห่ง และพบสารฟอร์มาลิน จำนวน 2 แห่ง การปรับปรุงพันธุ์เห็ดขอนขาว โดยการให้สารโคลชิซินที่มีความเข้มข้น 0.0, 0.1, 0.3, 0.5 เปอร์เซ็นต์ นาน 1, 5, 10, และ 15 นาที พบว่าเห็ดที่ได้รับสารโคลชิซินมีจำนวนนิวเคลียสหลายนิวเคลียส สามารถให้ผลผลิตเฉลี่ยน้ำหนักดอกเห็ด119.16 กรัม/ก้อน สูงกว่า เห็ดที่ไม่ได้รับสารคุณค่าทางอาหาร โปรตีน ไขมัน เถ้า และเส้นใยไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนแคลเซียมของเห็ดที่ได้รับสารมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าที่ไม่ได้รับสาร ได้ออกแบบโรงเรือนและเพาะเห็ดพบว่าสามารถเพาะเห็ดได้ค่าเฉลี่ยผลผลิตสูง เห็ดสะอาด สด ลดการทำลายจากแมลง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเห็ดพบว่าผู้บริโภคให้ความสนใจแหนมเห็ด เห็ดปรุงรส และเห็ดอบเนย และได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เห็ดจำนวน 2 ชนิด คือ แหนมและเห็ดนางฟ้าปรุงรส ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีปริมาณโปรตีนสูง และมีไขมันน้อย ก้อนเห็ดที่หมดอายุสามารถนำมาเพาะเลี้ยงไรแดงได้ผลดี จากการศึกษาสามารถเพาะเห็ดได้ผลผลิตสูง และปลอดภัยต่อการบริโภค
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-01-25
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-01-24
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาการปรับปรุงพันธุ์เห็ดและพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตและอาหารปลอดภัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
24 มกราคม 2552
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตเห็ดฟางด้วยปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูง แผนงานวิจัยและพัฒนากลุ่มพืชผักและเห็ด ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเห็ด การตรวจหาสารต้านอนุมูลอิสระในเห็ดป่ารับประทานได้ทั้งแบบเห็ดสดและเห็ดสุกในจังหวัดน่าน การวิจัยและพัฒนาการเพาะเห็ดสมุนไพรเพื่อเป็นวัตถุดิบที่มีมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากเห็ด การศึกษาการเพาะเห็ดฟาง โดยใช้ก้อนเชื้อเห็ดที่ทิ้งแล้ว 2559A17002025 การตรวจหาสารต้านอนุมูลอิสระในเห็ดป่ารับประทานได้ทั้งแบบเห็ดสดและเห็ดสุกในจังหวัดน่าน การสำรวจคุณค่าอาหารของเห็ด : รายงานการวิจัย โครงการวิจัย และพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์จุลินทรีย์ และเห็ด การใช้น้ำส้มควันไม้กับการเพาะเห็ดโคนน้อย เห็ดฟาง ในกระถางที่มีส่วนผสมของผักตบชวาสำหรับระยะการเจริญเป็นดอกเห็ด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก